ไม่พบผลการค้นหา
“ปัตตานีมหานคร”...ความพยายามในการแสวงหาสันติสุข
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
เปิดทัศนะผู้นำครู ผู้นำท้องถิ่น 'การศึกษา' คือกุญแจดับไฟใต้
" ดับไฟใต้ " ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม
'ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้' ประชาธิปัตย์ VS เพื่อไทย VS แทนคุณแผ่นดิน
เปิดวิสัยทัศน์ ผู้ว่าฯยะลา – ผบ.พล.ร. 15
“ต้องเอาคนผิดมาติดคุก”...ก่อนปรองดอง!
นโยบายพรรคการเมือง INTELLIGENCE VOTE 2011 (ตอนที่ 3)
"เชคสเปียร์ต้องตาย" หนังติดเรตห้ามฉายในไทย ?
8 ปี ไฟใต้ไม่ดับ แต่ธุรกิจอสังหาฯพุ่งสวนทาง
นโยบายปราบยาเสพติด เพื่อไทย VS ประชาธิปัตย์ VS ภูมิใจไทย
เยียวยาไฟใต้ได้หรือเสีย ?
หัวอกครูใต้ เป้าล้างแค้น
นายกฯ แถลง 9 แผนปฏิบัติการ “โครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วน(เพื่อคนไทย)”
นโยบายพรรคการเมือง INTELLIGENCE VOTE 2011 (ตอนที่ 2)
แม่ทัพภาค 4 เปิดเบื้องหลังการเข้ารายงานตัว 93 แนวร่วม
''อำนาจรัฐล้มเหลวดับไฟใต้''
“การเมือง” มาแล้วก็ไป อย่าใช้ “ตำรวจ” เป็นเครื่องมือรักษาฐานอำนาจ
นโยบายพรรคการเมือง INTELLIGENCE VOTE 2011 (ตอนที่ 1)
“พล.อ.สนธิ” ปธ.กมธ.ปรองดอง...ลับ ลวง พราง ?
"ปัตตานีมหานคร"...ความพยายามในการแสวงหาสันติสุข
Apr 15, 2012 07:44

 

รายการ  Intelligence ประจำวันที่  15 เม.ย. 2555 

 

แนวทางการสร้างสันติสุข ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วน เพื่อการผลักดันให้เกิดความสงบในพื้นที่เพราะตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ปี  เหตุร้ายเกิดขึ้นรายวัน  สถานการณ์ความรุนแรงทวีมากขึ้น สวนทางกับนโยบายสร้างสันติสุขของภาครัฐ

 

ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้นำเอา ศอ.บต.กลับมาอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาไฟใต้  แต่การขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม  จนเมื่อเกิดการยุบสภา และมีการเลือกเลือกตั้งใหม่

 

รัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ได้วางนโยบายในการหาเสียง โดยมีแนวทาง การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษจังหวัดชายแดนใต้  หรือ นครปัตตานี ขึ้น  ซึ่งแนวคิดนี้ถูกจุดกระแสโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ  อดีตนายกรัฐมนตรี และเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานพรรคเพื่อไทย  แต่ถูกมองว่าเป็นแค่ทางออกทางการเมืองในขณะนั้น

               

ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้  ทุกกลุ่ม ทุกศาสนา  จำนวน 20 องค์กร รวมตัวกันในนาม “สภาประชาสังคมชายแดนใต้”มีนโยบายที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อยืนยันแนวคิด  “โมเดลปัตตานีมหานคร”  ที่มีโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ  ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   โดยครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา  

               

สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เห็นว่า การแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ที่ผ่านมา ผูกขาดอยู่กับฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานราชการ ขณะที่ฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบไม่ยอมรับ และขัดขืนต่อสู้  ผลกระทบที่รุนแรงกลับตกอยู่กับประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น

 

Produced by VoiceTV 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog