ไม่พบผลการค้นหา
สหรัฐฯ ส่งนักบินอวกาศอเมริกันออกสู่วงโคจรจากฐานบนพื้นดินในประเทศ สำเร็จในรอบ 9 ปี ในโครงการความร่วมมือระหว่าง 'สเปซเอ็กซ์' กับ 'นาซา' จากก่อนหน้านี้การทดสอบครั้งที่ 5 ประสบความล้มเหลว

หลังยานอวกาศสเปซเอ็กซ์เผชิญหน้ากับความล้มเหลวในการทดสอบครั้งที่ 5 เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 15.20 น.ของวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ 'ครูว ดรากอน' (Crew Dragon) ยานอวกาศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสเปซเอ็กซ์ ของ 'อีลอน มักส์' กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศดังกล่าวเพื่อเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การเดินทางจากโลกโดยสองนักบินอวกาศ โรเบิร์ต เบ็นเคน วัย 49 ปี และ ดักส์ลาส เฮอร์เลย์ วัย 53 ปี ไปสู่สถานนีอวกาศนานาชาติในครั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่ถึง 1 วันเท่านั้น หรือ จะสามารถลงจอดที่สถานีอวกาศฯ ได้ในวันที่ 31 พ.ค.ในเวลาประมาณ 10.29 น.ตามเขตเวลาตะวันออก (ET)

นับตั้งแต่โครงการ 'Space Shuttle' ในปี 2554 สหรัฐฯ ไม่เคยส่งนักบินอวกาศของตนเองออกสู่อวกาศจากพื้นดินของประเทศสักครั้งเดียว นอกจากนี้ ความสำเร็จครั้งนี้ยังเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับบริษัทเอกชนในการประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ออกสู่วงโคจรโลกได้สำเร็จ หลังสเปซเอ็กซ์ใช้เวลาถึง 15 ปีกับยานอวกาศดังกล่าว 

'จิม ไบรเดนไทน์' ผู้บริหารนาซา กล่าวว่า "วันนี้ การเดินทางด้วยยานอวกาศได้เข้าสู่ยุคใหม่ของมนุษยชาติโดยเราสามารถส่งนักบินอวกาศชาวอเมริกันด้วยจรวดสัญชาติอเมริกันบนแผ่นดินอเมริกันออกสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นห้องทดลองแห่งชาติของเรา ได้สำเร็จอีกครั้ง"

อีลอน มักส์  - สเปซเอ็กซ์  - AFP
  • อีลอน มักส์ ซีอีโอสเปซเอ็กซ์
"ความฝันของผมและทุกคนที่สเปซเอ็กซ์เป็นจริงแล้ววันนี้" อีลอน มักส์ กล่าว
สเปซเอ็กซ์  - AFP
  • โรเบิร์ต เบ็นเคน วัย 49 ปี


สเปซเอ็กซ์  - AFP
  • ดักส์ลาส เฮอร์เลย์ วัย 53 ปี

แท้จริงแล้วเป้าหมายหลักของการเดินทางออกสู่วงโคจรโลกในครั้งนี้ของภารกิจ 'Demo-2' เป็นการทดสอบครั้งสุดท้ายก่อนที่ ยานอวกาศครูวดรากอน จะได้รับการการันตีให้ดำเนินการพามนุษย์ขึ้นไปท่องอวกาศในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของสเปซเอ็กซ์ได้ โดยการตรวจสอบครั้งนี้ จะดูรวมทุกมิติตั้งแต่การปล่อยตัว การเดินทาง ตัวยานอวกาศรวมไปถึงชุดนักบินอวกาศ และรายละเอียดทุกอย่างที่จะตรวจสอบได้ 

เมื่ออยู่บนอวกาศแล้ว นักบินทั้งสองคนในภารกิจครั้งนี้ต้องแสดงศักยภาพให้ทีมงานเห็นเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และภารกิจสุดท้ายของนักบินอวกาศทั้งสองในครั้งนี้คือการพายานอวกาศลำดังกล่าวกลับมาลงจอดบนพื้นโลกอีกครั้ง

อ้างอิง; CNN, NASA, WSJ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;