ค่าจ้างแรงงานที่สูงไม่ใช่ตัวชี้วัดในการกำหนดความได้เปรียบของประเทศในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
อ้างอิงจากบทความของ แบ๊งค์ งามอรุณโชติ
ผมจะลองคำนวณแบบง่ายๆนะครับ สมมติให้บริษัทๆหนึ่งมีพนักงาน 1,000 คนที่ถูกจ้างด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ 159 บาท (เอาแบบให้ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดไปเลยคือ +88.67%) บริษัทแห่งนี้ผลิตสินค้าโดยพนักงานคนละ 100 ชิ้นต่อวัน โดยสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรชิ้นละ 10 บาท ผลกระทบที่บริษัทในลักษณะแบบนี้จะได้รับก็คือ
หากค่าจ้างขั้นต่ำแรงงานถูกผลักขึ้นไปที่ 300 บาท นายจ้างต้องเสียค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น 141*1000 = 141,000 บาทต่อวัน ในขณะที่สินค้าที่แรงงานทั้งหมดผลิตขึ้นได้มีจำนวณ 100,000 ชิ้นต่อวันโดยแต่ละชิ้นให้กำไรชิ้นละ 10 บาท นั่นเท่ากับว่ากำไรขั้นต้นต่อวันที่โรงงานแห่งนี้จะได้จะอยู่ราววันละ 1,000,000 บาท ดังนั้นสุทธิแล้วบริษัทแห่งนี้จะทำให้ได้กำไรลดลงมาจาก 1,000,000 เหลือ 1,000,000 – 141,000 = 859,000 บาท หรือกำไรลดลงราว 14.1% ซึ่งหากคิดเฉลี่ยถัวไปเป็นผลกระทบต่อกำไรของสิ้นค่าแต่ละชิ้น (Unit cost) แล้วจะพบว่ากำไรของสิ้นค้าแต่ละชิ้นจะลดลงจากที่เคยได้ชิ้นละ 10 บาทเป็น 8.59 บาท หรือกล่าวได้ว่ากำไรหายไปชิ้นละ 1 บาท 41 สตางค์ นั่นเอง
จากจุดนี้ผมคิดว่าเราคงพอจะเห็นอะไรบางอย่าง กล่าวคือ ภายใต้นโยบายการเพิ่มค่าจ้างแรงงานซึ่งทำให้รายได้ของแรงงานในพื้นที่รายได้น้อย สูงขึ้นกว่า 88% ทว่า ผลกำไรของบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ลดลงเพียงราว 14% เท่านั้น (ภายใต้สมมติฐานหลายประการ เช่น แรงงานควรมีประสิทธิภาพการผลิต และผลิตภัณฑ์ควรมีกำไรต่อหน่วยสูงขนาดหนึ่ง ฯลฯ)
อ่านบทความทั้งหมดต่อได้ที่
http://www.siamintelligence.com/300-wage/
Source:
http://www.siamintelligence.com/300-wage/
https://www.facebook.com/PrathesKrungtheph/posts/282419735268310?stream_ref=5