ไม่พบผลการค้นหา
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้ ตอนจบ
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย
ที่มาของเทพนิยาย
การขุดค้นหาตัณหาของผู้หญิง
COSPLAY คืออะไร
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
ความจำเป็นของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดซ่อนเร้นสำหรับผู้หญิง
จาก OVOP ถึง OTOP
ทำไมประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าเป็น “ซ่อง”ของโลก
เพลงป๊อปกับอารมณ์ร่วมสมัย
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักเดียวใจเดียว
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
รักแท้ ช็อกโกแลตและวันวาเลนไทน์
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?
อะไรคือ 'โอตาคุ'
เมืองออกแบบได้
วิวาทะ แฟนเพจ
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้
Aug 18, 2012 11:39

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 18 สิงหาคม 2555

 
 
ใครๆก็ไปอาเซียน...แล้วคิดเล่นเห็นต่างจะไม่ไปอาเซียนได้อย่างไร??
 
อีก 3 ปีข้างหน้า เราจะไปอาเซียนแล้ว พร้อมกันหรือยัง? ก่อนจะถึงช่วงเวลานั้น เรามาเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่อาเซียนก่อนแล้วกันว่า...อาเซียนคืออะไร?
 
 
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
 
 
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
 
 
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันโดยเน้นการส่งเสริมความรู้  ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในด้านความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์  มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ระดับภูมิภาคร่วมกัน
ทั้งนี้  การเสริมสร้างรากฐานและความเชื่อมโยงระหว่างกันที่แข็งแกร่งนำไปสู่ความเข้าใจของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  การรู้เขารู้เรา  และมีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้สังคมที่เอื้ออาทร  โดยแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) ได้กำหนดกิจกรรมความร่วมมือที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่
 
 
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)
2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability)
5.การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)
6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
         
 
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
 
 
เมื่อมาถึงจุดนี้เราคงสามารถให้คำตอบได้แล้วล่ะว่า...เราพร้อมแล้วหรือยัง  ที่จะไปอาเซียน?
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog