ไม่พบผลการค้นหา
ข้อมูลไทย เปิดเผยและโปร่งใสระดับไหน?
ยิ่งเรียนสูงยิ่งเลือก(ตก)งาน
สังคมรับน้อง สังคมซาดิสม์
ยิ่งเปิดยิ่งโปร่งใส โอเพ่นดาต้า
ฝันที่ควรเป็นจริง รถเมล์จังหวัด
โอเพ่นดาต้าในแง่ศิลปวัฒนธรรม
ฉีกบัตรจาก 'ไชยันต์' ถึง 'โตโต้'
ลงทุนเท่าไหร่ให้จบไปได้เงินเดือนหมื่นห้า
ประเทศไหนต้อนรับแรงงานต่างชาติ
ระบบโซตัสที่ใหญ่ที่สุดไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย
เขียนลายมือ จำเป็นไหมในยุคดิจิทัล?
ดินกรุงเทพฯทรุดปีละ 1 ซม. สูบน้ำบาดาลหนัก
กู้ชีพคนเมืองด้วยสร้างเมืองเดินได้
คอร์รัปชันจะหมดไปจากประเทศไทย
เมื่อผ้าอนามัยเป็นสิ่งเกินเอื้อม
มิชลินไกด์ สิงคโปร์โมเดล
ไม่มีตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฝรั่งเศส
เชียงใหม่สวรรค์ของดิจิทัลนอแมด
สัตว์ป่าควรได้อยู่ในป่า
ขึ้นค่าแรงทำเศรษฐกิจพัง ธุรกิจเจ๊งจริงหรือ?
เตรียมบิ๊กดาต้าการเงินรับเทคโนโลยีการเงินอนาคต
Aug 28, 2017 13:38

อยู่ในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงและแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร
ธปท.หารือ กระทรวงการคลัง และกระทวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อตั้งศูนย์การเงินข้อมูลคนไทยทั้งประเทศ

ขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างศึกษาการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อบริหารจัดการระบบข้อมูลการเงินของประเทศ (Public Data Bureau) เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ เพื่อมารวมอยู่ในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน อาทิ ข้อมูลเครดิต, การโอนเงินชำระเงิน, เงินฝาก, เงินประกัน, ข้อมูลของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), ข้อมูลการจ่ายสาธารณูปโภค อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น รวมถึงข้อมูลภาคธุรกิจที่อยู่ในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฯลฯ

เนื่องจากปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินสำคัญของประเทศยังไม่มีศูนย์รวม และการเชื่อมโยงและแชร์ข้อมูลระหว่างกันยังทำได้จำกัด เนื่องจากติดข้อกฎหมาย หรือรูปแบบการจัดเก็บที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการข้อมูลการเงินในภาพรวมได้ ส่งผลให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อมูลทางการเงินและธุรกรรมต่าง ๆ มีความสำคัญมากในการดำเนินนโยบายของภาครัฐและของภาคเอกชนในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล โดยการนำข้อมูลรายธุรกรรมจากหลายแหล่ง หลายช่องทางมาประมวลผล และวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่มี ประสิทธิผล และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ แก่ภาคเอกชน

Source: 
https://www.prachachat.net/finance/news-29179

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog