ไม่พบผลการค้นหา
วิหารบนเนิน สถาปัตยกรรมไทลื้อแห่งเมืองปัว งามกลมกลืนกับพระธาตุเบ็งสกัด อายุกว่า 700 ปี

วัดพระธาตุเบ็งสกัด ตั้งอยู่บนเนินของบ้านแก้ม หมู่ที่ 5 ชุมชนไทลื้อในตำบลวรนคร อำเภอปัว พระธาตุและวิหารสร้างแล้วเสร็จในพ.ศ. 1826 หรือเมื่อกว่า 700 ปีก่อน และมีการบูรณะเรื่อยมา 

กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2487 เข้าซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อพ.ศ.2538

01.JPG

วิหารไทลื้อ วัดพระธาตุเบ็งสกัด สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีขนาดความยาว 5 ห้อง เป็นอาคารปิดทึบทรงโรง มีมุขโถงบันไดขึ้นด้านหน้า 1 ห้อง

หลังคาทรงจั่ว มุงกระเบื้องไม้ แป้นเกล็ด  โครงหลังคาสร้างลดชั้น ด้านหน้าลดหนึ่งชั้น ด้านหลังลดหนึ่งชั้น แต่ละชั้นมีผืนหลังคาสองตับ


02.JPG

ฐานอาคารตกแต่งด้วยลวดบัวแบบบัวคว่ำบัวหงาย ฐานและผนังก่ออิฐฉาบปูน ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กแคบ


03.JPG

ประตูทางเข้าวิหารมีซุ้มประดับ ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น โดดเด่นด้วยโทนสีน้ำเงิน สีสันยอดนิยมในศาสนสถานของชาติพันธุ์ลื้อ


04.JPG

บรรยากาศภายในวิหาร


05.JPG

หลังคาเป็นเครื่องไม้ ปิดฝ้าเพดาน เสาแต่ละคู่ประดับลายคำ ลวดลายผิดแผกกัน


06.JPG

พระประธานสร้างด้วยปูนปั้น เหนือองค์พระประดับฉัตร บนผนังด้านหลังประดับกระจกบานใหญ่สามบาน  ด้านข้างวางเครื่องสูง สื่อแสดงถึงพุทธานุภาพ


08.JPG

รูปลักษณ์ของพระประธานเป็นศิลปกรรมแบบพื้นบ้าน


09.JPG

ฐานชุกชีก่ออิฐฉาบปูน ประดับลายกระหนก หน้าแท่นพระประธานมีเชิงเทียน หรือ สัตตภัณฑ์


10.JPG

ทางตะวันตกของวิหารเป็นที่ตั้งของพระธาตุเบ็งสกัด


11.JPG

องค์พระธาตุประดิษฐานภายในกำแพงแก้ว อาณาบริเวณแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์


12.JPG

ที่มุมกำแพงแก้ว มีรางสำหรับสรงน้ำคู่หนึ่ง


13.JPG

รางสรงน้ำทำเป็นรูปพญานาค

ทริปเที่ยวชมวิหารไทลื้อเมืองน่าน จบซีรีย์ในตอนหน้า สุดเส้นทางที่วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา.


แหล่งข้อมูล

กอบยศ ยิ้มอ่อน. (2552). การศึกษาวิหารไทลื้อในวัฒนธรรมล้านนา (จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 ชัยวุฒิ บุญเอนก. (2548). วิหารไทลื้อเมืองน่าน : รูปแบบและคติความเชื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.


ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง

ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง

ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)

ไทยทัศนา : (40) พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

ไทยทัศนา : (41) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หนึ่ง-วัดหนองแดง)

ไทยทัศนา : (42) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สอง-วัดต้นแหลง)

ไทยทัศนา : (43) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สาม-วัดดอนมูล)

ไทยทัศนา : (44) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สี่-วัดร้องแง)