ประเด็นการกินหมา ไม่ใช่เรื่องใหม่...แต่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กับ กระแสสองนคราเรื่อง หมา ๆ แบบ “จะกิน” หรือ “จะเลี้ยง” ที่ผู้สนับสนุนสองสายต่างถกเถียงกันในวงกว้าง
การบริโภคเนื้อสุนัข ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 3,000 ปี! และเก่าแก่มากกว่าความเชื่อบางประการ เช่น สุนัขคือเพื่อนที่ซื่อสัตว์ มาจนถึงวิวัฒนาการที่มนุษย์เริ่มลำดับญาติกับสุนัข โดยแทนชื่อเล่นกันว่า “น้องหมา”
ความจริงที่เป็นความจริงสากลก็คือ...ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีการบริโภคเนื้อสุนัข เพราะประชากรเกือบทุกทวีปบนโลกใบนี้ เคยลิ้มรสชาติของเจ้าเอ๋งสี่ขามาแล้วทั้งสิ้น (อ่านต่อ : http://www.dogilike.com/board/view.php?id=2438#ixzz1VwXGA48c) ผิดก็แต่เมื่อมีการสถาปนาให้ “หมา” กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยง ความนิยมในการบริโภคเนื้อหมาก็ลดลง แต่ก็ใช่ว่าจะหมดสิ้นไป เพราะในบางพื้นที่ เช่นที่จังหวัดสกลนครของไทย ยังมีผู้ที่ชื่นชอบเปิปเมนูหมาอีกมากมาย คิดเป็นมูลค่าการตลาดได้ปีละหลายล้านบาท
เมื่อเป็น เช่นนี้ รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา จึงอยากชวนกันมา คิด เล่น เห็น ต่าง ในหัวข้อการบริโภคเนื้อหมา มิใช่เพื่อจะบอกว่า การกินเนื้อหมาดีหรือไม่ดี แต่เพื่อให้เห็นมิติของ “อาหาร” ใน 3 มิติ คือ อาหารในฐานะที่เป็นธรรมชาติ, ในฐานะที่เป็นสินค้า และในฐานะที่เป็นวัฒนธรรม อีกทั้งมิติของ “หมา” หรือ “สุนัข” ในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงนั้นมีความคลี่คลายจากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างไร
นอกจากนี้ ยังแถมเรื่อง “เนื้อต้องห้าม” และการบริโภคสิ่งที่คนบางกลุ่มเห็นว่า “ประหลาด” มาให้ด้วย เพื่อให้ชาวคิดเล่นเห็นต่าง ขยายโลกทัศน์ที่ว่าด้วยเรื่องของการกิน ที่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงหมู..กา ไก่.. ดังนั้น เมื่อชมจบแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของแต่ละปัจเจก ที่เลือกรับประทานอะไร
(อ่านเพิ่มเติม งานวิจัยเรื่อง “หมาในฐานะอาหาร สุนัขในฐานะวัตถุทางศีลธรรม : โวหารและการเมืองเรื่องข้อห้ามในการกิน)
Produced by VoiceTV