การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและทำแท้งแบบผิดกฎหมายในประเทศไทย เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีวัยรุ่นไทย ซึ่งส่วนใหญ่เรียนรู้เรื่องเพศด้วยตนเองและกลุ่มเพื่อน สื่อต่างๆที่เข้าถึงได้ง่ายในสื่อสังคมปัจจุบัน
ทั้งนี้มีงานวิจัยจำนวนมากรายงานตรงกันว่า วัยรุ่นหลายคู่อยู่ด้วยกันและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนโดยผู้ปกครองไม่ทราบ และมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์น้อย ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ถึงปรารถนา และนำไปสู่การทำแท้งแบบผิดกฎหมายในที่สุด
ข้อมูลสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562 ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์เพื่อคลอดบุตร ข้อมูล พ.ศ.2552-2562 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการคลอดในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 10-14 ปี รวม 23,615 ราย มีจำนวนมากที่สุดในปี 2555 จำนวน 3,710 ราย คิดเป็นเฉลี่ย 10 รายต่อวัน น้อยที่สุด พ.ศ.2562 จำนวน 2,180 ราย คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5 รายต่อวัน
ปี 2552 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,928 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 2,339,177 ราย หรืออัตรา 1.3 ราย : 1,000 ราย
ปี 2553 หญิงคลอด10-14 ปี 3,074 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 2,272,507 ราย หรืออัตรา 1.4 ราย : 1,000 ราย
ปี 2554 หญิงคลอด 10-14 ปี 3,417 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 2,196,350 ราย หรืออัตรา 1.6 ราย : 1,000 ราย
ปี 2555 หญิงคลอด 10-14 ปี 3,710 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 2,096,028 ราย หรืออัตรา 1.8 ราย : 1,000 ราย (มากที่สุด)
ปี 2556 หญิงคลอด 10-14 ปี 3,415 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 2,024,332 ราย หรืออัตรา 1.7 ราย : 1,000 ราย
ปี 2557 หญิงคลอด 10-14 ปี 3,213 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,991,041 ราย หรืออัตรา 1.6 ราย : 1,000 ราย
ปี 2558 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,746 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,963,728 ราย หรืออัตรา 1.5 ราย : 1,000 ราย
ปี 2559 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,746 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,941,436 ราย หรืออัตรา 1.4 ราย : 1,000 ราย
ปี 2560 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,559 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,942,522 ราย หรืออัตรา 1.3 ราย : 1,000 ราย
ปี 2561 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,385 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,943,238 ราย หรืออัตรา 1.2 ราย : 1,000 ราย
ปี 2562 หญิงคลอด 10-14 ปี 2,180 ราย จากหญิงอายุ 10-14 ปีทั้งหมด 1,933,318 ราย หรืออัตรา 1.1 ราย : 1,000 ราย
ยิ่งดูจำนวนหญิงวัยรุ่นไทยคลอดบุตรที่มีอายุระหว่าง 10-17 ปี ระหว่างปี 2552-2562 พบว่ามีจำนวน 543,304 ราย โดยจำนวนสูงสุดใน ปี พ.ศ.2555 มีจำนวน 63,247 ราย คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 173 รายต่อวัน และต่ำสุดในปี 2562 จำนวน 29,829 ราย คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 81 รายต่อวัน
ก่อนตั้งครรภ์แม่วัยรุ่นยังเป็นนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาถึงร้อยละ 48.5 หลังจากตั้งครรภ์ แม่วัยรุ่นหยุดเรียนหรือลาออกร้อยละ 43.7 และหลังจากคลอดบุตรส่วนใหญ่อยู่บ้านเพื่อเลี้ยงดูบุตรร้อยละ 50 กลับมาเรียนในสถานศึกษาเดิมเพียงร้อยละ 23
แม่วัยรุ่นที่เป็นนักเรียน นักศึกษาไม่ตั้งใจตั้งครรภ์และไม่มีการคุมกำเนิดถึงร้อยละ 55.2 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ และไม่รู้จักวิธีคุมกำเนิด และที่น่าห่วงใย เป็นการตั้งครรภ์ซ้ำถึงร้อยละ 11.6 โดยตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ยเพียงแค่ 16 ปีเท่านั้น
ปี 2552 หญิงคลอด 10-17 ปี 55,657 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 765,047 ราย (7.3%)
ปี 2553 หญิงคลอด 10-17 ปี 56,143 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 761,689 ราย (7.4%)
ปี 2554 หญิงคลอด 10-17 ปี 62,665 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 782,198 ราย (8%)
ปี 2555 หญิงคลอด 10-17 ปี 63,247 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 780,975 ราย (8.1%) (มากที่สุด)
ปี 2556 หญิงคลอด 10-17 ปี 59,723 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 748,081 ราย (8.%)
ปี 2557 หญิงคลอด 10-17 ปี 54,338 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 711,805 ราย (7.6%)
ปี 2558 หญิงคลอด 10-17 ปี 47,440 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 679,502 ราย (7%)
ปี 2559 หญิงคลอด 10-17 ปี 41,889 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 666,207 ราย (6.3%)
ปี 2560 หญิงคลอด 10-17 ปี 38,534 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 656,571 ราย (5.9%)
ปี 2561 หญิงคลอด 10-17 ปี 33,839 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 628,450 ราย (5.4%)
ปี 2562 หญิงคลอด 10-17 ปี 29,829 ราย จากหญิงคลอดทั้งหมด 596,736 ราย (5%)
อย่างไรก็ตาม การทำแท้งแบบผิดกฎหมายไม่มีการเก็บสถิติที่แน่นอน เนื่องจากทั้งผู้หญิงที่ไปทำแท้งในสถานที่ทำแท้ง (เถื่อน) เป็นการร่วมกันกระทำผิดกฎหมาย แต่มีงานวิจัยหลายแห่งระบุว่าจำนวนหญิงที่ทำแท้งในแต่ละปีมีค่าเฉลี่ย 300,000 รายต่อปี และหญิงได้รับอันตรายจากการทำแท้งมีค่าเฉลี่ย 300 รายต่อการทำแท้ง 100,000 ราย
(อ้างอิง : ปชาบดี ด้วงดี.(2556) การทำแท้งโดยชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษาเปรียบเทียบประกอบการทำแงในประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขานิติศาสตร์ สืบค้น 16 ธ.ค. 2563 จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/156156.pdf)
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและการทำแท้งแบบผิดกฎหมายในประเทศไทยจึงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน
จนนำไปสู่การผลักดันเข้าสู่รัฐสภา เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ที่บัญญัติว่าหญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 ว่ามาตรา 301แห่งประมวลกฎหมายอาญาขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย" โดยให้ส่วนที่ขัดหรือแย้งดังกล่าวมีผลเมื่อพ้นกำหนด 365 วันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
กระทั่ง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 ได้มีมติเห็นชอบในวาระที่หนึ่งรับหลักการของ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ด้วยคะแนน 284 ต่อ 5 เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา จำนวน 39 คน กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน
โดยทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในฉบับ ครม. เปิดทางให้ทำแท้งได้โดยอายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ ขณะที่ร่างของพรรคก้าวไกลกำหนดเวลาอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง