ไม่พบผลการค้นหา
ผู้บริหารเฟซบุ๊กชี้การเก็บค่าสมาชิกรายเดือนอาจเป็นวิธีการันตีว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะไม่ถูกเผยแพร่กับบุคคลภายนอกได้จริง พร้อมยืนยันเฟซบุ๊กไม่ได้ทำงานหรือสร้างรายได้จากการขายข้อมูลผู้ใช้งานให้กับนักการตลาดทั่วโลกโดยตรง

สำนักข่าว RT รายงานว่า นางแชร์ริล แซนด์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ หรือ COO ของบริษัทเฟซบุ๊ก ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในองค์กรรองจากนายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของเฟซบุ๊ก ออกมากล่าวถึงกรณีของการรั่วไหลของข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 87 ล้านคน ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ว่า หากผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไม่สบายใจว่าข้อมูลส่วนตัวของตัวเองจะถูกแชร์หรือเผยแพร่ไปให้กับบุคคลอื่น สามารถสามารถป้องกันได้ในอนาคต โดยการยอมจ่ายค่าสมาชิกเพื่อความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น

063_610719770.jpg

นางแซนด์เบิร์กให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว NBC ของสหรัฐฯ ว่า การจ่ายเงินเพื่อล็อกอินเข้าใช้งานเฟซบุ๊กนั้น คือวิธีเดียวที่น่าจะเป็นไปได้ในการเลือกที่จะปกป้องข้อมูลของตนเองบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ยังไม่ได้มีให้บริการในขณะนี้ แต่น่าจะเป็นข้อการันตีว่าข้อมูลของผู้ใช้จะไม่ถูกแตะต้อง 

อย่างไรก็ตาม นางแซนเดอร์ยืนยันว่า แม้การทำงานและการสร้างรายได้ของเฟซบุ๊กจะขึ้นอยู่กับการประมวลผลข้อมูลทุกอย่างของผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อใช้ในการยิงโฆษณาสินค้าจากทางนักการตลาดทั่วโลกก็จริง แต่เฟซบุ๊กไม่ได้สร้างรายได้ด้วยการขายข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟซบุ๊กโดยตรงให้กับนักการตลาดแต่อย่างใด

ดังนั้น ฟังก์ชันการขอเลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อใช้งานเฟซบุ๊ก แล้วแลกกับความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นจึงยังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ในทางลบบนโลกออนไลน์มากมายว่าเพราะเหตุใดผู้ใช้งานจึงจะต้องจ่ายเงินเพื่อปกป้องข้อมูลของตัวเองบนหน้าเฟซบุ๊กของตัวเอง จนมีการเปรียบว่าแนวคิดนี้ไม่ต่างอะไรกับการเรียกค่าไถ่ประเภทหนึ่ง

ท่ามกลางการเร่งตรวจสอบการรั่วไหลของข้อมูลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในปัจจุบัน นางแซนเดอร์ได้กล่าวเน้นย้ำถึงสถานการณ์ที่เฟซบุ๊กกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ว่า เธอจะไม่บอกผู้ใช้งานทั่วโลกเด็ดขาด ว่าขณะนี้สถานการณ์กำลังดีขึ้นและจะไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลอีก เพราะนั่นไม่ใช่ความจริง ซึ่งเธอรู้ดีว่าระหว่างที่การสืบสวนยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ การค้นพบการรั่วไหลของข้อมูลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน 

เมื่อถูกถามถึงกรณีการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 87 ล้านคนที่ทางบริษัทเคมบริดจ์ แอนาลิติกาส่งต่อไปให้ทีมหาเสียงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ นั้น นางแซนเดอร์ระบุว่าทางเฟซบุ๊กทราบเรื่องราวดังกล่าวมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว แต่เหตุผลของการไม่ออกมาแถลงถึงประเด็นดังกล่าวเลยตลอดเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากทางเฟซบุ๊กเชื่อมั่นว่าบริษัทเคมบริดจ์แอนาลิติกาได้ทำการลบข้อมูลทั้งหมดแล้วจริง แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นก็ตาม เพราะเฟซบุ๊กก็ถูกหลอกเช่นกัน

ข่าวเกี่ยวข้อง :

เหยื่อข้อมูลเฟซบุ๊กรั่วไหลเพิ่มเป็น 87 ล้านคน

ซักเคอร์เบิร์กยอมรับเฟซบุ๊กทำพลาด

ข้อมูลรั่วจากเฟซบุ๊กถูกขายทอด 'ตลาดมืด' มีอะไรบ้าง?