ไม่พบผลการค้นหา
Talking Thailand - ผบช.น. เชื่อ! จับแกนนำ 'ม็อบ' ก่อนชุมนุมใหญ่..ไม่เพิ่มเชื้อไฟ - FULL EP.
Talking Thailand - “6 ปี..รัฐประหาร” มีใครอยู่ยาวกับ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ - FULL EP.
Talking Thailand - “ม็อบ” จะมาเพราะคนทนไม่ไหว..รัฐบาลแก้เกี้ยวต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่อ้างคุมโรค - Short Clip
Talking Thailand - “ประยุทธ์” ต้องหยุดสั่งสอนปชช. จะเอาเงินชดเชยจากรัฐไปใช้อะไร..ก็อย่ายุ่ง! - Short Clip
Talking Thailand - “ใบตองแห้ง” ถามหา “ศักดิ์ศรีตำรวจ” (บางนาย) ที่ยังรับคำสั่ง..มารังแกม็อบ  - Short Clip
Talking Thailand - 'เพนกวิน' ได้ประกันตัว...ลั่น! สู้ให้ถึงที่สุด ยังไงจะไปร่วมม็อบปลดแอก- Short Clip
Talking Thailand -“อ.พิชญ์-คำผกา” ขอฝ่ายค้านชกให้เข้าเป้า น็อค “ประยุทธ์” ในสภาฯ ให้ได้ - Short Clip
Talking Thailand - 'รัฐบาล' ซ้ำเติมคนจน ขนาดคนใจบุญแจกอาหารช่วยคนเดือดร้อน...ก็ยังผิด- Short Clip
Talking Thailand - ประยุทธ์ หยั่งเสียงเลิก-ไม่เลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" - FULL EP.
Talking Thailand - รัฐบาลกลัวโรคระบาดขยาย แต่ทำเหมือนกลัวคนกินเหล้า-เด็กแว้น และม็อบ!! - Short Clip
Talking Thailand - 'บิ๊กตู่' จ่อใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อหวังเพิ่มอำนาจเต็ม..ไม่ใช่แค่คุมโรคระบาด - Short Clip
Talking Thailand - “อยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ” ไม่ได้ผล..สะท้อนรัฐบาลไม่เข้าใจคนไทย - Short Clip
Talking Thailand - ‘ประยุทธ์’ เดือด! เจอชู 3 นิ้วไล่ที่โคราช จนลืมภาวะผู้นำ - FULL EP.
Talking Thailand - คนเดือดร้อน!! เป็นตายร้ายดีไม่สน ขอแค่ตัวเองมีอำนาจเป็นใหญ่ - Short Clip
Talking Thailand - เศรษฐกิจตกต่ำเพราะ “ประยุทธ์” ไร้ปัญญารับมือ..อย่ามัวโทษ “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” - FULL EP.
Talking Thailand - ฉุกเฉินโควิด ยากแก้วิกฤต หากไร้ความชัดเจน - Short Clip
Talking Thailand - 'เพื่อไทย' ห่วงเกษตรกรเช่าที่ดินทำไร่นา ไม่ได้เงินเยียวยา - FULL EP.
Talking Thailand - “เพื่อไทย-อนค.” นัด “เคลียร์ใจ” ก่อน “อดีตอนาคตใหม่” เปิดตัวพรรค 8 มี.ค. - Short Clip
Talking Thailand - 'ประยุทธ์' ส่งรองโฆษกฯ ออกมาแจง ไม่ได้สั่ง แต่ตำรวจจับม็อบเอง - Short Clip
Talking Thailand - “ม็อบ” ยกระดับชุมนุม..ไม่ใช่เพราะแกนนำถูกจับ แต่เพราะผู้นำไร้ประสิทธิภาพ - Short Clip
Talking Thailand - 'ประยุทธ์' และคนในรัฐบาล ลงพื้นที่ไปฟัง 'ม็อบ' ไม่ไป..ก็เท่ากับไม่จริงใจ! - Short Clip
Aug 15, 2020 15:19

รายการ Talking Thailand ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2563

นักวิเคราะห์ Talking Thailand ชี้ “ประยุทธ์” หรือ คนในรัฐบาล ลงพื้นที่ไปฟังข้อเรียกร้องของ “ม็อบปลดแอก” อย่ามัวมาพูดผ่านสื่อ “อ.วิโรจน์” ชี้มีหลายเรื่องที่นักศึกษาสะท้อนได้ดี เช่น การศึกษา 

“อ.พิชญ์” ชี้ถ้าไม่ไป ก็สะท้อนชัดว่า “ไร้ความจริง” ชี้หลายกลุ่มเปิดหน้า ไม่ได้เดินเกมใต้ดิน ยิ่งต้องแสดงความจริงใจ 

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) บันทึกการคุกคามผู้จัดหรือผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.เป็นต้นมาจนปัจจุบัน พบว่า มีการแจ้งเข้ามาทั้งหมด 79 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นกรณีเปิดเผยต่อสาธารณะได้ 63 ครั้ง และกรณีที่ผู้ถูกคุกคามไม่พร้อมให้เปิดเผยอีก 16 ครั้ง

นายอภิรักษ์ นันทเสรี เจ้าหน้าที่ไอลอว์ เปิดเผยว่า รูปแบบการคุกคามที่พบเป็นส่วนใหญ่สำหรับแกนนำจัดชุมนุม คือ มีเจ้าหน้าที่ไปที่บ้าน ก่อนจัดการชุมนุม เพื่อกดดันให้ไม่จัดหรือไม่เข้าร่วม เช่น ในจังหวัดลำพูน เพชรบูรณ์ แพร่ เลย พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี นนทบุรี สงขลา ขอนแก่น อำนาจเจริญ อุดรธานี กระบี่ กรุงเทพมหานคร ฯลฯ 

