ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - อย.สหรัฐฯ พิจารณาติดฉลากเตือนแพ้งา - Short Clip
World Trend - กลต.สหรัฐฯ ฟ้อง 'มัสก์' ฐานละเมิดข้อตกลง - Short Clip
World Trend - สปีลเบิร์กกังวล ความสำเร็จสตรีมมิงกระทบหนังโรง - Short Clip
World Trend - โรงแรมดังนิวยอร์กเปิดเว็บแฟชั่นออนไลน์ - Short Clip
World Trend - ​'โรงเรียนในสตาร์ตอัป' การศึกษาทางเลือกในนิวยอร์ก - Short Clip
World Trend - กองทัพอวกาศสหรัฐฯ อาจกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ลูกจ้างอังกฤษเกินครึ่งเชื่อ 'เจ้านายคอยแอบดู' - Short Clip
World Trend - กูเกิลเตรียมเพิ่มผู้ใช้ 1 พันล้านทั่วโลก ยกเว้นจีน - Short Clip
World Trend - วาฬเพชฌฆาต: ซูเปอร์สตาร์หรือนักโทษของสวนน้ำ? - Short Clip
World Trend - 'โฮโลเลนส์' เทคโนโลยีสุดล้ำยกระดับยานยนต์ - Short Clip
World Trend - ประชากรโลก 1 ใน 4 จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - Short Clip
World Trend - 'กำจัดยุงลาย' พันธกิจใหม่ของกูเกิล - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ เร่งศึกษาวิธีรีไซเคิลแบตฯ ลิเทียมไอออน - Short Clip
World Trend - รถใต้ดินปักกิ่งเตรียมใช้ระบบสแกนใบหน้า-ฝ่ามือ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ กินเนื้อแปรรูปเสี่ยงมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - 'แอร์นิวซีแลนด์' เลิกแบนพนักงานมีรอยสัก - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
World Trend - ทิ้งพลาสติกลงชักโครกส่งผลเสียต่อแหล่งน้ำ - Short Clip
World Trend - ประธาน YG ถูกกล่าวหาพัวพันค้าบริการ  - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ คิดค้น 'คอนกรีตซ่อมตัวเองได้' - Short Clip
Jan 23, 2018 10:50

การตรวจพบรอยร้าวของอาคารอาจทำให้ต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรอยร้าวนั้นมีขนาดใหญ่และส่งผลกระทบต่อการใช้งานอาคาร ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้เนื้อคอนกรีตซ่อมแซมตัวเองได้แล้ว โดยมีตัวช่วยคือ 'เห็ด'

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบิงแฮมตัน ในมลรัฐนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ คิดค้นวิธีที่จะทำให้เนื้อคอนกรีตสามารถซ่อมแซมรอยแตกร้าวเองได้ โดยใช้สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ดราเป็นส่วนผสม หลังได้แรงบันดาลใจจากการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่จัดการกับรอยฟกช้ำ รอยบาด และกระดูกที่หักได้ตามธรรมชาติ

ผลการศึกษาดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสารวัสดุก่อสร้าง Construction and Building Materials โดยระบุว่า หากต่อยอดการศึกษานี้ต่อไป จะช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานเสื่อมโทรม ไม่ว่าจะเป็นสะพานและถนนในสหรัฐฯ ได้อย่างมาก ขณะที่ งบประมาณการซ่อมแซมก็จะไม่สูงเท่าเดิม

ไตรโคเดอร์มา รีเซ หรือ 'ที. รีเซ' ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง และเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้คอนกรีตแบบใหม่นี้สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ โดยเมื่อรอยร้าวเจอกับน้ำและออกซิเจน สปอร์ของราก็จะแตกตัว แผ่ขยายออก และเติมร่องรอยร้าวด้วย 'แคลเซียม คาร์บอเนต' ทำให้ผิวคอนกรีตสมานกันได้ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก แต่ก็ถือเป็นก้าวแรกของการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานในระดับชาติที่น่าจับตาอย่างยิ่ง

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog