ไม่พบผลการค้นหา
'ประวิตร' ลงพื้นที่ขอนแก่น ตรวจเยี่ยมช่วยเหลือน้ำท่วมภาคอีสาน สั่งเร่งเยียวยา ซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย กำชับภาคส่วนราชการบริหารจัดการน้ำ ผันน้ำเขื่อน ทำแก้มลิง รองรับภัยแล้ง

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 10.00 วันที่ 7 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์พร้อมคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จากพายุ “โพดุลและคาจิกิ” ในพื้นที่อีสาน จ.ขอนแก่น พร้อมทั้งรับฟังสถานการณ์อุทกภัยและการดำเนินการช่วยเหลือประชาชน และการขับเคลื่อนบริหารงานของส่วนราชการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา ณ ศาลากลาง จว.ขอนแก่น

โดยรองนายกฯ และคณะ ได้มอบถุงยังชีพให้ผู้แทนส่วนราชการและประชาชน ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ อ.บ้านไผ่ อ.โนนศิลา อ.ชนบท อ.หนองสองห้อง และ อ.เมือง และโอกาสนี้ พล.อ.ประวิตร’ ได้นำความห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มายังพี่น้องประชาชนในพื้นที่และให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมทั้งได้กำชับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับจิตอาสา เร่งเข้าช่วยเหลือ เยียวยาดูแลพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างทั่วถึงและใกล้ชิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ขณะเดียวกันขอให้ติดตาม พิจารณาการแก้ปัญหาระยะยาวที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยย้ำขอให้ส่วนราชการในพื้นที่ เร่งรัดสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนและระบบสาธารณูปโภคในแต่ละพื้นที่ และเร่งซ่อมแซมกลับคืนสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด พร้อมขอให้ประชาชนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อนผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน


ประวิตร _21725210.jpg

จากนั้น พล.อ.ประวิตร พร้อมคณะ เดินทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อรับทราบสรุปสถานการณ์น้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสภาวะฝนทิ้งช่วง โดยภาพรวมปริมาณน้ำของเขื่อนในพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้และเขื่อนอุบลรัตน์ยังต่ำเกณฑ์และน่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ 

โดย พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ขอให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและใต้ดินอย่างระมัดระวัง และย้ำขอให้กรมฝนหลวงแล���การบินเกษตรและทุกส่วนราชการ หาโอกาสผันน้ำเข้าเขื่อนในทุกช่องทาง รวมทั้งเร่งจัดทำแก้มลิงตลอดแนวลำน้ำชี พร้อมทั้งจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ บริหารจัดการนำ้เพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึง รองรับสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังมาถึง