ไม่พบผลการค้นหา
Wake Up News - นายกฯ ลงพื้นที่ติดตาม 13 ชีวิต - Short Clip
Wake Up News - 'ทักษิณ – ยิ่งลักษณ์' ยิ่งออกงาน...ยิ่งเจ็บ- Short Clip
Wake Up News - 'กอบศักดิ์' ปลื้ม พปชร.คะแนนดีต่อเนื่อง - Short Clip
Wake Up News - แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่อีสานลดลง 10 ที่นั่ง - Short Clip
Wake Up News - ศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียนที่มีชื่อเสียง - Short Clip
Day Break - บุกถ้ำจำลอง! ในนิทรรศการ 'ปฏิบัติการถ้ำหลวง' - Short Clip
Day Break - 'Copper Aquarium' บุฟเฟต์บรรยากาศใต้ทะเล - Short Clip
Wake Up News - นายกฯญี่ปุ่นลงพื้นที่น้ำท่วม-เตือนภัยฝนกระหน่ำซ้ำ - Short Clip
Wake Up News - มองการเมืองไทย จากสายตาของนักศึกษา - Short Clip
Day Break - TE กับเมนู 'โรงน้ำชา' ยุคใหม่ - Short Clip
Wake Up News - ปชช.ค้าน 'บิ๊กตู่' อยู่ต่อ เหตุผลงานไม่ถูกใจ - Short Clip
Wake Up News - มช.โพล ชี้ นศ.เบื่อคสช. ปิดทีวีหนีทุกวันศุกร์ - Short Clip
Day Break - อัปเกรด 'อาหารริมทาง' ดึงดูดนักท่องเที่ยว - Short Clip
Day Break - นิทรรศการไข่แมว x กะลาแลนด์ - Short Clip
Day Break - เปิดประสบการณ์เมนูวันสิ้นโลกที่ Na-Oh Bangkok - Short Clip
Wake Up News - บทบาทของ คพข. ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน - Short Clip
​Day Break - La Dotta La Grassa อาหารอิตาลีที่ไม่ได้มีดีแค่พาสต้า - Short Clip
Day Break - 'กินซา ซูชิ อิจิ' โอมากาเสะดาวมิชลินร้านเดียวในไทย - Short Clip
Day Break - ลิ้มรสอาหารไทยติดดาวที่ 'ชิม บาย สยาม วิสดอม'​ - Short Clip
Day Break - เบญจรงค์ไทย​ ตั้งโชว์ได้ ใช้จริงยิ่งเท่ - Short Clip
ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร เรียกร้องยกเลิกกฏหมายห้ามทำแท้ง
Mar 27, 2018 07:20

ฟังเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้หญิงที่เคยทำแท้ง แพทย์ นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว


26 มี.ค.61 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีเวทีเสวนาเรื่อง “ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย” จัดโดย กลุ่มทำทาง ซึ่งผลักดันประเด็นทำแท้งอย่างปลอดภัย, มูลนิธิมานุษยะ, กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายทางเลือกเพื่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม โดยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการทำแท้งใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย อังกฤษ เนปาล เบลเยียม นอกจากนั้นในงานมีการรณรงค์เชิญชวนร่วมลงชื่อเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ซึ่งเอาผิดผู้หญิงที่ทำแท้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว

27-3-2561 13-14-52.jpg


‘ศรัทธารา หัตถีรัตน์’ ตัวแทนผู้หญิงที่เคยทำแท้ง จากกลุ่มทำทาง กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้หญิงที่มีประสบการณ์การทำแท้ง จึงรู้ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง คือไม่สามารถที่จะมองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาแล้วพัฒนาตัวเองจากจุดนั้น เพราะต้องทำแบบลับๆ ไม่สามารถเป็นเจ้าของประสบการณ์ในชีวิตตัวเอง รู้สึกว่ามันผิดบาปไหม ต้องถูกตีตรา ซึ่งหากคิดเช่นนั้น ผู้หญิงจะไม่สามารถเป็นเจ้าของชีวิตอย่างสมบูรณ์ แล้วจะเอาพลังในการพัฒนาตัวเองมาจากไหน อยากจะให้เห็นว่าผู้หญิงพูดถึงประสบการณ์การทำแท้งได้โดยไม่ใช่อาชญากร


นอกจากนั้น อยากจะให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่เอาผิดผู้หญิง โดยหวังว่าเมื่อไม่มีการตีตราแล้ว ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นจะมีทางเลือก ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ได้รับการป้องกัน หากพลาดไป ก็มีทางเลือกและบริการที่ปลอดภัย


ตราบใดที่เรายังตีตราผู้หญิงและทำให้ผิดกฎหมายอาญา ผู้หญิงจะไม่สามารถ เข้าถึงบริการที่ปลอดภัย ไม่สามารถได้รับบริการได้อย่างมีศักดิ์ศรี หรือรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่างกายและชีวิตอย่างสมบูรณ์ ผู้หญิงจะไม่สามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


คนที่ออกมาโต้งแย้งการทำแท้งให้ปลอดภัยและถูกกฎหมายมีความกังวลคิดว่าจะเป็นการโปรโมทให้การทำแท้งเพิ่มขึ้นหรือเปล่า แต่จริงๆ ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะเคยทำแท้งหรือไม่ เราถูกสอนมาแบบเดียวกัน ไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากทำแท้ง ไม่ว่าจะลดแลกแจกแถม ก็ไม่มีใครอยากจะไปใช้บริการ ดังนั้น จะไม่เกิดการทำแท้งเพิมขึ้น แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้หญิงจะรู้สึกว่า เขาได้ทบทวน ได้มองหาข้อมูลและเตรียมการป้องกันครั้งต่อไปได้ดีขึ้น


27-3-2561 13-16-39.jpg


‘สุพีชา เบาทิพย์’ ตัวแทนกลุ่มทำทาง กล่าวถึงกฎหมายการทำแท้งในต่างประเทศว่า พบว่าประเทศที่การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายและผู้หญิงสามารถเข้าถึงบริการที่ปลอดภัยได้ เช่น เนปาล อัตราการตายของแม่จะลดลง เนื่องจากรัฐบาลเนปาลร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ ทำวิจัยยาว 20 ปี ได้ผลออกมาว่า การวางแผนคุมกำเนิดที่ดีพร้อมกับการทำแท้งอย่างปลอดภัย จะแก้ปัญหาและเป็นทางออกในการดูแลแม่และเด็ก จึงมาถึงจุดที่แก้ไขกฎหมายให้ทำแท้งไม่ผิดกฎหมายและพบว่า อัตราการทำแท้งลดลง และที่เห็นได้ชัดมากคืออัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงลดลง เป็นตัวอย่างที่ดีในระดับโลก

 

สำหรับประเทศอังกฤษ ผู้หญิงสามารถขอรับบริการทำแท้งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการเข้าถึงบริการอยู่ในเว็บไซต์ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ แล้วหากคุมกำเนิดพลาด ก็สามารถที่จะทำแท้งได้อย่างปลอดภัย รัฐบาลอังกฤษไม่ได้ปิดบังข้อมูลเพื่อเข้าถึงการทำแท้ง


สำหรับประเทศเบลเยียม เป็น 1 ในประเทศที่ร่วมสร้างกองทุนชื่อ SheDecides หลังรัฐบาลของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ออกนโยบายว่า ไม่ให้รัฐและเอ็นจีโอสนับสนุนงบประมาณในประเด็นการทำแท้งสำหรับต่างประเทศ ขณะที่ก่อนหน้านั้นอเมริกาเป็น 1 ในประเทศก้าวหน้าที่สนับสนุนให้ผู้หญิงทำแท้งอย่างปลอดภัยทั่วโลก เคยส่งเงินสนับสนุนทั่วโลก เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกนโยบายห้าม ทั้งรัฐและเอกชนจึงต้องหยุด ส่งผลให้รัฐบาลนานาประเทศรวมถึงเบลเยี่ยม มาสนับสนุนนโยบายนี้ สร้างกองทุนชื่อ SheDecides ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลแต่ละประเทศร่วมกันทดแทนงบประมาณเดิมที่อเมริกันเคยช่วย


สำหรับประเทศไทยขณะนี้หลายเครือข่ายพยายามผลักดันให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่เอาผิดผู้หญิงทำแท้ง โดย รณรงค์ให้ลงชื่อผ่าน http://chn.ge/2HNz94q

 

 

วันนี้กลุ่มทำทางร่วมกับเครือข่ายแพทย์อาสา เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม สมาคมเพศวิถีศึกษา, Asia Pacific Alliance for Sexual and Reproductive Health and Rights (APA) เห็นว่า กฎหมายอาญามาตรา 301 ปัจจุบันไม่ยุติธรรมสำหรับผู้หญิงเพราะบอกว่าหญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งมีความผิด ซึ่งอันนี้เป็นกฎหมายที่ไม่มีความเท่าเทียมทางเพศ หากเป็นมาตราอื่นจะใช้คำว่า ‘ผู้ใด’ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผู้ชายโดนด้วย เพราะต้องการให้ยกเลิกไปเลย  เนื่องจากเมื่อผู้หญิงเผชิญปัญหา ถ้าไม่แก้ปัญหาก็เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต

 

ขณะที่การทำแท้งอย่างปลดภัยก็หาได้ยาก จะมีก็เช่น เครือข่ายแพทย์อาสา(RSA) แต่รัฐบาลไทยซึ่งสนับสนุนเรื่องนี้ ไม่ได้ประกาศจุดยืนออกมาให้ชัดเจน อาจจะเป็นเพราะทัศนคติของสังคม ทำให้เมื่อผู้หญิงไปแก้ปัญหาเองก็ซื้อยาเองซึ่งอันตรายมาก

 

กฎหมายอาญามาตรา 301 ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี ทำให้แพทย์กังวลใจที่จะให้บริการ ทำให้ผู้หญิงกังวลใจที่จะไปถามบริการของรัฐ ดังนั้น ต้องยกเลิกมาตรานี้ เพื่อให้การทำแท้งเป็นเรื่องด้านสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย เพื่อให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างปลอดภัยและเราเชื่อว่า ไม่มีผู้หญิงคนไหนสนุกกับการไปทำแท้ง ถ้าช่วยวางแผนคุมกำเนิดให้ดีจะแก้ปัญหาได้เยอะ

 

นายแพทย์นิธิวัชร์ แสงเรือง แพทย์จากเครือข่ายแพทย์อาสา(RSA) กล่าวว่า ผู้หญิงควรจะมีทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย บางครั้งผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมก็รวมถึงคนที่แต่งงานแล้วมีปัญหาเจอความรุนแรง ถูกสามีทำร้ายทุบตีแล้วไม่สามารถทนอยู่กับสามีได้ แต่จะออกไปจากชีวิตคู่ ก็มีลูกในท้อง บางคนพยายามจะฆ่าตัวตาย บางคนต้องค้าประเวณีเพื่อหาเงินมาเข้ารับบริการทำแท้งทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย บางคนซื้อยาตามอินเตอร์เน็ตซึ่งขายแพงเกินราคาจริงหลายเท่า


ในประเทศไทย มีการทำแท้ง 2 ประเภท คือ ทำแท้งเถื่อนกับบริการยุติการตั้งครรภ์ เป็นการทำแท้งตามกฎหมายโดยแพทย์


กรณีทำแท้งเถื่อนมีตั้งแต่คนที่ไม่ใช่หมอ เอาไม้แขวนเสื้อ น้ำยาล้างห้องน้ำ ไม้เสียบลูกชิ้นใส่ช่องคลอดหวังให้แท้ง ซึ่งอันตรายมากถึงชีวิต เพราะมีการติดเชื้อจากบริเวณโพรงมดลูกเข้าสู่ในกระแสเลือดถึงแก่ชีวิตได้


ส่วนการทำแท้งเถื่อนที่นิยมมากขึ้นคือไปซื้อยาตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีราคาแพง ผู้ให้บริการไม่ใช่หมอ บางคนได้ยาปลอมเป็นเม็ดแป้งไม่ส่งผลอะไร เสียเงินฟรี หรือกรณีเป็นยาจริง ก็มีปัญหาโดสผิด บางคนมดลูกแตก ตกเลือดเสียชีวิต หรือท้องใหญ่เกินกว่าจะยุติการตั้งครรภ์ได้ แล้วไปกินยาจากอินเตอร์เน็ต ตกเลือดเสียชีวิตเช่นกัน 


27-3-2561 13-21-40.jpg


นายแพทย์นิธิวัชร์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการบริการทำแท้งที่ยุติการตั้งครรภ์ตามหลักวิชาการแพทย์ แม้จะไม่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่โอกาสเสียชีวิตอยู่ในอัตรา 1 ต่อ 100,000 ราย ขณะที่ทำแท้งเถื่อน อยู่ในอัตรา 300 ต่อ 100,000 ราย ส่วนการคลอดปกติมีโอกาสเสียชีวิต 24 ต่อ 100,000 ราย ซึ่งมากกว่าทำแท้งที่ถูกกฎหมาย


ส่วนตัวเห็นว่า ผู้หญิงที่มีภาวะไม่พร้อมทั้งทางกายทางจิต ควรได้รับคำปรึกษาอย่างรอบด้าน ว่ามีทางเลือกอย่างไร และครอบครัว ชุมชน รัฐบาลก็ต้องดูแล สำหรับตัวผู้หญิงเองเมื่อได้รับคำปรึกษาก็ควรได้เข้าถึงบริการที่ปลอดภัย ไม่ต้องไปหาบริการใต้ดิน อินเตอร์เน็ต     


“ถ้าเขาต้องตั้งครรภ์ต่อ อาจจะทำให้ชีวิตเขาไม่สามารถเดินต่อไปได้ ผมก็คิดว่าน่าจะเป็นสิทธิที่เขาได้เลือก คือ ผมไม่ได้สนับสนุนให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมทุกคนทำแท้ง แต่ผู้หญิงทุกคนที่ท้องไม่พร้อม ควรจะได้รับคำปรึกษาทางเลือก รู้ว่าตัวเองมีทางเลือกอะไรบ้าง ไม่ใช่ปิดทางเขา”


27-3-2561 13-25-44.jpg


รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ว่า กฎหมายนี้ไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้หญิง จึงได้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพื่อให้ยกเลิกมาตรา 301 -305 เช่นเดียวกับการตีความกรณีผู้หญิงแต่งงานแล้วไม่เปลี่ยนนามสกุลสามารถทำได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเป็นอย่างไร คณะกรรมการกฤษฎีกาก็คงเห็นไปในทางเดียวกัน