ไม่พบผลการค้นหา
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย
"ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย
'ชาตินี้' หรือ 'ชาติไหน' ที่วัฒนธรรมแบบไทยจะผงาดสู่เวทีโลก
อาการแพ้นม ของสังคมไทย (ตอน 2)
จิ๋มเอื้ออาทร-เฉาะฟรี-สตรีข้ามเพศ
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักเดียวใจเดียว
ทำไมคุณภาพของการศึกษาไทยจึงต่ำติดอันดับโลก
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา Special in Chiang Mai
การปรับตัวของราชวงศ์อังกฤษ จะเลือก'กระฎุมพี'หรือ'เซเลบบริตี้'
กรุงเทพฯ มหานครแห่งการอ่าน
พิษตกค้างหลังการเลือกตั้ง
ขันติธรรมกับสังคมไทย
แนวความคิดอนุรักษ์ มาจากไหน?
การทำสยามสแควร์ให้เป็นแลนด์มาร์คของกรุงเทพ
พาเหรดนาซี และ ปัญหาแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทย
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
แฟชั่นกับผู้นำหญิง
ชุดประจำชาติไทยในฐานะประเพณีประดิษฐ์(ตอบจบ)
เครื่องแบบนักเรียน " มีอยู่" หรือ "ยกเลิก" ?
Mar 13, 2011 11:43

เกิดการถกเถียงกันมาอย่างไม่จริงจังนักว่า เราควรมีเครื่องแบบยูนิฟอร์มต่อไป หรือยกเลิกไปเสีย เช่น กรณีของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองจอก เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา หรือกีดกันการแสดงออกถึงประเพณี ความเชื่อทางศาสนา 

 
เหตุผลของการมีเครื่องแบบก็ง่ายๆ คือ ต้องการสร้างระเบียบวินัย และอีกข้อหนึ่งคือ เครื่องแบบเป็นเครื่องหมายของชนชั้นวรรณะ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึง สถานะทางสังคม เมื่อเรามาดูกำเนิดยูนิฟอร์มในศตวรรษที่ 19 เราจะพบว่า ในศตวรรษที่ 19 เช่นกันที่ ผู้ปกครอง หรือ ชนชั้นนำทางอำนาจค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการควบคุมพลเมืองโดยไม่ต้องใช้กำลังอาวุธ หรือความดหดร้ายป่าเถื่อน ไม่ต้องใช้กำลังบังคับ ข่มขืนหัวใจกันอีกต่อไป นั่นก็คือ การใช้ระเบียบวินัย และการเข้าควบคุม “ร่างกาย” ของพลเมือง ผ่านเครื่องมือหลายอย่างทั้งสถาปัตยกรรม การกำหนดมารยาท จังหวะการเครื่องไหวของร่างกาย การนั่ง กิน ยืน เดิน ที่ถูกต้อง เหมาะสม ไปจนถึงการจะระเบียบเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 
 
นักเรียน ตำรวจ ทหาร เป็นกลุ่มคนที่รัฐต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  ก็เลยยิ่งต้องควบคุมใกล้ชิด ยูนิฟอร์มก็เป็น เครื่องมือเอาไว้สอดใส่สำนึกที่จะเชื่อฟัง พร้อมจะเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ และทำงานให้รัฐอย่างมีประสิทธิผลนั่นเอง
 
การจัดประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่นั้น ชนชั้นนำไทยในสมัยรัชกาลที่ห้า มักจะไปดูงานกันที่สิงคโปร์ และมาเลเซีย อันเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การจัดการบริหารราชการหลายต่อหลายอย่างของเราลอกแบบมาจากการจัดการเมืองขึ้นของอังกฤษ เพราฉะนั้นยูนิฟอร์มก็น่าจะมาตรงนี้ การตั้งรร. วชิราวุธ ก็ลอกแบบมาจาก public school ของอังกฤษ อีกส่วนหนึ่ง ก็มาจากการจัดการศึกษาเอกชนของมิชชันนารีทั้งฝรั่งเศส และอเมริกัน
 
ทั้งในอังกฤษ ยุโรป อเมริกา แม้กระทั่งญี่ปุ่น โรงเรียนรัฐบาลยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนกันแล้วเป็นส่วนใหญ่ ระลอกแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อีกระลอกหนึ่งคือหลังทศวรรษที่ หกศูนย์ เพราะมีขบวนการปฏิวัติเรียกร้องเสรีภาพของคนหนุ่มสาวกันทั่วโลก ขนาดกลุ่มเฟมินิสต์ออกมาเผายกทรงทิ้ง เครื่องแบบนักเรียนก็ไม่เหลือเหมือนกัน  เราคงทราบกันดีกว่าทศวรรษที่หกศูนย์ ต่อ เจ็ดศูนย์ เป็นยุคที่วัยรุ่น คนหนุ่มสาวออกมีบทบาทในการทลายกฏเกณฑ์ และโค่นล้ม “ระเบียบ” ของพวก “ผู้ใหญ่” สืบเนื่องมาสู่ยุคบุปผาชนหรือฮิปปี้
 
ทั้งนี้ไม่มีปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยว่า เราคนไทยหรือวัยรุ่นไทยออกมาต่อต้านเครืองแบบว่ามันคือสิ่งที่ไปปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขา  และที่น่าเห็นใจกว่านั้น กฏเกณฑ์ และ dress code  ของเครื่องแบบนักเรียนไทย ยิ่งโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนประชาบาลนั้นแสดงออกคือ ความเข้มข้นในการ ควบคุม ร่างกายของ เด็กเสียจนแทบไม่เหลือความเป็นมนุษย์
 
ทั้งผมเกรียน  หรือ เด็กหญิงก็ผมสั้นเต่อ  คือ เด็กยิ่งจนที่ถูกจำกัดอยู่ในเครื่อแบบที่น่าเกลียด ส่วนโรงเรียนของเด็กมีสตางค์ เครื่องแบบก็จะดูดี มีสีสัน มีความยืดหยุ่นเรื่องทรงผมมากจน เครื่องแบบโรงเรียนบางแห่งดูสวย ดูหล่อ เป็นแฟชั่นได้เลย – สิ่งนี้สะท้อนให้เห็น mentality ของสังคมไทย และความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทยว่า คุณมีความปรารถนาที่ล่ามโซ่คนจนให้อยู่ในกรอบและจำกัดความทะเยอทะยานของพกวเขา อีกทั้งมีกระบวนการที่จะหล่อหลอมพวกเขาให้ตกเป็นเป็น “เบี้ยล่าง” เป็น “แรงงาน” เป็น “ปัจจัยการผลิต” ของเหล่าอภิสิทธิชนต่อไปอย่างไม่มีสิ้นสุด และพวกคุณสร้าง “กรอบ” ที่จะให้พวกเขาจำนนต่อเสรีภาพอันน้อยนิดที่พวกเขามีอยู่ และคุ้นชินที่ถูกจำกัดชีวิตอยู่ในระเบียบอันไม่อาจถกเถียงหรือตั้งคำถามว่า
 
 “ทำไม เราต้องทำอย่างนี้ ทำไมผมเราสั้นได้แค่หูเท่านั้น” เป็นต้น??
 
Produced by VoiceTV
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog