ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ติดแฮชแท็ก#เรียนออนไลน์ วิจารณ์กรณียายจูงหลานซื้อมือถือไม่เกิน 2 พันให้เรียนออนไลน์ตามนโยบาลรัฐบาล ซัดนโยบายดี แต่ทำให้คนไม่มีเงินเดือดร้อน ชี้โยนภาระให้ผู้ปกครอง ขณะบางส่วนมองจากตอบแค่โจทย์​คนที่พร้อม ด้าน"พล.ต.ต.ต่อศักดิ์" รองผบช.ก. ผุดไอเดียรับบริจาคโทรศัพท์มือสอง ช่วยเด็กยากจน ฟากเพจดังแจง "เรียนออนไลน์" ได้หลายช่องทาง หวั่นคนเข้าใจผิดว่าต้องเรียนผ่านมือถือเท่านั้น

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สถานศึกษาทั่วประเทศต้องหยุดทำการเรียนการสอน ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาด “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” กระทรวงศึกษาธิการจึงผุดแนวคิดเรียนออนไลน์ เป็นช่องทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ล่าสุดผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า Jatupol Boriboon โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า "ยายพาหลานเดินมาถามว่ามีโทรศัพท์ราคาไม่เกิน 2,000 บาท ไหม เลยถามยายว่าซื้อให้น้องใช้หรอ ยายบอกว่าน้องต้องเอาไปใช้เรียนออนไลน์ แต่ยายมีเงินแค่ 2,000 บาท สิ่งที่แนะนำยายได้ดีที่สุดคือให้ยายลองไปดูเครื่องพร้อมโปรโมชั่นดู แต่ยายก็ต้องมาจ่ายค่าเน็ตให้เค้าทุกเดือนอีก" 

"อยากจะบอกว่านโยบายเรียนแบบออนไลน์มันดีคับ แต่บางคนที่เค้าไม่มีเงินจริงๆ เค้าก็เดือดร้อน เด็กเรียนประถมส่วนใหญ่ไม่มีมือถือกันอยู่แล้ว พอต้องมาเรียนออนไลน์แบบนี้ ก็ต้องเดือดร้อนผู้ปกครอง จริงอยู่ว่ามันเรียนทางทีวีได้ แต่ถ้าบ้านเค้าไม่มีทีวีล่ะคับ เผื่อเรียนเสร็จแล้วครูสั่งการบ้านแบบออนไลน์ล่ะคับ อยากให้เด็กได้เรียนปกติ มันคือสิ่งที่ดีคับ แต่มันจะดีกว่าถ้าผู้ปกครองไม่เดือดร้อนไปกว่านี้"

นำมาสู่การติดแฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ในทวิตเตอร์วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเรียนออนไลน์ว่าประเทศไทยนั้นอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับนโยบายดังกล่าว เนื่องจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์ ผู้ใช้ทวิตเตอร์รานหนึ่งแสดงความเห็นว่า ที่กระทรวงศึกษาจะให้นักเรียนเรียนออนไลน์ คุณคิดว่าประเทศเราพัฒนาไปได้ถึงขั้นนั้นเเล้วหรอ ประเทศไทยตอนนี้พัฒนาไปถึงขนาดที่ทุกบ้าน ทุกพื้นที่ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

ล่าสุดเมื่อเวลา 18.20 น. เทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย #เรือนออนไลน์ ติดอยู่อันดับ 4 โดยมีผู้ติดแฮชแท็กดังกล่าวเกือบ 6 แสนครั้ง

ขณะผู้ใช้ทวิตเตอร์บางรายมองว่า การเรียนที่ไม่เอื้อต่อเด็ก​ อาจเป็นการสร้างความทุกข์​อย่างหนึ่งได้ เนื่องจากรัฐตอบแค่โจทย์​คนที่มีพร้อมอยู่แล้ว แต่กับคนที่ไม่มีคือต้องดิ้นรนหา พร้อมย้อนถามว่าไม่่มีการแก้ไขที่่ครอบคลุมกว่านี้แล้ว หรือปรับให้มันเข้ากับบ้านประเทศของเรา

1.jpg


1111000.jpg


ด้านผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง บอกว่า "เราเรียนHigh School ที่อังกฤษ และด้วยสถานการณ์โควิด-19 โรงเรียนปิด เราก็ต้องกลับไทย เรียนออนไลน์ แต่โรงเรียนพร้อมมาก เพราะมี iPad ที่ ร.ร.แจกทุกคนในโรงเรียน ย้ำว่าทุกคน มีแอปพลิเคชั่นสำหรับเรียนออนไลน์โดยเฉพาะ ทั้งนี้มองว่าการเรียนออนไลน์เป็นการแก้ปัญหาที่ดี แต่มันต้องครอบคลุมคนในทุกชนชั้น"

11.jpg


รองผบช.ก. ผุดไอเดียรับบริจาคโทรศัพท์มือสอง ช่วยเด็กยากจน

ด้าน พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าวว่าได้อ่านแล้ว มันน่าสงสารครับ อยากทำโครงการรับบริจาคเครื่องมือสอง ไอโฟน 5 ,6,7,8,9 หรือ ซัมซุง หรืออะไรก็ได้ ที่สามารถเล่นอินเทอร์เนตได้ เพื่อเยาวชนของชาติที่ครอบครัวไม่พร้อม

พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ ระบุว่า ยิ่งชั่วโมงนี้เงินทุกบาทมีค่ามากๆสำหรับพวกเขา ประสานค่ายมือถือขอซิมเนตเพื่อการศึกษาฟรีจำกัดชั่วโมงอินเทอร์เนต โรคระบาดยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ใครจะกล้าส่งลูกไปเรียนรวมกัน หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกคือแก้วตาดวงใจ สังคมไทยในปัจจุบันพ่อแม่ต้องไปทำงานหาเงินที่ต่างจังหวัดไปขายแรงงานต่างพื้นที่ ฝากลูกไว้กับตายายให้ต้องรับภาระแบบนี้จะเห็นได้ในต่างจังหวัด แล้วพวกเราจะช่วยเหลือเขาอย่างไร กับสถานการณ์แบบนี้ที่ต้องปรับตัวกันทั้งโลก อยากให้เพื่อนพ้องน้องพี่ช่วยกันออกความคิดเห็นในเขิงแก้ไขและพัฒนาเพื่อเด็กๆนะครับ อย่าตำหนิกัน มันจะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน เผื่อเสียงของพวกเราจะดัง และสื่อไปถึงครับ


แทค ภรัณยู แนะผู้ใหญ่ในประเทศอย่าลืม "คนเราฐานะไม่เหมือนกัน"

อินสตาแกรมของนักแสดงหนุ่มแทค-ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้เช่นกัน โดยหนุ่มแทคได้เขียนข้อความว่า “ให้เด็กเรียนออนไลน์ ผมว่าดีนะในภาวะแบบนี้ แต่ผู้ใหญ่ในประเทศอย่าลืมนะ (คนเราฐานะไม่เหมือนกัน) ครอบครัวที่มีก็สบายไปแล้วครอบครัวที่ไม่มีจะทำไงครับ ยิ่งบางคนพ่อแม่ถูกเลิกจ้าง ตกงานก็ต้องไปยืมเงินเขามาอีก ไหนจะค่าไฟ ค่าเน็ต ค่าโน่นนี่นั่น (บางคนไม่มีคือไม่มี) นี้ยังไม่นับจะเปิดเทอม ชุดนักเรียน ค่าเทอม ค่าข้าว ค่าอุปกรณ์ต่างๆอีก ผมมองในมุมของคนที่เคยลำบากมาก่อน” พร้อมข้อความว่า “ผมคิดในแบบ คนที่ไม่มีจริงๆ”

S__8765442.jpg


Photo by Sergey Zolkin on Unsplash

เพจดังแจง "เรียนออนไลน์" ได้หลายช่องทาง

เพจ "Drama-addict" โพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นดรามานี้ว่า ตอนนี้ข้อมูลคนเข้าใจกันผิดว่าต้องเรียนผ่านมือถือเท่านั้น จริงๆแล้วเป็นการเรียนกันได้หลายช่องทาง มีทั้งในแอปมือถือ และมีทั้งดิจิตอลทีวีสามารถดูได้ 3 แหล่ง มี

1. โทรทัศน์ดาวเทียม ระบบ KU Band #จานทึบ ช่อง 186 - 200

2. เว็บไซต์ www.dltv.ac.th

 3. บนสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชั่น DLTVแอนดรอยด์ : https://play.google.com/store/apps/details…iOS : https://apps.apple.com/th/app/dltv/id1392940989?l=th

15 ช่องสัญญาณ ตลอด 24 ชั่วโมง

เพจ "Drama-addict" ระบุว่า คุณครูเขาจะพิมพ์ใบงาน เตรียมการบ้านให้เด็กทำตอนดูตามสามแหล่งที่ว่า แล้วพอครบกำหนดเวลาครูก็จะไปเก็บใบงานตามบ้านเพื่อเอาไปตรวจ ส่วนกรณีบ้านไหนเด็กไม่มีมือถือที่รันแอปที่ว่าได้ ให้ดูทางทีวี กรณีไม่มีโทรทัศน์ดาวเทียมระบบที่ว่า หรือไม่มีคอมพ์ต่อเน็ตเพื่อดูจากเว็บไซต์ ทางกระทรวงได้ส่งแบบสำรวจไปตามบ้านของเด็กนักเรียน เพื่อสำรวจว่า บ้านไหนไม่มีกล่องรับทีวีดิจิทัล และเครื่องรับโทรทัศน์สำหรับเรียนทางไกล ถ้าไม่มีทางกระทรวงจะจัดให้ แต่ต้องใช้เวลาซักระยะ ตอนนี้ให้เด็กบ้านที่ไม่มีทีวีดิจิทัลที่รับช่องนั้นได้ ไปดูบ้านเพื่อนพลางๆก่อน

เท่าที่คุยกับครูมา เขารู้ว่าจะมีเด็กที่ครอบครัวยากจน ไม่มีทั้งมือถือและทีวีดิจิตอลให้ดูแน่ ดังนั้นเขาจะพยายามจัดหาสื่อที่ใช้เรียนออนไลน์ให้เด็กๆได้ใช้ ส่วนกล่องดิจิทัลทีวีที่จะแจกให้บ้านของเด็กนักเรียน เห็นว่าเตรียมไว้ 1.5 ล้านกล่อง น่าจะพอไหว ระหว่างนี้ติดขัดอะไรให้เด็กๆหรือครอบครัวที่มีน้องๆที่ต้องเรียนออนไลน์ แจ้งมาเสียงดังๆเลย คุณครูที่ทำเรื่องนี้เขาจะได้หาทางแก้ปัญหาให้ครับ น้องๆจะได้เรียนหนังสือกันต่อแม้จะยังปิดโรงเรียนก็ตาม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :