เจ้าหน้าที่ในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงคาบูลของอังกานิสถาน ได้รับคำสั่งให้ทำลายเอกสารสำคัญระดับชั้นความลับพร้อมอุปกรณ์สำคัญของสถานทูต เป็นการด่วน ก่อนจะดำเนินการอพยพเจ้าหน้าที่สถานทูตออกจากประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์ที่กลุ่มตาลีบันกำลังรุกคืบเข้าใกล้เมืองหลวงของอัฟกานิสถานมากขึ้น โดยขณะนี้กลุ่มตาลีบัน สามารถเข้ายึดเมืองใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของประเทศอย่างเมืองกันดาฮาร์ และเฮรัต ได้สำเร็จแล้ว ส่งผลให้มีความวิตกว่าตาลีบันอาจรุกคืบยึดครองกรุงคาบูล ซึ่งเป็นเมืองหลวง ในอีกไม่กี่วัน ส่งผลให้ล่าสุดยืดเมืองเอกไว้ได้ราว 10 แห่ง แล้ว ประชาชนหลายพันคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตัวเองเข้ามาที่กรุงคาบูลอันเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายเพื่อความปลอดภัย หลายครอบครัวต้องพำนักอยู่ตามถนนหนทางของเมือง
ตามรายงานของบีบีซีระบุว่า นับตั้งแต่ที่กองกำลังสหรัฐฯ และพันธมิตรถอนทหารพ้นอัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันได้ฟื้นคืนชีพบุกยึดเมืองต่าง ๆ ให้กลับเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของตนได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีพลเรือนผลัดถิ่นลี้ภัยสงครามแล้วกว่า 2 แสนราย จำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ด้วยถึง 72,000 คน
การที่ตาลีบันสามารถปักธงยึดเมืองใหญ่อันดับสองและสามของประเทศได้สำเร็จ ถือเป็นความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้เมืองกันดาฮาร์ถือเป็นแหล่งต้นกำเนิดของกลุ่มตาลีบัน เมื่อปี 2537 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเรียกตนเองว่ากลุ่มอิสลามมิเรต และเมืองกันดาฮาร์ยังคงเป็นสถานที่ตั้งของฐานทัพขนาดใหญ่อันดับสองของสหรัฐ ตลอด 20 ปีที่อยู่ในอัฟกานิสถาน ขณะที่เมืองเฮรัต เคยเป็นเมืองฐานที่มั่นของ โมฮัมหมัด อิสมาอิล ข่าน ขุนศึกและนักการเมืองคนสำคัญที่เป็นศัตรูคู่แค้นของตาลีบันมายาวนาน โดยจากการเข้ายึดเมืองเฮรัต กลุ่มตาลีบันกล่าวว่า โมฮัมหมัด อิสมาอิล ข่าน พร้อมพวก ยอมจำนนายใต้ข้อตกลงที่รับประกันว่าพวกเขาจะได้รับการนิรโทษกรรม
รายงานระบุว่าคำสั่ง "ทำลายฉุกเฉิน" ครอบคลุมถึงเอกสารที่มีเนื้อหาเปราะบางหรือมีความสำคัญด้านความมั่นคง รวมถึงอุปกรณ์ของสถานทูงต รวมถึงวัตถุใดก้ตามที่าจกลายเป็นสื่อประชาสัมพันธ์การโฆษณาชวนเชื่อต่อกลุ่มตาลีบัน ซึ่งรวมถีงธงชาติสหรัฐ โดยคงเหลือไว้เพียงผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญเท่านั้น
สหรัฐเตรียมส่งทหารจำนวน 3,000 นายเพื่อช่วยเหลือในการอพยพพนักงานออกจากสถานทูตประจำอัฟกานิสถาน ขณะที่สหราชอาณาจักรเตรียมจัดส่งทหารราว 600 นายเพื่ออพยพประชาชนออกจากประเทศ เช่นเดียวกับ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี แคนาดา และนอร์เวย์ ที่เตรียมอพยพเจ้าหน้าที่สถานทูตรวมถึงพลเมืองของตนออกจากพื้นที่เช่นกัน
ความคืบหน้าดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การรุกคืบของกลุ่มตาลีบัน ที่กลับมาเริ่มมีอำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน หลังจากที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรถอดทหารชุดสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถาน
เบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ กล่าวเตือนว่า อัลกออิดะห์จะกลับมาครองอำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง หลังจากที่กลุ่มนักรบชาวตาลีบันสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้สำเร็จ
วอลเลซ ยังแสดงความกังวลอย่างมากว่า อัฟกานิสถานจะกลับมาเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายอีกครั้ง
ทั้งนี้ กลุ่มตาลีบันได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ยึนยันว่ายังคงไม่ปิดประตูการเจรตาตามกระบวนการทางการเมืองและการทูตต่อรัฐบาลกรุงคาบูล แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ตอบโต้ว่าแม้ตาลีบันจะออกแถลงการณ์ดังกล่าว แต่พวกเขาไม่มีวันจะยอมเจรจาโดยดี ตราบใดที่คณะรัฐมนตรีและประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ยังไม่ยอมลาออกเนื่องจากตาลีบันมองว่ารัฐบาลอัฟกันชุดนี้คือหุ่นเชิดของวอชิงตัน