ไม่พบผลการค้นหา
‘ธีรยุทธ บุญมี’ ถอดเสื้อกั๊กติงไทยติดกับดักทางความคิด ตกอยู่ในความเมืองมองอีกฝ่ายเป็นศัตรูที่ต้องล้มล้าง แนะรัฐบาลแก้ปากท้อง อย่าอ้างความมั่นคงกำจัดฝ่ายตรงข้าม จี้ศาลถอยออกจากตุลาการภิวัฒน์ อ้างปฏิรูปชวนคนลงถนนไม่ได้อีกแล้ว ห่วงท่าทีรัฐบาล-กองทัพ มองฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรู ชี้นโยบายประชานิยมในยุคไทยรักไทย - เพื่อไทย ไม่ยั่งยืน ขณะที่พรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้นมาขัดแย้งกับฝ่ายทหาร แนะนายกฯ - ผบ.ทบ. หยุดโหนสถาบัน

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2562 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และมูลนิธิ 14 ตุลา จัดการบรรยายพิเศษ “ประชาชน พรรคการเมือง ทหารไทย ติดกับดักวิกฤตใหม่ประเทศไทย” โดย ศ.ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการและนักวิจารณ์การเมือง อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ศ.ธีรยุทธ กล่าวว่า สังคมไทยไม่มีเป้าหมายจนกลับมาติดกับดักตัวเองนับจาก ปี 2500 กล่าวได้ว่า ประเทศไทยมี 3 ยุคคือ

1. ยุคพัฒนา (2505-2535) สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประเทศไทยมีเป้าหมายคือการพัฒนาให้ก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมแถวหน้าของภูมิภาคซึ่งได้ผลน่าพอใจพร้อมๆกันไปถือการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งมีทั้งผลดีผลเสียสลับกันไปเพราะยังมีการคอร์รัปชันของนักการเมืองสูงจนมีการแทรกแซงโดยรัฐประหารหลายหน

2.ปฏิรูปช่วง (2535-2557) สังคมมองเห็นทางออกจากปัญหาคอร์รัปชันและการใช้อำนาจอย่างไร้สำนึกของนักการเมืองจนเกิดเป็นเป้าหมายใหญ่ของประเทศร่วมกันคือการปฏิรูปการเมืองแต่กลับล้มหลว เพราะแม้จะเกิดการชุมนุมประท้วงใหญ่มากของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและ กปปส. มีการรัฐประหาร 2 หน ก็สะท้อนว่าพลังอนุรักษ์ระบบราชการและกองทัพไม่พร้อมและไม่สามารถปฏิรูปใดๆ ได้ เป้าหมายการปฏิรูปจึงคงจะฝ่อลงไปเรื่อยๆ

3.ยุคปัจุบันคือ (2557-2562) ยุคติดกับดักเพราะไม่สามารถพบเป้าหมายที่เป็นทางออกได้อันที่จริงมีเป้าหมายหนึ่งคือ"ประชาธิปไตยที่กินได้" หรือนโยบายประชานิยมที่จับใจชาวบนจนกลายป็นเสียงที่เหนียวแน่นของ 'พรรคไทยรักไทย' และ 'พรรคเพื่อไทย' แต่ประชานิยมที่เกิดมาทั่วโลกเป็นเพียงเครื่องมือของการเลือกตั้งไม่สามารถเป็นเป้าหมายของประเทศได้และพิสูจน์มาแล้วว่าไม่ยั่งยืน ส่วน 'พรรคอนาคตใหม่' มีฐานเสียงเป็นชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจระบบเก่า 2 พรรคนี้ยังไม่มีการเสนอยุทธศาสตร์แผนงานหลักที่จะนำพาประเทศข้ามความขัดแย้งนี้ไปข้างหน้า เน้นการจุดประเด็นซึ่งเป็นจุดขายของขบวนการประชานิยม และมักกลายเป็นความขัดแย้งกับฝ้ายรัฐส่วนพลังฝ่ายอนุรักษ์หรือทหารเองแม้จะได้อำนาจมา 5 ปีเศษแต่ก็ติดกับดักความคิดที่เน้นเฉพาะความมั่นคงไม่มีเป้าหมายที่จะกินใจประชาชนจนเกิดเป็นเป้าหมายร่วมของประเทศได้

ศ.ธีรยุทธ มองว่า เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่กับกระบวนทรรศน์ใหม่ที่เข้ามาครอบงำคนไทยคือระบบคิดที่เรียกว่า "ความเมือง" เข้ามาแทนที่ระบบคิดแบบ "การเมือง" เขากล่าวว่าในวงการรัฐศาสตร์มีความคิดหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้น เสนอโดย Carl Schmitt นักวิชาการชาวเยอรมัน

เขากล่าวต่อว่า ความคิดว่าสิ่งที่สะท้อนแก่นแท้ของสังคมมนุษย์มากกว่า"การเมือง" (the politic) คือสิ่งที่เรียกว่า"ความเมือง" (the political) คำว่าการเมืองซึ่งนิยามว่าเป็นพื้นที่การแข่งขันของความคิดที่ต่างกันป็นความไม่ชอบไม่พอใจ (innimicus) หรือโกรธชังกัน (exthros) ระหว่างบุคคลก็ได้แต่ก็สามารถหาข้อสรุปโดยเสียงส่วนใหญ่ได้ แต่ทัศนะใหม่เรื่องความเมืองเป็นเรื่องการต่อสู้แบบรวมเบ็ดเสร็จ (totality war) ของกลุ่มคนซึ่งมองอีกกลุ่มในแง่เป็นพวกเรากับศัตรูเป็นความสัมพันธ์เชิงสงครามผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดคือ“องค์อธิปัตย์” ของกลุ่มซึ่งอาจเป็นผู้นำรัฐหรืออำนาจทางกฎหมายก็ได้

ศ.ธีรยุทธ กล่าวต่อว่า หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาทุกครั้งทั้งประชาชนและนักการเมืองจะมองว่าประเทศได้ก้าวเข้าสู่กระบวนการเมืองประชาธิปไตยแบบปกติ คือการแถลงนโยบายทัศนะของแต่ละฝ่ายการตรวจสอบหักล้างด้วยหลักฐานโวหารเหตุผลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขผิดเป็นถูกหรือเพื่อล้มรัฐบาลไปสู่การเลือกตั้งใหม่ก็ได้ แต่น่ากังวลว่า ปัจจุบันคนไทยส่วนหนึ่ง กำลังรับกระบวนทัศน์แบบความเมืองซึ่งมองพวกอื่นเป็นศัตรูที่ต้องล้มล้างแม้ในภาวะปกติ ซึ่งไม่มีวิกฤตใดๆ

ธีรยุทธ


ทำให้เราพบเห็นนักการเมืองกลายเป็นนักความเมืองพรรคการเมืองกลายเป็นพรรคความเมือง นักวิชาการกลายเป็น "นักโฆษณาความเมือง" ทหารฝ่ายความมั่นคงเป็นทหารฝ่ายความเมือง เราได้เห็นนักเคลื่อนไหวความเมือง

พวกเขาเริ่มต้นด้วยการมองการกระทำของอีกฝ่ายไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ใดๆ เป็นภยันตรายร้ายแรงต่อบ้านเมืองด้วยการขยายประเด็นที่เกินเหตุและผล ไปจนถึงการฟ้องร้องดำเนินคดีความใช้อิทธิพลกดดันกระบวนการยุติธรรมบางครั้งใช้มาตราการป้องกันล่วงหน้า ปักธงล่วงหน้าก่อนอีกฝ่ายจะดำเนินการใดๆ ด้วยซ้ำ

ระบบคิดแบบความเมืองทำให้ความขัดแย้งขยายตัวน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากความขัดแย้งเหลือง-แดง ซึ่งเป็นเรื่องขนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ในชนบท กับ ชนชั้นกลาง ชั้นสูง ในเมือง ต่อมาเพิ่มประเด็นความเป็น ภาคเหนือ อีสาน ใต้ความขัดแย้งเผด็จการประชาธิปไตย การเลือกตั้ง หลังสุดเพิ่มประเด็นคนรุ่นเก่ารุ่นใหม่ความคิดเก่า ความคิดใหม่ ชาติมหาอำนาจเองก็แสดงจุดยืนชัดเจน คือ ชาติตะวันตกหนุนฝ่ายเสื้อแดง จีนหนุนฝ่ายอนุรักษ์กับทหาร

ศ.ธีรยุทธ ย้ำว่าการที่ความขัดแย้งขยายตัวมาตลอดบ่งชี้ว่ารัฐบาลกับทหารจัดการกับวิกฤติการผิดพลาดมองปัญหาใจกลางผิด เขาอธิบายว่า ทหารเอาค่านิยมของทหารเองในเรื่องความจงรักภักดีต่อ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยกให้เป็นปัญหาหลักของประเทศ การที่กองทัพโยงประเด็นความมั่นคงเข้ากับสงคราม hybrid สะท้อนว่าทหารเชื่อว่าสังคมไทยซึ่งในยุครัฐประหารของ คสช. ยังอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง แต่ 5 ปี ผ่านไป สังคมก็ได้พัฒนามาเป็นสงคราม hybrid ซึ่งร้ายแรงกว่าเดิมเพราะเป็นสงครามยุคสมัยใหม่ที่ไม่จำกัดรูปแบบการต่อสู้ 

ธีรยุทธ

ทั้งนี้ ศ.ธีรยุทธ กล่าวว่า ประเทศไทยเคยเกิดความขัดแย้งแบบ "พวกเรา-ศัตรู" เพียงครั้งเดียว คือการสร้างความคิด "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" จนเกิดอาชญากรรมรัฐ 6 ตุลาคม 2519 และมองว่า การเกิดระบบ"ความเมือง" ในขณะนี้ มีการเคลื่อนไหวกว้างขวาง ตั้งแต่การใช้สื่อออนไลน์ไปจนถึงกระบวนการศาล ถือเป็นวิกฤตใหม่ที่ควรกังวลและทุกฝ่ายต้องช่วยกันคลี่คลายปัญหา

สำหรับตนคิดว่าเรื่องความมั่นคงยังเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปัญหาที่ควรจะหยิบยกคือปากท้องที่กระทบคนส่วนมาก 4 เรื่อง สำคัญคือ

1.ความเหลื่อมล้ำ

2.ปัญหาที่ทำลายระบบคุณธรรมสังคมคือคอร์รัปชัน

3.ปัญหาการยกระดับสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเพื่อดึงพลังสร้างสรรค์ความร่วมแรงร่วมใจของประชาชน

4.ปัญหาความมั่นคง

ธีรยุทธ

แนะ นายกฯ - ผบ.ทบ.หยุดโหนสถาบันย้ำจงรักภักดี

ศ.ธีรยุทธ กล่าวต่อว่า "บ่อยครั้งที่ทหารออกมาพูดโดยย้ำความจงรักภักดี บางครั้งคนก็ตกใจ แต่ถ้ามองในแง่ดีนี่คืออุดมการณ์ คือค่านิยมของทหาร สรุปแล้วปัญหาความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาชน ยึดอยู่ในค่านิยมนี่อยู่แล้วคนรักชาติอาจจะรักชาติต่างกันเท่านั้น พระมหากษัตริย์ สังคมนับถือที่สำคัญนอกจากบทบาทของกษัตริย์แต่ละพระองค์ บทบาทเชิงหน้าที่มีมาก เป็นที่มาของความยุติธรรม ภารกิจที่กษัตริย์ทำมีมาก สถาบันกษัตริย์สามารถปกป้องตัวเองได้ ไม่ต้องกังวลจะมีส่วนน้อยที่อาจจะไม่ชื่นชม ติติงสถาบันเป็นส่วนน้อยที่ไม่มีพลังที่ไม่มีนัยยะสำคัญ ไม่จำเป็นที่นายกรัฐมนตรี ผบ.ทบ. ต้องออกมาพูด มันทำให้คนเกิดความตกอกตกใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นอย่าลืมว่าทหารถืออาวุธสงครามเป็นสถาบันเดียว ในอดีตผมอยู่กับทหารมาตลอดชีวิตทหารเขานุ่มนวลกับประชาชนโดยตลอดปัญญาชน ส่วนหนึ่งพูดเรื่องสถาบันกับการปกครองแบบใหม่ไม่จำเป็นต้องออกมาเทิดทูนแต่จุดประสงค์เพื่ออยากให้สถาบันอยู่คู่ประเทศต่อไป"

ไม่ต้องกังวลจะมีส่วนน้อยที่อาจจะไม่ชื่นชม ติติงสถาบันเป็นส่วนน้อยที่ไม่มีพลังที่ไม่มีนัยยะสำคัญ ไม่จำเป็นที่นายกรัฐมนตรี ผบ.ทบ. ต้องออกมาพูด มันทำให้คนเกิดความตกอกตกใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นอย่าลืมว่าทหารถืออาวุธสงครามเป็นสถาบันเดียว

“ส่วนการพูดถึงหรือซุบซิบนินทาผู้นำประเทศคนมีชื่อเสียงเป็นเรื่องปกติของสังคม ใครจะห้ามยังไงไม่มีทางสำเร็จต้องยอมรับว่ามันเป็นข้อเท็จจริงของสังคมมนุษย์ต้องปล่อยผ่านเอาไปเป็นเรื่องทางการไม่ได้มันเป็นการสื่อสารไม่เป็นทางการของมนุษย์”


'ธีรยุทธ' แนะสังคมเพิ่มพลังบวก ไม่แบ่งแยกเป็นศัตรู - รัฐบาล ควรแก้ไขปัญหาปปากท้อง

1.สังคมทั่วไปควรมองสถานการณ์ให้กระจ่าง และช่วยเสริมพลังทางบวกให้สังคม, เสริมความรู้แบบเพื่อนมิตร, เปิดกว้าง, ไม่เสริมกระแสแบ่งพวกเขาพวกเรา หรือ"พวกเรา-ศัตรู"

2.ฝ่ายรัฐต้องธำรงความเป็นกลาง ไม่เข้าไปร่วมการใช้ "ความเมือง" ทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่สำคัญ ศาลและระบบยุติธรรม ต้องต้อง devolute หรือถอยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์บ้าง ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนทัศน์ความเมือง ที่กำลังแผ่ขยายอยู่ในขณะนี้

สำหรับรัฐบาล สิ่งที่ควรทำมี 2 ประเด็น คือ

1.แก้ปัญหาปากท้องและความเหลื่อมล้ำ หรือภาวะ"รวยกระจุก จนกระจาย กลางกระจ้อน" ซึ่งปัญหาลุกลามมาจากชนชั้นล่างถึงชนชั้นกลางที่มีสภาพเศรษฐกิจ "กระจ้อน หรือ แคระแกร็น"แล้ว

2.ปฏิรูปในบางด้าน เน้นการพัฒนาคุณภาพคนทุกวัยในด้านการศึกษาพัฒนาทักษะใหม่ อาชีพใหม่ ส่วนการแก้ปัญหาทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ที่ต้องมีการประกันรายได้หรือการจ้างงาน ควรทำแบบเลือกสรรเฉพาะส่วน เพราะการปฏิรูปทั้งระบบใหญ่โตเกินๆงไป ไม่สามารถทำได้จริง จึงต้องจัดลำดับความสำคัญ

อดีตแกนนำนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 แนะนำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ว่าควรจะใช้คำพูดลักษณะที่แสดงความเป็นผู้ใหญ่ มีความนุ่มนวลและควรปล่อยวางในบางเรื่อง และยังฝากถึงพรรคการเมืองต่างๆ ว่า “อย่าตามน้ำตามกระแสเพื่อจะดึงความเมืองที่กำลังระบาดกลับไปสู่การเมืองในสภาท่านต้องปกป้องผลประโยชน์ของท่านเอง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง