ไม่พบผลการค้นหา
กรุงเทพเมืองแห่งการอ่านปี 2556 ของจริง…หรือของปลอม...?
Mar 23, 2013 02:53

รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556  

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม  2555 มีการประกาศให้ปี  2556 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนังสือโลก  โดยใช้สโลแกนว่า "อ่านกัน สนั่นเมือง"ทาง กทม.จึงได้ดำเนินการเพิ่มพื้นที่ในการอ่าน เช่น ห้องสมุด  การจัดพื้นที่ และจัดหนังสือในพื้นที่สาธารณะ เพื่อหวังให้ประชาชน เข้าถึงหนังสือได้ทุกพื้นที่ทุกเวลา และจากสถิติการอ่านล่าสุดพบว่า คนกรุงเทพ มีคนอ่านหนังสือ 2-5 เล่ม/คน/ปี ดังนั้นในปี  2556 ได้ตั้งเป้าว่าจะมีคนอ่านเพิ่มเป็น  10 เล่ม/คน   


การเข้าถึงทรัพยากรแห่งการอ่านในกรุงเทพถือ ว่าเป็นเรื่องยากมาก แต่ที่ประเทศบราซิล จะมีจักรยานสามล้อ มาทำเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ หรือที่เขาเรียกว่า บิครีโอติก้า ได้นำไปให้ผู้ไร้บ้าน ได้เข้าถึงการอ่าน ซึ่งคนเหล่านี้จะมีไม่กำลังพอที่จะซื้อหนังสือมาอ่านได้ อันนี้สามารถตอบโจทย์การรณรงค์การอ่านหนังสือได้ และการอ่านได้หนังสือนี่เอง ทำให้มีอาสาสมัคร เพื่อมาทำงานรณรงค์วัฒนธรรมการอ่านได้ เช่น คนไร้บ้านคนหนึ่งได้อ่านหนังสือของจอร์จ ออร์เวลล์ หรือ  (George Orwell) แล้วเกิดแรงบันดาลใจ อยากเปลี่ยนชีวิต ไม่อยากเป็นคนไร้บ้านอยู่อีกต่อไป เพราะการเป็น Homeless ทำให้ชีวิตรู้สึกสิ้นหวัง แต่หนังสือเล่มนี้ทำให้ชีวิตมีความหวังขึ้น จากนั้นเขาได้เข้ามาเป็นอาสาสมัครถีบจักรยานสามล้อ และขนหนังสือที่ได้จากการบริจาคเอาไปให้คนไร้บ้าน ได้อ่านกัน


ส่วนที่นิวยอร์ก มีการนำโปสเตอร์แผ่นยาวๆมาติดที่ผนังในตัวรถไฟใต้ดิน และจำลองรูปหนังสือโดยแต่ละเล่มจะมี QR code เพื่อให้คนใช้บริการรถไฟใต้ดินได้สแกน QR code และโหลดเนื้อหาบางส่วนของหนังสือไปอ่าน หากต้องการอ่านเพิ่มเติม ก็จะมีข้อมูลบอกว่าสามารถหายืมมาอ่านได้ตามห้องสมุดตรงไหนบ้าง


สำหรับกรุงเทพมหานครที่ได้ตั้งเป้าไว้ร้อยกว่าจุดทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อให้คนเข้าถึงหนังสือ ได้ทำอะไรไปบ้าง? แต่ส่วนมากภาคเอกชนได้ล้ำหน้าไปแล้ว เช่นเครือข่ายเพื่อนหนังสือได้ติดต่อสำนักพิมพ์ต่างๆว่ามีหนังสือที่ชำรุด ไม่สามารถนำไปขายได้แล้ว ขอนำมาแบ่งปันกัน ตรงที่หอศิลป์กรุงเทพ จะมีการปล่อยหนังสือเดือนละครั้ง เพื่อให้คนได้เข้าไปหยิบอ่านคนละ 5 เล่มซึ่งบางคนมักจะหยิบหนังสือที่ชอบไปอ่าน เมื่อครบวันที่แจก ก็จะเอาเล่มเก่ามาแลกเอาเล่มใหม่ไปอ่าน ซึ่งโครงการนี้ กทม.ให้การสนับสนุนแค่สถานที่เท่านั้น


สถานที่อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพ คือ Reading Room เจ้าของมีความคิดจัดทำห้องสมุดศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้คนที่สนใจเรื่องนี้ได้พบปะสนทนากันแต่เจ้าของต้องแบกภาระการเช่าที่ไม่ไหว ตรงนี้อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามารับช่วงต่อไป เพราะการณรงค์ให้คนอ่านหนังสือไม่ใช่แต่การตัดริบบิ้นเพื่อเปิดงานเท่านั้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog