ไม่พบผลการค้นหา
วิจัยมหิดลชี้ คนไทยร้อยละ 69 ขี้เกียจทำอาหาร ฟากพนักงานขนส่งอาหารมีรายได้สูงถึง 40,000 - 50,000 บาท/เดือน

Lazy Economy หรือ เศรษฐกิจขี้เกียจ เป็นหนึ่งในรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในโลกยุคนี้ ซึ่งธุรกิจบริการซื้ออาหารให้ หรือ Food Delivery ก็จัดอยู่ในเศรษฐกิจขี้เกียจเช่นเดียวกัน

งานวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่า เมื่อสำรวจความขี้เกียจของคนไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,200 คน ใน 4 กลุ่มอายุ พบว่า 10 อันดับกิจกรรมที่คนไทยขี้เกียจมากที่สุด มีการออกกำลังกายนำมาในอันดับหนึ่ง ด้วยอัตราร้อยละ 84 ตามมาด้วยการรอคิวซื้อสินค้า ร้อยละ 81 ขณะที่การทำความสะอาดบ้าน อยู่ที่ร้อยละ 77 ส่วนอันดับที่สี่ได้แก่การอ่านหนังสือ ในอัตราร้อยละ 70.5 และมีการทำอาหารอยู่ในอันดับที่ห้า ด้วยอัตราร้อยละ 69

สำหรับ อันดับที่ 6 - 10 ได้แก่ การพูดคุยกับคนเยอะๆ การดูแลผิวพรรณตัวเอง การเรียนหรือทำงาน การออกไปชอปปิง และการเดินทางไปไหนมาไหน ตามลำดับ

ความขี้เกียจในการทำอาหารประกอบกับความขี้เกียจออกไปไหนมาไหน รวมถึงการรอคิว ส่งให้อุตสาหกรรมธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี ในไทยเติบโตถึง 35,000 ล้านบาท / ปี ตามข้อมูลของงานวิจัย 

การเติบโตเหล่านี้สะท้อนออกมาในรายได้ของผู้ทำงานบริการเช่นเดียวกัน 'สน มูลพดุง' พนักงานขับรถส่งอาหารบนแอปพลิเคชันหนึ่ง กล่าวว่า ก่อนหน้าจะมาขับรถส่งอาหาร ตนเคยรับราชการมาก่อน แต่มีรายได้ไม่ดีเท่าในปัจจุบัน ที่สามารถหารายได้เฉลี่ย 40,000 - 50,000 บาท / เดือน

cover ขอเสียงหน่อย lazy economy

ขณะที่ 'อภิรักษ์ ชลเกษม' พนักงานขับรถส่งอาหารจากอีกบริษัทหนึ่ง สะท้อนว่า แม้ตัวเองซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจะต้องมาทำงานบนสภาพอากาศที่ไม่ค่อยดีบนท้องถนนประกอบกับภาวะฝุ่น PM 2.5 แต่งานในปัจจุบันก็ทำให้ตนมีเงินเก็บเยอะกว่างานในอดีต นอกจากนี้ ก็ยังมีอินเซนทีฟหรือโบนัสต่างๆ ที่บริษัทเสนอให้เมื่อทำงานได้ตามเป้าหมาย

ด้านฝั่งผู้ใช้บริการ ก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อคำนวณค่าขนส่งรวมถึงค่าอาหารแล้ว การใช้บริหารซื้ออาหารถือว่าคุ้มกว่าการออกไปซื้ออาหารกินเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสั่งอาหารกันหลายคน

พิทยา เอื้อวงศ์อารีย์ ผู้ใช้บริการ กล่าวว่า สิ่งที่บริการฟู้ดเดลิเวอรีตอบโจทย์ความต้องการของตนที่สุด คือการไม่ต้องเสียเวลาออกจากบ้าน ทำให้มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่น

สำหรับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีของโลก ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตของธุรกิจส่งอาหารในระดับโลก มีมูลค่าสูงถึง 122,739 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท และเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :