ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - สหรัฐฯ แนะชาติพันธมิตรแบน 5G ของจีน - Short Clip
World Trend - 'หัวเว่ย' เปิดแล็บ 5G ในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - ยูทูบเริ่มปล่อยหนังทั้งเรื่องให้ชมได้ฟรี - Short Clip
World Trend - 'กูเกิล' ระงับให้บริการในอุปกรณ์ 'หัวเว่ย' - Short Clip
World Trend - ทวิตเตอร์ฉลองการใช้ 'แฮชแท็ก' ครบ 11 ปี - Short Clip
World Trend - ‘Maroon 5’ อาจเป็นวงหลักขึ้นแสดง ‘ซูเปอร์โบวล์ 2019’ - Short Clip
World Trend - ไต้หวันปิดเครือข่าย 3G สิ้นปีนี้ - Short Clip
World Trend - แอร์พอดส์โฉมใหม่เปิดตัว ปี 2020 - Short Clip
World Trend - FBI, CIA, NSA เตือนคนอเมริกันอย่าใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ย - Short Clip
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - 'อาลีบาบา' ไม่พอใจท่าทีสหรัฐฯ ต่อ 'หัวเว่ย' - Short Clip
World Trend - ไมโครซอฟท์เตรียมเปิดตัวเซอร์เฟซใหม่ 2 ต.ค. นี้ - Short Clip
World Trend - อินสตาแกรม สตอรี เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เห็นได้แค่เพื่อนสนิท - Short Clip
World Trend - 'ฟาร์มไก่มีจริยธรรม' เทรนด์บริโภคไข่ของวันนี้ - Short Clip
World Trend - กูเกิลเผยสุดยอดคำค้นหาประจำปี 2018 - Short Clip
World Trend - ออปโป้ยอมรับโกงคะแนนวัดประสิทธิภาพ - Short Clip
World Trend - ​เกาหลีบุกยึด 'กล้องถ้ำมอง' ไลฟ์สตรีมแขกในโรงแรม - Short Clip
World Trend - 'สตาร์บัคส์' มีแนวโน้มขายเครื่องดื่มผสมกัญชาที่สุด - Short Clip
World Trend - แผนขึ้นอันดับ 1 ของหัวเว่ยอาจล่าช้า - Short Clip
World Trend - 'รถยนต์ไร้คนขับ' เปลี่ยนเกมวงการประกันภัย? - Short Clip
World Trend - ทำไมสหรัฐฯ ไม่ไว้ใจ 'หัวเว่ย' - Short Clip
Dec 10, 2018 12:35

แม้สมาร์ตโฟนของหัวเว่ยจะขายดีไปทั่วโลก แต่กลับไม่สามารถตีตลาดสหรัฐอเมริกาได้ เพราะถูกรัฐบาลสหรัฐฯ สั่งแบน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง วันนี้ เราจะมาคุยกันว่าทำไมหัวเว่ยจึงถูกรัฐบาลสหรัฐฯ ตั้งแง่ว่าอาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคง 

หลายคนคงจะรู้จัก หัวเว่ย ในฐานะบริษัทผู้ผลิตสมาร์ตโฟนชื่อดังจากจีน จากเดิมที่เป็นเพียงผู้ผลิตสมาร์ตโฟนบริษัทเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครสนใจ แต่หัวเว่ยก็ค่อย ๆ สะสมชื่อเสียง และแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนที่ขายดีเป็นอันดับที่ 2 ของโลกได้ในตอนนี้ เป็นรองแค่ซัมซุงเท่านั้น อย่างในประเทศไทย ถ้าย้อนกลับไป 4-5 ปีที่แล้ว คงไม่ค่อยมีใครสนใจหัวเว่ย อาจจะเคยเห็นผ่านตาบ้างตามร้านโทรศัพท์ แต่ว่าตอนนี้ เชื่อว่า ถ้าใครคิดจะซื้อสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ จะต้องมีหัวเว่ยเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน  

ถึงแม้ว่าหัวเว่ยจะขายดีในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่กลับถูกแบนห้ามเข้าไปขายในสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของความมั่นคง เพราะว่าหัวเว่ยเป็นสมาร์ตโฟนจากบริษัทจีน และบริษัทยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกองทัพจีนอีกด้วย สหรัฐฯ เลยกังวลว่า หากมีคนอเมริกันใช้หัวเว่ยส่งข้อความ ส่งไฟล์ติดต่องานสำคัญกันเยอะ ข้อมูลอาจจะรั่วไหลได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของสหรัฐฯ อย่าง CIA หรือ FBI จึงห้ามเจ้าหน้าที่ใช้หัวเว่ยเด็ดขาด เพราะกลัวข้อมูลลับรั่วไหล โดยก่อนที่จะมีการแบนไม่ให้บริษัทที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหรัฐฯ นำสมาร์ตโฟนของหัวเว่ยเข้ามาขายในสหรัฐฯ แล้ว สหรัฐฯ ยังแบนสมาร์ตโฟนของ ZTE ซึ่งเป็นบริษัทจีนเหมือนกัน และยังเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ร่วมแบนด้วยเช่นกัน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง

สำหรับข้อกล่าวหาที่สหรัฐฯ อ้างว่าหัวเว่ยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกองทัพจีนนั้น มีความเป็นไปได้แค่ไหน ก็ต้องพิจารณาตั้งแต่ผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย นายเหรินเจิ้งเฟย ซึ่งเคยทำงานให้กับกองทัพจีนจริงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดยได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรข้อมูลข่าวสารของกองทัพจีน และมีหน้าที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสื่อสารของของกองทัพ ซึ่งเขาทำงานกับกองทัพจีนจนถึงปี 1983 ก่อนที่จะลาออกมาเปิดบริษัทหัวเว่ย 4 ปีหลังจากนั้น ตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้สหรัฐฯ มองว่าหัวเว่ยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกองทัพ เพราะว่าผู้ก่อตั้งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพจีนมาก่อน จึงเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ย อาจจะมีกองทัพจีนเป็นผู้ควบคุมอยู่เบื้องหลัง แต่ว่าหัวเว่ยได้ออกชี้แจงแล้วว่า นายเหรินเจิ้งเฟย เคยทำงานให้กับกองทัพจีนจริง แต่ว่าอยู่ในสถานะลูกจ้าง ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่เขาทำงานให้กับกองทัพจีน เขายังอยู่ในสถานะประชาชนทั่วไป ไม่ได้เป็นนายทหารในกองทัพจีนแต่อย่างใด และเขายังใช้เงินตัวเองในการก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ไม่ได้มีความช่วยเหลือจากกองทัพจีนหรือรัฐบาลจีนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม แม้จะปฏิเสธความเกี่ยวข้องกัน แต่กองทัพจีนถือเป็นลูกค้ารายสำคัญของบริษัทหัวเว่ยในการจัดหาอุปกรณ์เครือข่ายโทรคมนาคมให้กับกองทัพจีน และยังมีการทำงานวิจัยร่วมกันมาโดยตลอด ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ กังวลอยู่ดีว่าสมาร์ตโฟนของหัวเว่ยจะถูกนำมาใช้ในการก่อสงครามไซเบอร์กับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการสอดแนมหรือการล้วงข้อมูลสำคัญ 

แต่หากมองในแง่ดี จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของจีนจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลหรือว่ากองทัพจีน เพราะหลายคนก็รู้ดีอยู่แล้วว่า ถึงจีนจะเปิดรับตลาดการค้าเสรี แต่รัฐบาลก็ยังคงสอดส่องดูแลและควบคุมทุกอย่างอย่างใกล้ชิด และบริษัทเอกชนต่างต้องการใกล้ชิดกับรัฐบาล เพราะรู้ดีว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตที่รัฐบาลจีนต้องการควบคุมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้การดำเนินนโยบายของบริษัทเป็นไปตามแนวทางที่รัฐบาลจีนได้ตั้งไว้ 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเป็นผู้ควบคุมหัวเว่ยจริงตามที่สหรัฐฯ กล่าวหาหรือไม่ เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบชัดเจนไม่ได้ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือหัวเว่ยกับรัฐบาลจีน รวมทั้งกองทัพจีน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแน่นอน อย่างตอนนี้ หัวเว่ยกำลังพัฒนาเครือข่าย 5 จี ให้กับกองทัพจีนด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่หัวเว่ยจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ในที่นี้คือสหรัฐฯ และประเทศทางตะวันตกที่มีจุดยืดทางการเมืองที่แตกต่างกัน ว่าถึงแม้หัวเว่ยกับรัฐบาลจีนจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ว่าทางรัฐบาลจีนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ หรือสามารถเข้ามาแทรกแซงการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของหัวเว่ยได้ ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่หากหัวเว่ยสามารถสร้างความมั่นใจได้มากพอ ก็อาจจะทำให้สหรัฐฯ เปิดใจยอมให้หัวเว่ยเข้ามาทำการตลาดได้อนาคต 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog