ไม่พบผลการค้นหา
สภาอภิปราย 5 วันเปิดฉากชำแหละพ.ร.ก. 3 ฉบับ แก้วิกฤตโควิด-19 ฟื้นฟูประเทศ แม้เสียงของรัฐบาลจะเพียงพอต่อการอนุมัติ พ.ร.ก.ดังกล่าว แต่ถัดจากนี้ไปจะถึงคิวที่ 8 พรรคทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านผนึกกำลังตั้ง กมธ.ตรวจสอบเม็ดเงินกู้ในสภา

เพราะเม็ดเงินสู้ไวรัสโควิด-19 กู้เศรษฐกิจที่กำลังดับคาที่ มีวงเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท ผ่านพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับ

1. พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท)

2.พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Softloan 500,000 ล้านบาท ให้กับ SEMs)

3.พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.ตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพของตราสารหนี้บริษัทเอกชน 400,000 ล้านบาท)

เม็ดเงิน 1.9 ล้านล้านบาท เป็นเม็ดเงินใช้กู้วิกฤตสูงสุดในประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น กู้ 1 ล้านล้านบาท และใช้เงินสภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 9 แสนล้านบาท

เงินที่ใช้จึงมากกว่าตอนแก้ วิกฤตต้มยำกุ้ง ที่เมื่อ 20 ปี ก่อน การกู้เงินจะเยอะกว่าอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการกู้อย่างเดียว 2 ครั้ง กู้ครั้งแรกในยุคชวน หลีกภัย 1 ล้านล้านบาท และกู้ต่อเนื่องในยุคทักษิณ ชินวัตร อีก 5 แสนล้านบาท

เม็ดเงินที่มากขนาดนี้ ดังนั้น นักเลือกตั้งทั้งฝ่ายค้าน - รัฐบาลจึง "กัดไม่ปล่อย" แม้เป็น "พรรค-พวก" ร่วมรัฐบาลด้วยกันก็ตาม

ไอเดียการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ตรวจสอบงบประมาณของ พ.ร.ก.เงินกู้ จึงถูกโยนขึ้นมาเป็นกลไกตรวจสอบ

คิกออฟโดย พรรคก้าวไกล ที่ยื่นญัตติด่วนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ 5 พ.ค. 2563 โดยขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณและมาตรการแก้ไขปัญหา ภายใต้วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

พรรคก้าวไกล 5_4549967699161120768_o.jpg

จากนั้นกลายเป็นมติร่วมกันของ 6 พรรคฝ่ายค้าน ที่จะผลักดันให้สภาฯ ตั้ง กมธ.ตรวจสอบการใช้เงิน

'ชัยธวัช ตุลาธน' เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เราเสนอให้ กมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้งบประมาณครอบคลุมนอกเหนือจากงบ 1 ล้านล้านบาท รวมถึงงบกลางที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.โอนงบประมาณ พ.ศ.2563 เข้ามาด้วย ซึ่งสูงกว่า 8 หมื่นล้านบาท เป็นสัญญาณที่ดีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านทุกพรรคและพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค เช่น พรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีสนับสนุนการตั้ง กมธ.วิสามัญชุดนี้ แต่เรายังเป็นกังวลว่ารัฐบาลมีท่าทีสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่

ฝ่ายค้านในรัฐบาล อย่าง 'พรรคประชาธิปัตย์' ก็ไม่ปล่อยให้ "ซีนการเมือง" ซีนนี้หลุดไป 'สาทิตย์ วงศ์หนองเตย' ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์

ก็ผสมโรงยื่นเรื่องถึงประธานสภาฯ เพื่อขอให้ตั้งญัตติเรื่องตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ เช่นกัน

"พรรคประชาธิปัตย์ปรึกษากันแล้ว ทั้งอดีตหัวหน้าพรรค กรรมการบริหาร และ ส.ส. ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเห็นด้วย และปรึกษาเพื่อน ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านก็เห็นด้วย ถ้ามีการตั้ง กมธ.นี้ รัฐบาลจะแสดงออกถึงความโปร่งใส ใจกว้าง ส่วนที่ ส.ส.บางท่านไม่เห็นด้วย เราพยายามชี้แจงแล้ว น่าจะเป็นไปในทางที่ดี" สาทิตย์ กล่าว

สาทิตย์ เทพไท ประชาธิปัตย์ รังสิมา E-F38B0793BFFD.jpegภราดร สิริพงศ์ ภูมิใจไทย 653-4880-A6C1-A5DDEBF3CCAB.jpeg

