ศึกชิงเก้าอี้ นายกฯ และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครั้งแรกในรอบ 6 ปี เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะเปิดคูหาให้ย่อนบัตรในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม
ผลการเลือกตั้ง อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ถูกคาดหมายว่าจะชี้ทิศทางอนาคตการเมืองไทยและวัดความนิยมรัฐบาลได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากหลายพื้นที่เป็นการสู้กันระหว่าง 'แชมป์เก่า-คนบ้านใหญ่' กับ 'หน้าใหม่-ผู้หวังเปลี่ยนแปลง'
ต่อไปนี้คือสิ่งที่ประชาชน “ควรรู้” ก่อนเดินทางเข้าคูหาเลือกคนที่ใช่
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี “ขนาดใหญ่ที่สุด” มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ
อบจ. มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด คอยบริการสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาล และ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
พูดง่ายๆ บริหารงานทุกอย่างในจังหวัด ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเทศบาล และ อบต. เป็นไปในลักษณะของการแบ่งหน้าที่และสนับสนุนกัน
โครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ประกอบด้วย
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่าย นิติบัญญัติ)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร)
จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ส.อบจ. ถูกกำหนดตามจำนวนประชากร แต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้
นายก อบจ./ส.อบจ. มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ทั้งนี้ในการเลือกตั้งนายก อบจ. ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนสมาชิก อบจ. ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง
รายได้หลักของ อบจ. มาจากการเก็บภาษีต่างๆ ในจังหวัด เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย เป็นต้น รวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลในทุกปีงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่างๆ
พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 90,978.4 ล้านบาท ในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร จะได้รับการอุดหนุนงบประมาณ 23,786.9 ล้านบาท เมืองพัทยา ได้รับอุดหนุน 1,899.3 ล้านบาท
พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ 76 อบจ. รวม 28,797.8 ล้านบาท ประกอบด้วย
อบจ.ชัยนาท 202.1 ล้านบาท อบจ.พระนครศรีอยุธยา 287.9 ล้านบาท อบจ.ลพบุรี 232.4 ล้านบาท อบจ.สระบุรี 211.3 ล้านบาท
อบจ.สิงห์บุรี 118.7 ล้านบาท อบจ.อ่างทอง 153.5 ล้านบาท อบจ.นครปฐม 215.3 ล้านบาท อบจ.นนทบุรี 673 ล้านบาท อบจ.ปทุมธานี 275.5 ล้านบาท
อบจ.สมุทรปราการ 170.3 ล้านบาท อบจ.กาญจนบุรี 380 ล้านบาท
อบจ.ราชบุรี 254 ล้านบาท อบจ.สุพรรณบุรี 293 ล้านบาท
อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ 214.9 ล้านบาท อบจ.เพชรบุรี 202.4 ล้านบาท อบจ.สมุทรสงคราม 120.5 ล้านบาท อบจ.สมุทรสาคร 183.5 ล้านบาท
อบจ.ชุมพร 301.1 ล้านบาท อบจ.นครศรีธรรมราช 530 ล้านบาท อบจ.พัทลุง 338.9 ล้านบาท อบจ.สงขลา 352.1 ล้านบาท อบจ.สุราษฎร์ธานี 447.4 ล้านบาท อบจ.กระบี่ 213 ล้านบาท
อบจ.ตรัง 236.1 ล้านบาท อบจ.พังงา 166.2 ล้านบาท อบจ.ภูเก็ต 231.6 ล้านบาท อบจ.ระนอง 1.3 ล้านบาท
อบจ.สตูล 183.6 ล้านบาท อบจ.นราธิวาส 195.8 ล้านบาท อบจ.ปัตตานี 242.8 ล้านบาท อบจ.ยะลา 187.6 ล้านบาท
อบจ.ฉะเชิงเทรา 264.5 ล้านบาท อบจ.ชลบุรี 615.8 ล้านบาท อบจ.ระยอง 324.7 ล้านบาท อบจ.จันทบุรี 210 ล้านบาท อบจ.ตราด 137.8 ล้านบาท อบจ.นครนายก 143 ล้านบาท อบจ.ปราจีนบุรี 277.9 ล้านบาท อบจ.สระแก้ว 449.6 ล้านบาท
อบจ.บึงกาฬ 211.9 ล้านบาท อบจ.เลย 350.8 ล้านบาท อบจ.หนองคาย 238.5 ล้านบาท อบจ.หนองบัวลำภู 233.5 ล้านบาท อบจ.อุดรธานี 625 ล้านบาท อบจ.นครพนม 288.3 ล้านบาท
อบจ.มุกดาหาร 184.4 ล้านบาท อบจ.สกลนคร 578.5 ล้านบาท อบจ.กาฬสินธุ์ 724.4 ล้านบาท อบจ.ขอนแก่น 1,044.5 ล้านบาท อบจ.มหาสารคาม 782.1 ล้านบาท อบจ.ร้อยเอ็ด 672.9 ล้านบาท อบจ.ชัยภูมิ 995.5 ล้านบาท
อบจ.นครราชสีมา 2,303.3 ล้านบาท อบจ.บุรีรัมย์ 548.3 ล้านบาท อบจ.สุรินทร์ 454.8 ล้านบาท อบจ.ยโสธร 277.6 ล้านบาท
อบจ.ศรีสะเกษ 1,342.1 ล้านบาท อบจ.อำนาจเจริญ 189.7 ล้านบาท อบจ.อุบลราชธานี 1,016.6 ล้านบาท
อบจ.เชียงใหม่ 695.7 ล้านบาท อบจ.แม่ฮ่องสอน 197.4 ล้านบาท อบจ.ลำปาง 357.7 ล้านบาท อบจ.ลำพูน 259.8 ล้านบาท อบจ.เชียงราย 492.4 ล้านบาท อบจ.น่าน 267.7 ล้านบาท อบจ.พะเยา 229.9 ล้านบาท อบจ.แพร่ 315 ล้านบาท อบจ.ตาก 282.5 ล้านบาท
อบจ.พิษณุโลก 375.1 ล้านบาท อบจ.เพชรบูรณ์ 300 ล้านบาท อบจ.สุโขทัย 264 ล้านบาท อบจ.อุตรดิตถ์ 263.1 ล้านบาท อบจ.กำแพงเพชร 271.4 ล้านบาท อบจ.นครสวรรค์ 363 ล้านบาท อบจ.พิจิตร 274.9 ล้านบาท และ อบจ.อุทัยธานี 176.1 ล้านบาท
นครราชสีมา 2,303.3 ล้านบาท
ศรีสะเกษ 1,342.1 ล้านบาท
ขอนแก่น 1,044.5 ล้านบาท
อุบล 1,016.6 ล้านบาท
ชัยภูมิ 995.5 ล้านบาท
ผู้จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปี ขั้นตอนที่ทุกคนควรรู้คือ
หากไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ ต้องแจ้งเหตุจำเป็นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 7 วัน (ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง) ถ้าไปด้วยตัวเองไม่ได้ ให้มอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ไม่เช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ ดังต่อไปนี้
1. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
รอบนี้มีคนลงสมัครชิงนายกฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด รวม 335 คน แบ่งเป็น
จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายกและสมาชิกฯ มากที่สุด คือ บุรีรัมย์ จำนวน 352 คน ประกอบด้วย นายก อบจ. จำนวน 8 คน และสมาชิก อบจ.จำนวน 344 คน
จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เพชรบุรี จำนวน 34 คน ประกอบด้วย นายกฯ จำนวน 1 คน และสมาชิก จำนวน 33 คน
จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.สูงสุด คือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน
จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. จำนวน 1 คน ได้แก่ กระบี่ เพชรบุรี และอุทัยธานี
จังหวัดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.อบจ. เท่ากับจำนวน ส.อบจ. ที่พึงมี คือ 1 คน จำนวน 32 จังหวัด รวม 167 เขตเลือกตั้ง
ประเด็นที่น่าจับตาหลังการเลือกตั้ง คือ แชมป์เก่าบ้านใหญ่จะโดนโค่นกี่จังหวัด , พรรคเพื่อไทย จะได้เก้าอี้กี่ตัว , คณะก้าวหน้าที่ประกาศเล่นการเมืองท้องถิ่นแบบใหม่ จะสามารถเขย่า “บ้านใหญ่และตระกูลการเมือง” ได้สักกี่คน และเครือข่ายลูกทีมพลังประชารัฐ จะกวาดได้กี่ที่นั่ง
อ่านข่าวอื่นๆ :