กระแสการ สแกนกรรม แก้กรรม เพ่งกรรม หรือการยกย่องใครสักคน ให้มีญาณหยั่งรู้ในกรรมแต่ชาติปางก่อนของผู้อื่น กลายเป็นความนิยมอย่างแพร่หลายในสังคมพุทธ สังคมที่ครั้งหนึ่งเคยมีความเชื่อในกฏแห่งกรรม คือ เมื่อทำดีแล้วจะได้ดี ในทางกลับกันเมื่อทำชั่วก็จะได้ชั่ว โดย “ความหมายจริงๆ ของกรรมคือ การกระทำ การกระทำทุกอย่างย่อมมีผลเราเรียกผลนั้นว่า “วิบาก” อาทิ พุทธพจน์ว่า หว่านพืชอย่างใด ย่อมได้ผลอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านเวลาล่วงเลยมา เวลาที่เปลี่ยนแปลงและท้องถิ่นของพุทธศาสนาที่แตกต่าง ทำให้พุทธศาสนาได้รับการตีความให้แตกต่างออกไป ความแตกต่างของแต่ละนิกายก็ย่อมนำมาซึ่งความแตกต่างกันในการตีความความหมายของ ความสุข ความทุกข์ การบรรลุซึ่งนิพพาน เครื่องมือที่นำไปสู่การหลุดพ้น ขณะที่ความหมายของคำว่า กรรม มีความหมาย หรือความสำคัญเกี่ยวกับชาตินี้ ชาติหน้า การเกิดใหม่ รวมถึงทำให้ “บุญ-บาป” มีน้ำหนักในลักษณะชั่ง ตวง วัด และเปรียบเทียบกันได้
ขณะที่ การข้ามภพข้ามชาติ ความทุกข์-ผิดหวัง และชีวิตคู่ที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดการ “สแกน-เพ่ง-แก้ กรรม” ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แต่บางครั้งงมงาย โดยบางทัศนะของบางบุคคล นำการสแกนกรรมหรือการแก้กรรม มาให้อธิบายความสุข ความสมหวัง และชีวิตคู่ในแง่มุมที่อคติ อาทิ ปัญหาของการดุถูกเหยียดหยามผู้หญิง
Produced by VoiceTV