ไม่พบผลการค้นหา
ระบบเฟซบุ๊กแจ้งเตือน โพสต์ที่อ้างว่า "ไทยติดอันดับ 1 ของโลก ด้านความมั่นคงสาธารณสุข" และ 'แชมป์โลกด้านการป้องกันโควิด' เข้าข่าย 'ข้อมูลที่เป็นเท็จบางส่วน' พบเผยแพร่ในเพจเกี่ยวกับชายแดนใต้ มีผู้แชร์ไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นครั้ง

เฟซบุ๊กเพจ 'แอดชายแดนใต้' เผยแพร่ข้อความหนึ่งเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาบางส่วนระบุว่า ไทยเป็นอันดับ 1 ของโลกด้านความมั่นคงสาธารณสุข ทั้งยัง 'ครองมงกุฎ COVID-19 Fight' และ 'เป็นแชมป์โลกด้านป้องกันโรคระบาดเยี่ยม และมีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด ณ ปัจจุบัน'

โพสต์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมาก มีผู้กดถูกใจนับหมื่นราย และมีผู้แชร์ข้อความต่อไปอีกกว่า 2.4 หมื่นครั้ง นับตั้งแต่วันที่โพสต์ครั้งแรก จนถึงวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา

https://factcheck.afp.com/sites/default/files/styles/list_xl/public/medias/factchecking/thailand/misleadingmain.png?itok=QqcJ2dZt
  • ภาพจากฝ่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักข่าว AFP

อย่างไรก็ตาม ระบบได้แจ้งเตือนผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เข้าถึงโพสต์ดังกล่าวหลังวันที่ 15 พ.ค. โดยระบุว่า ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระได้ตรวจสอบโพสต์ดังกล่าว พบ 'ข้อมูลที่เป็นเท็จบางส่วน' โดยเฟซบุ๊กระบุว่า ผู้ตรวจสอบอิสระ คือ AFP และ APAC

ภาพแคปหน้าจอ แอดชายแดนใต้ อ้างไทยขึ้นอันดับ 1 ความมั่นคงทางสาธารณสุข.jpgข้อสรุป AFP.jpg

ขณะที่ สำนักข่าว AFP ซึ่งให้บริการตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านทางเว็บไซต์ด้วย ระบุเพิ่มเติมในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ยืนยันว่า ข้อมูลเรื่องไทยติดอันดับ 1 ด้านความมั่นคงสาธารณสุข เป็น 'ข้อมูลที่ชี้นำให้เข้าใจผิด' หรือ misleading

ดัชนีความมั่นคงด้านสาธารณสุข หรือ The Global Health Security Index (GHSI) ที่จัดทำครั้งล่าสุด เผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อเดือน ต.ค.2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่พบข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การอ้างว่า ไทย 'ครองมงกุฎ COVID-19 Fight' และ 'เป็นแชมป์โลกด้านป้องกันโรคระบาดเยี่ยม และมีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด ณ ปัจจุบัน' จึงเป็นข้อมูลที่ผิด

นอกจากนี้ เอเอฟพียังระบุด้วยว่า ประเทศไทยมีคะแนนติดอันดับต้นๆ ในดัชนีความมั่นคงด้านสาธารณสุขปีล่าสุดจริง แต่การกล่าวว่า "ไทยเป็นอันดับ 1 ของโลกด้านความมั่นคงสาธารณสุข" ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ในความเป็นจริง ไทยเป็นประเทศที่มีคะแนนรวมเรื่องความพร้อมที่จะรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดต่อสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย แต่เป็นอันดับ 6 ของโลกอีกทั้งดัชนีดังกล่าวก็ไม่มีการจัดอันดับเรื่องการรับมือโควิด-19

ส่วนข้อความที่ระบุว่า ไทย "มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุด ณ ปัจจุบัน" ซึ่งเกี่ยวพันกับโรคโควิด-19 ก็เป็นข้อมูลที่ผิดเช่นกัน

เอเอฟพีรายงานอ้างอิง 'ดร.ริชาร์ด บาร์โรว์' ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีว่า ไทยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 3,017 ราย และมีผู้เสียชีวิต 56 รายเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ขณะที่ประเทศแถบเอเชียอื่นๆ เช่น กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา เนปาล ศรีลังกา มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่าไทยในช่วงเวลาเดียวกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: