ไม่พบผลการค้นหา
'ชลน่าน' ยื่นกระทู้ถามสดปมปัญหาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดให้ท้องถิ่นสำรวจที่ดินและจัดเก็บภาษี จี้รัฐบาลเร่งนำข้อเสนอสภาฯ ให้ออก พ.ร.ก. เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายไปก่อน ด้าน รมช.คลัง ยันกฎหมายใหม่ลดการร้องเรียนการใช้ดุลพินิจของ จนท. ย้ำถ้าท้องถิ่นเก็บภาษีลดลง ทางรัฐบาลพร้อมช่วย

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ยื่นกระทู้ถามสดด้วยวาจาถึงการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 มี.ค.2562 มาตรา 2 ให้มีผลบังคับใช้ในการจัดเก็บภาษีเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2563 เป็นต้นมา โดยหลักกฎหมายฉบับนี้ที่มาเหตุผลดีมาก และจากการศึกษาของ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วรายงานต่อสภาฯ ซึ่ง 4 กลุ่มที่ต้องเสียภาษีคือ 1.ที่ดินการเกษตร 2. ที่ดินที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินด้านการพาณิชย์และ 4.กลุ่มที่ดินรกร้างว่างเปล่า ท่านทราบหรือไม่ว่ากลุ่มไหนมีผลกระทบมากที่สุด แต่ละกลุ่มสภาพปัญหาเป็นอย่างไร โดย พ.ร.บ.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดเก็บภาษี

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจงว่า การยกเลิก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ โดยเปลี่ยนมาใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีผลกระทบอย่างไรกับผู้ใช้จ่ายในที่ดิน 4 ประเภทตามที่ท่านกล่าว ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีไม่ว่าภาษีโรงเรือนหรือภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเก็บจากราคาที่ผู้เป็นเจ้าของไปแจ้งการประเมินตามสถานะต่างๆ เพื่อให้เทศบาลใช้เป็นตัวประเมินการเก็บภาษี และใช้ฐานค่าเช่าที่มีเป็นฐานการเก็บภาษี ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะใช้ดุลพินิจประเมินมูลค่าตามที่กำหนด ส่วนราคาที่ดินยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ได้ใช้ดุลพินิจคำนวณมูลค่าตามข้อกำหนดจะมีการร้องเรียนไม่เป็นธรรม

ดังนั้น กำหนดการจัดเก็บภาษีใหม่นั้น ไม่มีความยุ่งยากหรือผลกระทบตามรายได้ต่างๆ เนื่องจากคำนวณภาษีเป็นรายแปลง ราคาประเมินเบื้องต้น ซึ่งกรมธนารักษ์มีข้อมูลที่ดิน 32 ล้านแปลงทั่วประเทศ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างกว่า 30 ประเภท ซึ่งกรมธนารักษ์จะประเมินตามมาตรฐาน ว่าที่ดินที่อยู่ที่สีลม หรือต่างจังหวัดประเมินราคาตารางวาละเท่าไร แตกต่างตามราคาประเมิน จากนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำราคาประเมินท้องถิ่นทั่วประเทศ สูงและต่ำ ไปคำนวณวิธีการเสียภาษี เช่น ที่ดินการเกษตร ที่ดินอยู่อาศัย ที่ดินการพาณิชย์ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็จะทำให้สามารถเก็บได้ครอบคลุมทั้ง 32 ล้านแปลงทั่วประเทศ ต่างจากภาษีโรงเรือนตัวเดิม การจัดการเก็บดุลพินิจระหว่างเจ้าของและเจ้าพนักงานที่สร้างปัญหาให้มากมาย ยืนยันไม่มีผลกระทบใดๆ มีแต่ผลดี มีความเป็นธรรม เสมอภาค ลดดุลพินิจเจ้าหน้าที่ที่มีการร้องเรียน 

นพ.ชลน่าน ระบุว่า ผลการศึกษาของ กมธ. ข้อร้องเรียนผู้ปฏิบัติงาน การออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย เลื่อนการจัดเก็บออกไป โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นขณะนี้ท้องถิ่นที่จัดเก็บตั้งแต่ กทม. และท้องถิ่น ที่ยังไม่เริ่มขั้นตอนการสำรวจ โดยพนักงานสำรวจ พนักงานจัดเก็บภาษีก็ยังไม่มีการเตรียมการ เดือน ม.ค. ยังไม่มีเงินเข้าแม้แต่บาทเดียว เพราะกฎหมายให้เจ้าของ 4 ประเภทประเมิน ทำให้มีผลกระทบต่อผู้จัดเก็บภาษี ส่วน กทม. รายได้จัดเก็บภาษี ปัญหาที่เกิดขึ้นท่านมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร ให้ท้องถิ่นมีรายได้บริหารในปี 2563 ได้

"ท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ ประเมินภาษี มิ.ย. ไปจัดเก็บภาษีเดือน ส.ค. รายได้ของท้องถิ่น ปี 2562 มีรายได้จัดเก็บภาษี 2,309 ล้านบาท ส่วนปี 2563 ถ้าใช้กฎหมายใหม่มี 967 ล้านบาท ดังนั้นรายได้หลักมาจากการจัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาท้องที่ เราเป็นห่วงประชาชนทั้ง 4 กลุ่มมีข้อเสนอของสภาฯ จาก กมธ.การกฎหมายฯ เสนอมา เพื่อระงับความเดือดร้อนขอส่งข้อสังเกตไปให้รัฐบาล แต่รัฐบาลไม่สนใจว่าจะทำอย่างไร แม้ เสนอให้ พ.ร.ก.เลื่อนบังคับใช้กฎหมายนี้ไปก่อน ก็ไม่ทำ มาตรการที่สภาฯส่งไปนั้น รัฐมนตรีจะดำเนินการตามความเห็นของสภาฯเมื่อไร ถ้าไม่ดำเนินการจะมีมาตรการอะไรมารองรับ" นพ.ชลน่าน ระบุ

นายสันติ ชี้แจงว่า เรื่องประกาศการเก็บภาษีใหม่นั้น ภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือน ขณะนี้เป็นเวลา 60 กว่าปีไปแล้ว บ้านเมืองได้พัฒนาไปแล้ว การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ก็ถูกร้องเรียนมาตลอด ส่วน พ.ร.บ.ใหม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการใช้ประโยชน์ของที่ดิน เช่น 1.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อถ้าใช้ปีระการเกษตรก็จะจัดเก็บ ร้อยละ 0.01-0.1 หรือเริ่มต้น 1 ล้านบาทละ 100 บาท

2.ที่ดินที่อยู่อาศัย เสียภาษีอัตราร้อยละ 0.02 - 0.1 หรือเริ่มต้นล้านละ 200 บาท 3.ที่ดินใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ ร้อยละ 0.3-0.7 หรือเริ่มต้นล้านละ 3,000 บาท และ 4.ส่วนที่ดินสิ่งปลูกสร้างหรือรกร้างนั้นก็จะจัดเก็บเริ่มต้น 1 ล้านบาทละ 3,000 บาท และที่ดินรกร้างสร้างปัญหาจะมีมาตรการหากทิ้งไว้ไม่ทำประโยชน์ ก็จะต้องเก็บอัตราภาษีไม่เกินสูงร้อยละ 3 เพื่อให้เจ้าของที่ดินมีภาระมากเกินไป ที่เพิ่มร้อยละ 0.3 ในทุก 3 ปีเพื่อเจ้าของที่ดินเร่งพัฒนาที่ดินสร้างประโยชน์ต่อไป 

สภา ชลน่าน สันติ d.jpg

แจงท้องถิ่นปรับตัวไม่ทัน รัฐบาลพร้อมช่วย

นายสันติ ระบุว่า ราคาประเมินที่มาคำนวณตาม 4 ประเภทกำหนดโดยกรมธนารักษ์ ได้แจ้งว่าได้ดำเนินการเรียบร้อยทั้ง 32 ล้านแปลงและสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศแล้ว ที่ นพ.ชลน่าน บอกว่า อบต. ท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ ต้องเรียนว่าเดิมท้องถิ่นได้รอหรือบางครั้งมีหนังสือไปถึงเจ้าของที่ดินให้จ่ายภาษี แต่ พ.ร.บ.ได้กำหนดมาตรฐานคำนวณภาษีให้ท้องถิ่นออกไปสำรวจว่าในท้องถิ่นของเรามีลูกบ้านมีที่ดินกี่แปลงใช้การเกษตรและที่อยู่อาศัย ที่ดินเพื่อการพาณิชย์และที่ดินรกร้าง

"ผมยอมรับว่าเป็นของใหม่ ทางกระทรวงการคลังก็เปิดโอกาสว่าเขาก็ยังไม่ชำนาญการออกไปสำรวจที่ดินเพื่อแจ้งเจ้าที่ดินและเจ้าที่อยู่อาศัยว่าที่ดินประเภทใด เนื่องจากถูกประเมินราคาตามอัตราเก็บภาษีใหม่ ทุกแปลง ซึ่งในบางแห่งอาจต่ำหลายแห่งอาจสูง แต่ในช่วงรอยต่อ หาก อบต.ใดที่ยังปรับตัวไม่ทัน รัฐบาลได้เตรียมอุดหนุนช่วยเหลือต่อไป แต่ท้องถิ่นก็ต้องเก็บภาษีให้เต็มที่เพื่อมาพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นต้องช่วยกันสร้างความเหลื่อมล้ำ หากเก็บภาษีได้ลดลง ทางกระทรวงการคลังมีมาตรการให้การอุดหนุนในส่วนที่ต่างไปหายไป เพื่อหวังว่าท้องถิ่นจะได้ช่วยเร่งรัดสำรวจแปลงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาคำนวณกับภาษี ควรเร่งตั้งแต่วันนี้" นายสันติ ระบุ

จากนั้น นพ.ชลน่าน ได้ย้ำว่า ข้อเสนอของสภาฯ ทางรัฐบาลยังไม่รับไปพิจารณาว่าจะรับฟังตามข้อเสนอของสภาฯ หรือไม่ หรือเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไป เรายอมเสนอให้ออกเป็น พ.ร.ก. แต่เรื่องนี้ดีที่สุุดควรออกเป็น พ.ร.ก.

นายสันติ ระบุว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอของสภาฯ ไปหารือให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ส่วนที่บอกว่าเจ้าของที่ดินเดือดร้อนนั้น ก็สามารถอุทธรณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เพราะมีระเบียบอุทธรณ์ได้ หากเกิดปัญหาใดๆ มีสองกระทรวงดูแลการเก็บภาษี คือกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง ทั้งสองกระทรวงจะหารือให้เกิดความเป็นธรรมสำหรับเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง