ไม่พบผลการค้นหา
กฟน.นำท่อพิเศษแก้สายสื่อสารรกรุงรังครั้งแรกในไทย
กฟน.เดินหน้าปักเสาไฟป้องกันชายฝั่งทะเล
กฟน. แจงตัดสายสื่อสาร เป็นหน้าที่บริษัทสื่อสาร
กฟน.แจงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินย่านพระราม 3
Wake Up News - กฟน.เสริมความรู้ผู้รับเหมาติดตั้งป้ายโฆษณาใกล้สายไฟ - Short Clip
กฟน.เดินหน้านำสายไฟฟ้าลงดิน ถ.นานาเหนือ
Tonight Thailand - กฟน.ชวนเที่ยวงานกาชาด ร่วมทำบุญลุ้นโชคลอยคว้า - Short Clip
Wake Up News - กฟน.รับมอบฝักโกงกาง ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ - Short Clip
กฟน.เปิดรับสมัครผู้สนใจขายไฟฟ้าเข้าระบบ
กฟน.ครบรอบ 60 ปี จัดมหกรรมวิ่งการกุศล
Wake Up News - กฟน.เดินหน้าสายไฟฟ้าใต้ดิน ถ.รัชดา-พระราม 9 - Short Clip
Tonight Thailand - กฟน.บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล 'ในหลวง ร.9' - Short Clip
กฟน.-ซีพี นำร่องเปิดสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า
Tonight Thailand - กฟน.รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมระดับเอเซีย - Short Clip
กฟน.มอบรางวัลอาคารประหยัดพลังงาน ปีที่ 5
กฟน.เผยเบื้องหลังความสำเร็จระบบไฟฟ้างานกาชาด
Wake Up News - กฟน.จับมือ MG เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องอัดประจุรถไฟฟ้า - Short Clip
Tonight Thailand - กฟน. โชว์เทคโนโลยีในงานวันเด็กแห่งชาติ - Short Clip
Wake Up News - กฟน.- กทม. จับมือใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบเติมเงิน - Short Clip
Wake Up News - ปลดป้ายรถรางป้ายสุดท้าย กับการเปลี่ยนผ่านร่วมศตวรรษ - Short Clip
Tonight Thailand - กฟน.เดินหน้าเจาะอุโมงค์ไฟฟ้าใหญ่สุดในไทย - Short Clip
Sep 8, 2018 03:46

การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เดินหน้าขุดเจาะโครงการอุโมงค์ Outgoing ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์เชื่อมต่อระบบจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความเพียงพอ และช่วยปรับทัศนียภาพของกรุงเทพมหานครให้สวยงาม 

นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน. เปิดเผยว่า การเจาะอุโมงค์ในครั้งนี้ จะเพิ่มเส้นทางจ่ายไฟ ด้วยระบบสายไฟฟ้าแรงสูงให้ครอบคลุมมากขึ้น ช่วยรองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญ ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างส่วนต่อขยายจากอุโมงค์ไฟฟ้าเดิมของ กฟน. ที่ปัจจุบันเชื่อมต่อระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลม ขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์

อุโมงค์ในโครงการนี้มีความลึกกว่า 40 เมตร เจาะใน 2 เส้นทางหลัก 

- เส้นทางแรก จากภาพจะเห็นเป็นเส้นสีม่วง จาก กฟน. สำนักงานเพลินจิต ไปยังบริเวณหน้าเซนทรัลเอ็มบาสซี่ ระยะทาง 395 เมตร 

- เส้นทางที่สอง หรือเส้นสีแดง จาก กฟน. สำนักงานเพลินจิต เช่นกัน ไปสิ้นสุดที่สวนลุมพินี ระยะทาง 1,332 เมตร

และจะมีอีกหนึ่งเส้นย่อย หรือที่เห็นเป็นเส้นสีเขียว จะเป็นการขุดเชื่อมต่อระหว่างหลุม 1 และหลุม 2 ซึ่งอยู่ภายใน กฟน. สำนักงานเพลินจิต ยาว 126 เมตร รวมความยาวอุโมงค์กว่า 1,800 เมตร ซึ่งการขุดอุโมงค์ สามารถติดตั้งผนังอุโมงค์ได้ในคราวเดียวกัน และสามารถกำหนดทิศทางการเจาะเป็นเส้นโค้งได้ 

ด้านความปลอดภัย มีระบบป้องกันกรณีเกิดอุทกภัยด้วยระบบระบายน้ำ , มีการก่อสร้างทางลงอุโมงค์ในระยะพ้นน้ำ ความสูง 1.2 เมตร , มีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนอัคคีภัย และระบบระบายอากาศเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ รวมถึงมีเซ็นเซอร์ตรวจจับเรื่องดินสไลด์ ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 878 ล้านบาท ระยะเวลา 1,080 วัน หรือราว 3 ปี โดยผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน. เน้นย้ำว่า มีการวางแผนเรื่องการจราจร เพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด 

สำหรับอุโมงค์จ่ายไฟฟ้าแรงดันสูง 230 กิโลโวลต์ ของ กฟน. ปัจจุบันมี 4 แห่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 แห่ง คือ อุโมงค์สถานีต้นทางบางกะปิถึงชิดลม ระยะทาง 7 กิโลเมตร และอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าลาดพร้าว-วิภาวดี ส่วนโครงการที่กำลังก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ บริเวณคลองพระโขนง และโครงการอุโมงค์ Outgoing สถานีต้นทางชิดลม

ทั้งนี้ ในอนาคต กฟน.มีแผนจะดำเนินการขุดเจาะเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง คือ บางพลี บางซื่อ คลองด่านและเอราวัณ ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ และออกแบบเพื่อจัดทำทีโออาร์ เพื่อให้การจ่ายไฟฟ้า ในพื้นที่รับผิดชอบของ กฟน. มีเสถียรภาพมากขึ้น 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog