ไม่พบผลการค้นหา
วันอังคารที่ผ่านมา (19 ก.ค.) วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เดินทางเยือนกรุงเตหะรานอย่างเป็นทางการ เพื่อพบกับผู้นำของตุรกีและอิหร่าน นับเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศเป็นครั้งที่สองของปูติน นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา

วาระสำคัญในการพบปะครั้งนี้คือ การยกเลิกการห้ามส่งออกธัญพืชจากยูเครนผ่านเส้นทางทะเลดำ ซึ่งปูตินได้กล่าวว่า การหารือเริ่มมีความคืบหน้าแล้ว

อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาหารือในครั้งนี้คือเรื่องสงครามซีเรีย โดยที่ผ่านมา ตุรกีและรัสเซียคอยให้การสนับสนุนฝั่งตรงข้ามกันกับอิหร่านในสงครามครั้งนี้มาโดยตลอด ซึ่งการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ปูตินจะแสดงให้เห็นว่ารัสเซียยังคงมีพันธมิตรเหลืออยู่บนเวทีระหว่างประเทศ หลังจากรัสเซียถูกนานาชาติคว่ำบาตรอย่างหนักจากการรุกรานยูเครน

หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น อะยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านและรัสเซียควรกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และกล่าวหาว่าสงครามในยูเครนเป็นความผิดของชาติตะวันตก “แม้คุณไม่ริเริ่มสงคราม อีกฝ่ายจะก่อสงครามด้วยตัวเองอยู่ดี” คาเมเนอีบอกกับปูติน

สหรัฐฯ ระบุว่า การเยือนอิหร่านของผู้นำรัสเซีย แสดงให้เห็นว่ารัสเซียโดดเดี่ยวเพียงใดหลังจากบุกยูเครน โดยการบุกรุกยูเครนที่เป็นรัฐอธิปไตย ส่งผลให้รัสเซียสูญเสียพวกพ้องไปมากมายหลังจากบุกยูเครน ทำให้รัสเซียในตอนนี้เปรียบเสมือน “คนที่ไม่มีเพื่อนคบ” 

อย่างไรก็ตาม รัสเซียพยายามแสดงให้เห็นว่า การแทรกแซงจากนานาชาตินั้นล้มเหลว และไม่อาจต่อกรกับรัสเซียที่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ โดยตุรกีและอิหร่านแสดงออกถึงการให้ความสนับสนุนจากความพยายามดังกล่าวของรัสเซีย

รัสเซียจะใช้การประชุมสุดยอดของผู้นำทั้งสามประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับซีเรียเพื่อแสดงให้เห็นว่ารัสเซียยังคงรักษาพันธมิตรที่มีอำนาจและอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ได้อย่างดี

อย่างไรก็ดี ทั้งสามประเทศอาจไม่ได้เป็นมิตรแท้ต่อกัน เนื่องจากทั้งตุรกีและอิหร่านต่างเป็นคู่แข่งของรัสเซียในด้านต่างๆ ตุรกีและรัสเซียเป็นฝ่ายตรงข้ามกันในซีเรียและลิเบีย และกำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในบริเวณพื้นที่คอเคซัสตอนใต้ โดรนพิฆาตของตุรกีได้ให้การสนับสนุนกองทัพยูเครน ส่วนอิหร่านกำลังแข่งขันกับรัสเซียในตลาดพลังงานโลกเช่นเดียวกัน จริงอยู่ที่ รัสเซีย ตุรกี และอิหร่านมีผลประโยชน์ร่วมกันบ้าง แต่ไม่ได้เป็นการรับประกันมิตรภาพที่ถาวร

การประชุมในเตหะรานครั้งนี้ ยังถือได้ว่าเป็นการประชุมแบบเจอหน้ากันครั้งแรก นับตั้งแต่รัสเซียทำสงครามกับตุรกีซึ่งเป็นผู้นำองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ภายใต้การนำของ เรเจป ทายยิป เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกี และแม้ตุรกีจะเป็นสมาชิกคนสำคัญของ NATO แต่ตุรกีกลับปฏิเสธที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย โดยรัฐบาลของเออร์โดกันพยายามที่จะรับบทคนกลางเสียมากกว่า

ล่าสุด ตุรกีกำลังพยายามเจรจายุติการห้ามส่งออกธัญพืชในทะเลดำ ซึ่งทำให้การขนส่งธัญพืชที่เป็นที่ต้องการหลายล้านตันไม่สามารถส่งออกจากยูเครนไปสู่ทั่วโลกได้ 

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 ก.ค.) ปูตินได้กล่าวว่า การเจรจาเรื่องการยุติการห้ามส่งออกธัญพืชกำลังมีความคืบหน้า อีกทั้งยังขอบคุณเออร์โดกันที่เป็นตัวกลางคอยช่วยไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซียและยูเครน

ภายหลังจากการหารือ ปูตินบอกกับสื่อว่า รัสเซียจะช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกธัญพืชของยูเครนหาก "ข้อบังคับทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งธัญพืชทางอากาศของรัสเซีย" ถูกยกเลิก

นอกจากนี้ ผู้นำของทั้งสามประเทศยังได้หารือเกี่ยวกับสงครามซีเรียที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน โดยรัสเซียและอิหร่านสนับสนุนรัฐบาลของ บาชาร์ อัล-อัสซาด แต่ตุรกีสนับสนุนกองกำลังกบฏ

ตุรกีขู่ว่าจะทำการโจมตีกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดที่สหรัฐฯ หนุนหลังอีกครั้ง ในทางตอนเหนือของซีเรียซึ่งทั้งอิหร่านและรัสเซียคัดค้านการโจมตีดังกล่าว การโจมตีของตุรกีเป็นไปตามแผนของเออร์โดกันที่จะสร้างเขตปลอดภัยระยะ 30 กิโลเมตรตามแนวชายฝั่งของตุรกีและซีเรีย โดยเออร์โดกันกล่าวว่า ตนคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและอิหร่านในการ “ต่อสู้กับการก่อการร้าย"

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้บรรลุข้อตกลงที่จะอนุมัติการช่วยเหลือข้ามพรมแดนแก่ซีเรีย ที่ถูกกบฏยึดครองเป็นเวลา 6 เดือน หลังจากที่รัสเซียได้ปิดกั้นข้อเสนอในการขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี

ที่มา:

https://www.bbc.com/news/world-europe-62218696