ไม่พบผลการค้นหา
ศ.ธงชัย วินิจจะกูล เผยในวงสัมมนา “จะหาเรื่องกับประวัติศาสตร์อย่างไร?” โดยชี้ประวัติศาสตร์ควรมีหลายแบบ ไม่ได้มีหน้าที่ทำให้ใครรักชาติมากขึ้น ติงผู้มีอำนาจไล่ไปเรียนประวัติศาสตร์รักชาติจะเกิดปัญหา แนะต้องกวนประวัติศาสตร์ให้ขุ่น ไม่ควรสถาปนาประวัติศาสตร์ให้เป็นเรื่องใหญ่จนมีอำนาจ

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนาบัณฑิตศึกษาในหัวข้อ “จะหาเรื่องกับประวัติศาสตร์อย่างไร?” โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิล แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ร่วมบรรยาย

ศาสตราจารย์ธงชัย ระบุว่า อย่าให้ประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นราชาชาตินิยม เวอร์ชั่นเผด็จการมีอำนาจมากเกินไป และควรเปิดให้มีประวัติศาสตร์หลายๆ แบบ ทั้งนี้ประวัติศาสตร์แม้จะบอกถึงเรื่องราวในอดีตไม่ถือว่าผิดแต่ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว ประวัติศาสตร์ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลง การศึกษาประวัติศาสตร์คือการศึกษาการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลง

ธงชัย 26EA-4B49-984A-53D1A6E9E699.jpegงาน จะหาเรื่องกับประวัติศาสตร์อย่างไร

“ประวัติศาสตร์มีความคุ้นเคยเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ตนเองไม่เกี่ยวกับเหมาลิซึ่ม ไม่ว่าจะค่ายไหน ประวัติศาสตร์ไม่มีหน้าที่ให้ใครรักชาติหรือรักชาติน้อยลง ไม่เกี่ยวกับการทำลายผลประโยชน์ ถ้าผู้ใหญ่มีอำนาจต้องการไล่ให้ไปเรียนประวัติศาสตร์ให้รักชาติจะยุ่งมากขึ้น ประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้จักตั้งคำถาม และประวัติศาสตร์ต้องมีเรื่องราวถึงจะสนุก” 

ศาสตราจารย์ธงชัย ระบุว่าประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมครอบงำสังคมไทย เป็นการปลูกฝังความเชื่อชุดหนึ่ง เป็นประวัติศาสตร์ที่แทบกลายเป็นศาสนาวิสัย เป็นความศักดิ์สิทธิ์ให้ชื่นชมดื่มด่ำ ส่วนประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้ตนต้องเขียนบันทึกที่จบลงด้วยคำว่า ประวัติศาสตร์ช่างโหดร้าย

ศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล

“ประวัติศาสตร์ที่ดีควรหาเรื่องและกวนน้ำในขุ่น ขณะเดียวกันเราควรจะกล้าตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์เรื่องใดๆ ก็ตาม สามารถอธิบายสามารถหาเรื่องใหม่ได้เสมอและกรุณาต้องช่วยกันหาเรื่องแต่ไม่ใช่สถาปนาเรื่องยิ่งใหญ่ที่คุณเสนอ เพราะป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์เรื่องใดทั้งสิ้นในอดีตมีอำนาจมากเกินไป” ศาสตราจารย์ธงชัย ระบุ

ศาสตราจารย์ธงชัย ยังย้ำในตอนท้ายว่าการรัฐประหารปี 2549 ทำให้หลายคนรู้จักการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 มากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เปลี่ยนแปลงทันที ถ้าคณะราษฎรเป็นมนุษย์ก็ยังมีเรื่องผิด แต่สุดท้ายคณะราษฎรก็พ่ายแพ้ ขณะเดียวกันคณะราษฎรกลับไปเอาคนคุมการศึกษาก่อนการปฏิวัติมาคุมการศึกษา แม้แต่การผลิตหนังสือหน้าที่พลเมืองที่เขียนในสมัยรัชกาลที่ 6 มาใช้ คณะราษฎรอาจจะพลาดก็ได้ แต่เขาก็ได้พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแค่นั้นก็มากแล้ว ไม่ได้ตำหนิความบกพร่องของความไม่สำเร็จ เพราะเราไม่ต้องการให้ใครมาเป็นเทวดา แต่อย่าเว่อร์กับ 2475 จนต้องแตะต้องไม่ได้