ไม่พบผลการค้นหา
อุณหภูมิในไซบีเรียสูงกว่าระดับปกติ 10 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบทำให้เกิดไฟป่าถึง 188 จุด และยังเร่งการละลายของน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก

เมื่อ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รายงานสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิในเขตไซบีเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียว่ามีอุณหภูมิระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 5 องศาเซลเซียส ซ้ำร้ายอุณหภูมิเฉพาะเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 10 องศาเซลเซียส โดยเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.เมืองเวียร์โคยันสค์ (Verkhoyansk) มีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส

รายงานชี้ว่า แม้อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกตินี้จะมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาที่เรียกว่า ‘Blocking Patterns’ หรือปรากฏการณ์ที่มีความกดอากาศสูงหรือความกดอากาศต่ำก่อตัวล้อมพื้นที่หนึ่งจนขัดขวางไม่ให้กระแส อากาศอื่นๆ ผ่านเข้าไป และก่อให้เกิดการกักความร้อนเอาไว้ในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม คลื่นความร้อนผิดปกติขนาดนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากฝีมือของมนุษย์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์คลื่นความร้อนตอนนี้ ทำให้เกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในพื้นที่ และความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นปัจจัยทำให้น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนละลายด้วย 

เพ็ทเทอรี ตาลาส เลขาธิการทั่วไป WMO กล่าวว่า ระดับความร้อนในพื้นที่บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าระดับอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยถึงสองเท่า ส่งผลกระทบต่อประชากรท้องถิ่น ระบบนิเวศน์ และผลกระทบในระดับโลก สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่แค่ในอาร์ตติกเท่านั้น แต่ยังเกิดผลกระทบจาก ‘เทเลคอนเนกชัน’ (Teleconnection) หรือปรากฏการณ์ที่สภาพภูมิอากาศในสถานที่หนึ่งส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศในอีกสถานที่หนึ่ง อาทิ กรณีปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา จะสร้างปัญหาให้กับผู้คนอีกนับล้านคน 


"สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่แค่ในอาร์ตติกเท่านั้น" ตาลาส กล่าว
ไซบีเรีย - รัสเซีย - คลื่นความร้อน - รอยเตอร์ส

ตามข้อมูลจากสำนักงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัสเซีย (Roshydromet) เมื่ออ้างอิงภาพถ่ายจากดาวเทียม ปัจจุบันพื้นที่ในเขตไซบีเรีย ณ วันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา มีไฟป่ามากถึง 188 จุด สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์จับตาสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรปที่ประเมินว่า นับตั้งแต่ ม.ค.ที่ผ่านมา ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากไฟป่าสูงที่สุดในรอบ 18 ปี 

ตามปกตินั้น ควันจากไฟป่าจะประกอบไปด้วยสารประกอบทางเคมีหลายชนิดที่เป็นพิษ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์, สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย และละอองคอลลอยด์ต่างๆ 

ขณะเดียวกันระดับน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกที่ละลายเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าศเรือนกระจกชนิดหนึ่ง จะสะสมอยู่ในน้ำแข็งและจะถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากขึ้น ซึ่งในงานวิจัยฉบับล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม Nature Climate Change ชี้ว่า ผลกระทบดังกล่าวอาจทำให้หมีขั้วโลกสูญพันธ์ุภายในปี 2643

หมีขั้วโลก.jpg


อ้างอิง; CNBC, NYT, BBC

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;