อีกด้าน 'ภราดร ปริศนานันทกุล' ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย และคณะ ก็ขอใช้ในฐานะ ส.ส. ขอใช้เอกสิทธิ์ร่วมกับ ส.ส.กว่า 20 คน จากหลายพรรคการเมือง เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ภูมิใจไทย ประชาธิปัต​ย์ เสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิ​การวิสามัญฯ ตรวจสอบเช่นกัน

'ภราดร' ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้แถลงต่อสภาว่า รัฐบาลตั้งใจใช้งบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ​ โปร่งใส และชัดเจน ซึ่งมองช่องทางกลไกของรัฐสภา เป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการตรวจสอบ รวมถึงเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ที่จะตรวจสอบร่วมกับรัฐบาล เพื่อให้การใช้งบประมาณ​เป็นไปตามวัตถุประสงค์​ เรื่องดังกล่าวเป็นเอกสิทธิ์​ของ ส.ส.ที่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นเจตนา​ที่ดีในการช่วยเหลือรัฐบาล

ทว่า 'วิรัช รัตนเศรษฐ' ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ยัง "แทงกั๊ก" อ้างว่าห้องประชุมไม่พอ "เราต้องให้การบ้านรัฐบาลกลับไปทำด้วยว่าหากมีการตั้งกมธ.วิสามัญจะต้องมีการเตรียมการอย่างไร หรือถ้าไม่ตั้งอาจจะส่งไปให้กมธ.สามัญของสภาผู้แทนราษฎรแทนได้หรือไม่"

"ซึ่งต้องยอมรับว่าวันนี้เราเพิ่งย้ายตึกมาใช้ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ก็เห็นความไม่พร้อมในหลายอย่าง และในสัปดาห์หน้าก็จะมีการประชุมแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งห้องต่างๆ ก็ยังไม่พร้อม อีกทั้งเจ้าหน้าที่ก็ยังเข้ามาดูแลในส่วนนี้ได้ไม่เต็มที่"

ประชุมสภา พลังประชารัฐประชุมสภา ประยุทธ์ ชวน สุริยัน

สอดคล้องกับอีกหนึ่ง 'คีย์แมน" ในพลังประชารัฐ 'สุชาติ ชมกลิ่น' ส.ส.ชลบุรี ในฐานะประธาน ส.ส.พลังประชารัฐ บอกว่า ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับการตั้งกมธ.วิสามัญฯ ดังกล่าว เพราะมีหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือพิจารณาและกลั่นกรองอยู่แล้ว อาทิ สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ร่วมทั้งในระดับพื้นที่จะต้องเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กลั่นกรอง ก่อนเสนอให้ครม.เป็นผู้อนุมัติโครงการตามที่เสนอมาเท่านั้น โดยนักการเมืองไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง

"ขณะที่สภาฯ ก็มี กมธ.สามัญฯ จำนวน 35 คณะ ซึ่งสามารถทำหน้าที่และสามารถตรวจสอบพรก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ทั้ง 3 ฉบับ พวกเราที่เป็น ส.ส ทุกคน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ในฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องมั่นใจในระบบราชการที่เข้ามาดูแลงบประมาณตัวนี้ จึงไม่จำเป็นต้องตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ให้ขึ้นมาทำงานซ้ำซ้อน เสียเวลาการทำงานกับทุกฝ่าย และรวมทั้งเสียงบประมาณของแผ่นดิน เกี่ยวกับเบี้ยประชุมอีกด้วย"

เมื่อแกนหลักรัฐบาลยังเล่นเกมซื้อเวลา ขณะที่ 'พล.อ.ประยุทธ์' ลอยตัวเหนือแรงกดดัน ตั้ง กมธ.ตรวจสอบ

ดังนั้น ประชาธิปัตย์ แตะมือกับ ภูมิใจไทย ผนึกฝ่ายค้าน 212 เสียง นำโดยเพื่อไทย และ ก้าวไกล รวม 8 พรรค จึงต้องออกแรง หากจะมีซีน – ผลงานในเงินกู้โควิด 1.9 ล้านล้าน

โดยมี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ ที่มี 'ไชยา พรหมา' ส.ส.หนองบัวลำพู เพื่อไทย เป็นประธาน ซึ่งมีสัดส่วน กมธ. กว่าครึ่งเป็น ส.ส.ของฝ่ายค้าน ถูกสั่งให้เก็บข้อมูลเงียบๆ รอวัน "เปิดศึกซักฟอก" ข้างหน้า

ช่าวที่เกี่ยวข้อง