นอกจากนี้ การคุกคามผู้เข้าร่วมชุมนุมยังเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยมีการถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ ใช้กล้องวงจรปิด ใช้โดรนในการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมชุมนุม และมีรายงานการเก็บข้อมูลป้ายทะเบียนรถผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วย

กรณีบทบาทของโรงเรียนนั้น พบว่า มีผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูเรียกพบนักเรียนที่เป็นแกนนำหลายกรณี โดยมีเป้าหมายเพื่อห้ามปรามการชุมนุม บ้างเป็นการขอความร่วมมือ บ้างเป็นการข่มขู่ว่าจะมีการลงโทษ กระทั่งจะไม่ได้รับใบประกาศจบการศึกษา อย่างไรก็ดี การชุมนุมโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงจัดขึ้นตามกำหนดการ มีเพียงไม่กี่กรณีที่ยุติการจัดการชุมนุม ที่น่าสังเกตคือ เจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่เข้าพบเยาวชนหรือประชาชนมักอ้างว่า มีลิสต์ซึ่งเป็นข้อมูลจากส่วนกลางซึ่งระบุชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของแกนนำต่างๆ ด้วย

“หลังจากที่การชุมนุมมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เข้าร่วมมากขึ้น รูปแบบการคุกคามจึงเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยเฉพาะในโรงเรียน เช่น การเรียกนักเรียนที่จัดกิจกรรมเข้าพบผู้อำนวยการหรือครู การเรียกผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียน การประกาศในโรงเรียนว่าห้ามไปร่วมชุมนุม การนำตำรวจเข้าไปในโรงเรียน ตำรวจโทรหาผู้ปกครองหรือไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก การขับรถตามและเฝ้าอยู่ที่หอพัก รวมไปถึงการให้เซ็นบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ว่าจะไม่ไปร่วมกิจกรรม การคุกคามรูปแบบใหม่เหล่านี้ส่งผลกระทบและสร้างความกดดันอย่างมากให้กับนักเรียน นักศึกษา เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเป็นคนหน้าใหม่ที่กำลังเริ่มสนใจกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งกิจกรรมส่วนใหญ่จัดในต่างจังหวัด หลายพื้นที่ไม่เคยมีกิจกรรมทางการเมืองมานาน ทำให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติรุนแรงแตกต่างกันไป” นายอภิรักษ์กล่าว

สำหรับการดำเนินคดีนั้น อภรักษ์ระบุว่า จะดำเนินคดีกับผู้จัดหรือผู้ขึ้นปราศรัยเป็นหลัก เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่มีคนถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ จากการทำกิจกรรม #คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo บริเวณประตูท่าแพ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. จำนวน 4 คน ที่จังหวัดลำพูนในงานวันที่ 24 ก.ค. คนขึ้นปราศรัย 2 คนก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนที่กรุงเทพฯ มีคนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมหน้ากองทัพบกในวันที่ 20 ก.ค.จำนวน 5 คน และจากเวทีวันที่ 18 ก.ค.อย่างน้อย 3 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ขึ้นเวทีปราศรัยทั้งสิ้น

ส่วนเหตุการณ์หลังเวทีที่ธรรมศาสตร์รังสิต ในวันที่ 10 ส.ค. นั้น ยังไม่มีรายงานของการดำเนินคดีจากเวทีดังกล่าว แต่มีการคุกคามเกิดขึ้นคือ มีตำรวจนอกเครื่องแบบขับรถติดตามผู้ปราศรัยไปจนถึงที่บ้านและในคืนวันที่ 12 ส.ค. ตำรวจนอกเครื่องแบบยังได้ไปเฝ้าอยู่บริเวณหอพักของแกนนำจัดงานและคนขึ้นปราศรัยตั้งแต่ช่วงค่ำจนถึงเช้า รวมไปถึงการจับกุมพริษฐ์ หนึ่งในกลุ่มแกนนำจัดงาน 10 ส.ค. ในช่วงเย็นวันที่ 14 ส.ค. แต่เป็นการจับกุมจากเหตุของการชุมนุมครั้งอื่น

ส่วนกรณีข้อมูลจำนวนหนึ่งไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้นั้น อภิรักษ์ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกคุกคามเป็นนักเรียนหรือเยาวชนซึ่งมีถึง 8 กรณีจากทั้งหมด 16 กรณี และทุกกรณีอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและเป็นผู้จัดกิจกรรมที่ไม่เคยทำกิจกรรมทางการเมืองมาก่อนจึงไม่ต้องการให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในจังหวัดรวมถึงครูในโรงเรียนด้วย ในส่วนของลักษณะโดยทั่วไปของการคุกคามเป็นจะเป็นการเข้าไปเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลัก การโทรหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ การเรียกเข้าพบของผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครู

สำหรับผู้ที่ทราบข้อมูลการคุกคามประชาชนที่แสดงออกในประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วยรูปแบบใดก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็นผู้ประสบเหตุคุกคามด้วยตัวเอง สามารถติดต่อเพื่อให้ข้อมูลกับไอลอว์ได้ทั้งทางโทรศัพท์หมายเลข 02 002 7878 email [email protected] หรือทาง facebook messenger ของเพจ ilaw หรือทาง Direct message ทาง twitter อ่านรายละเอียดรายงานได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/node/836

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog