ไม่พบผลการค้นหา
‘ครูจุ๊ย’ อนค. เผย กมธ.ศึกษาฯ คุย ศธ. ชี้ “ครู” คือตัวแปรในการสร้างการศึกษาที่ดี

น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ เปิดเผยถึงแนวทางการทำงาน ของคณะกรรมาธิการการศึกษา หลังจากที่ได้ประชุมไปเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2562 เพื่อพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ

โดยโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “จุ๊ยเชื่อว่า ทุกคนคงได้ตามข่าวกันมาบ้าง ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมีการปรับปรุงโครงสร้าง เป็นเหมือนการผ่าตัดครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งหากถามว่าทำไมต้องปรับเปลี่ยน? 

คุณประเสริฐ บุญเรือง ผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตอบในที่ประชุมว่า เพราะหลายตำแหน่งมีความซ้อนทับกัน จึงต้องการลดตำแหน่งที่ซ้อนทับกัน (เช่น ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือประชาสัมพันธ์) นอกจากนี้ ต้องการคืนอำนาจให้กับ ศึกษาธิการจังหวัด เพื่อให้เกิดการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด

สำหรับประเด็นการคืนอำนาจให้กับทาง ศึกษาธิการจังหวัด ก็มีหลายบุคคลเข้าใจว่า จะยุบหรือยกเลิกสำนักงานเขตการศึกษา จึงทำให้เป็นที่มาของความขัดแย้ง ระหว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับศึกษาธิการจังหวัด และเป็นที่มาของข่าวที่คุณครูแต่งชุดดำเพื่อประท้วงไม่ให้ยุบ หรือยกเลิก เขตพื้นที่การศึกษา 

จากประเด็นปัญหานี้ ทางคณะกรรมาธิการการศึกษาจึงได้เรียนเชิญ คุณประเสริฐ และทีมงาน เข้ามาร่วมชี้แจง ซึ่งสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

1. จะมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการจริง แต่ยังไม่ได้ตั้งธงว่าจะเป็นเช่นไร โดยในการปรับปรุงโครงสร้างในครั้งนี้ ทางกระทรวงได้ให้อำนาจกับทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการไปคิดหารือ เพื่อหาทางออกในการลดโครงสร้างที่มีซ้อนทับกันให้ได้มากที่สุด ซึ่งทางกระทรวงการศึกษาธิการจะมีการประชุมเรื่องนี้อีกทีใน 30 วัน 

2. ในการปรับปรุงโครงสร้างครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการของมุ่งเน้นความสำคัญไปที่ตัวเด็กจริง ๆ เพื่อสร้างศักยภาพให้แก่ตัวเด็ก

ทางคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้พูดคุย และนำเสนอประเด็นที่อยากจะฝากทางกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา ไว้ด้วยกันทั้ง 2 เรื่องดังนี้ 

1. เรื่องของโครงการองค์กร 

หน่วยงานไม่ควรมีหลายชั้น เพราะจะเกิดความซ้ำซ้อนในการบริหารงาน และสามารถเกดิความล่าช้าได้ อำนาจที่แท้จริงควรวางไว้ทีสถานศึกษา เพราะสถานศึกษา คือ พื้นที่ที่เข้าใจตัวเด็กที่ได้ที่สุด และสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้เด็กได้ งบประมาณ ควรกระจายสู่สถานศึกษา มิใช่กระจุยอยู่ที่ส่วนกลางไม่เช่นนั้นแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการศึกษาจะไม่เกิด คน ควรใช้จำนวนคนอย่างพอดี และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. ครู คือ ตัวแปรที่สุด ในการสร้างการศึกษาที่ดี กับตัวเด็ก ดังนั้น นอกจากจะให้ความสำคัญกับระบบแล้ว ไม่ควรละเลยหรือขาดความใส่ใจกับครู

ถัดมา คณะกรรมาธิการการศึกษา เรื่องการรวมโรงเรียนขนาดเล็กเข้าด้วยกัน นายประเสริฐ บุญเรือง ได้ชี้แจงว่า บางโรงเรียนนักเรียนเพียง 1- 2 คน (ประมาณ 700 โรงได้) จึงต้องควบรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อคุณภาพของการศึกษา เช่น การมีครูครบชั้น การมีครูที่สามารถสอนได้ทุกสาระวิชาภายในโรงเรียน แต่ สำหรับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล เช่นบนเขา เกาะ หรือ ไม่มีโรงเรียนใกล้เคียง ทางกระทรวงก็ไม่ได้คิดจะยุบโรงเรียนเหล่านั้น ทางคณะกรรมธิการการศึกษาก็อุ่นใจขึ้นเมื่อได้รับคำตอบ และเชื่อว่าทุกคนก็คงอุ่นใจเช่นกัน

การศึกษาไทยนั้นเจ็บช้ำมายาวนาน เด็กไทยขาดโอกาสทางการศึกษามาพอสมควร ถึงเวลาแล้วจริง ๆ ที่เราควรหันหน้ามามองเด็ก เพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้แก่เด็ก และควรเป็นสิ่งที่ดีแก่ตัวเด็กจริง ๆ 

สุดท้ายนี้ ทางคณะกรรมาธิการการศึกษา จึงติดตามเรื่องนี้ต่อไป และถ้ามีความคืบหน้าเช่นไร จุ๊ยจะมาเล่าให้ทุกท่านฟังอีกนะคะ”