ไม่พบผลการค้นหา
เราทุกคนล้วนต่างต้องถ่ายอุจจาระ แต่เรื่องที่เราหลายคนอาจไม่เคยได้ยินก็คือ เราไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน!

รองศาสตราจารย์ โฟลาซาด เมย์ แพทย์ระบบทางเดินอาหาร จากคณะแพทยศาสตร์เดวิด เกฟเฟน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ระบุว่า ความเชื่อที่ว่าเราต้องถ่ายอุจจาระทุกวันเป็นเรื่องที่เราเข้าใจกันผิดไป

“ดิฉันมักเจอผู้คนหลายต่อหลายคนที่พยายามนัดตรวจกับดิฉัน เพราะเขาเล่าว่า ‘โอ้ ฉันไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน มาเป็นเวลาหลายปี’” เมย์ระบุ “และดิฉันเลยเตือนคนเหล่านั้นไปว่า มันไม่มีจำนวนการถ่ายอุจจาระที่ตายตัวที่จะบ่งบอกว่าคุณมีระบบสุขภาพขับถ่ายที่ดี”

ทั้งนี้ ไมเคิล คามิลเลรี ที่ปรึกษาและอาจารย์แผนกระบบทางเดินอาหารและตับที่เมโยคลินิก ในมลรัฐมินนิโซตา ระบุว่า ความเชื่อที่ว่าการขับถ่ายทุกวันส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดี น่าจะเกิดขึ้นในยุคสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียยังทรงครองราชย์

แต่จริงๆ แล้ว มันไม่จำเป็นที่เราจะต้องอุจจาระทุกวัน “คนส่วนใหญ่มักจะมีการถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์” เมย์กล่าวเสริม “หากมีการขับถ่ายในช่วงเวลาดังกล่าว ถือว่ามีระบบขับถ่ายที่ปกติ”

ทริชา ภาริชา แพทย์ระบบทางเดินอาหารที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์เจเนอรัล และอาจารย์แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่า ถ้าใช้การขับถ่ายเป็นตัววัดสุขภาพ ความถี่ในการขับถ่ายไม้ใช่ปัจจัยสำคัญเพียงอย่างเดียวที่จะวัดว่าเรามีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ดี มันยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เราสามารถขับถ่ายได้บ่อยขึ้น เช่น การเลือกกินอาหาร การดื่มน้ำ ความเครียด อายุ การใช้ยา สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ดร. 

ลักษณะอุจจาระของคุณยังดีอยู่หรือเปล่า ?

อย่างไรก็ดี การรู้ว่ารูปร่างและลักษณะของอุจจาระของเราเป็นอย่างไรนั้นเป็นประโยชน์ นอกจากการสังเกตจะความถี่ในการถ่ายอุจจาระของคุณ “รูปร่าง รูปทรง หน้าตา หรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย เป็นเกณฑ์ในการวัดที่ดีกว่าจำนวนหรือความถี่ในการขับถ่าย” คามิลเลรีระบุ

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ใช้ตารางการจำแนกของบริสตอล เพื่อตรวจคุณภาพของอุจจาระ ซึ่งตารางแบ่งลักษณะของอุจจาระเป็น 7 กลุ่ม ทั้งนี้ ลักษณะของอุจจาระที่สุขภาพดีที่สุด อยู่ในกลุ่มที่ 3 และ 4 โดยมันจะเป็นอุจจาระที่มีรูปร่างคล้ายไส้กรอกรอบแตกอยู่บนผิวอุจจาระ หรือรูปร่างคล้ายงูและมีเนื้ออ่อนนิ่ม

ในขณะที่ภาริชาระบุย้ำว่า หากคุณอุจจาระ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และอุจจาระแข็ง หรือมีลักษณะเหมือนก้อนกรวดอย่างสม่ำเสมอ อุจจาระดังกล่าวบ่งบอกว่าสุขภาพคุณก็ไม่ได้เป็นไร หากคุณไม่รู้สึกว่าสุขภาพของคุณเปลี่ยนแปลงไป 

อย่างไรก็ดี หากคุณต้องเบ่งอุจจาระมากเกินไป หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด หรือยังมีอะไรตกค้างอยู่ในลำไส้ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนมาเป็นไม่การขับถ่ายให้บ่อยขึ้น ก็พยายามให้อุจจาระของคุณมีคุณภาพขึ้น

ทั้งนี้ ภาริชาระบุว่าการวางเท้าบนเก้าอี้ว่างเท้าสำหรับนั่งขับถ่าย หรือวางเท้าบนกองหนังสือในการช่วยยกเข่าของคุณให้อยู่เหนือเอว จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและประคองลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้การถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น 

“ร่างกายคนเราไม่ได้วิวัฒนาการระบบขับถ่ายให้คุ้นชินกับการนั่งแบบวางเอวอยู่ที่ 90 องศาบนเก้าอี้ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนทำอยู่ เราเคยชินกับการนั่งย่องขับถ่าย” ภาริชาระบุ “การนั่งแบบตั้งมุม 90 องศาจะไปปิดทางผ่านของอุจจาระ”

แล้วเราจะมีอุจจาระที่สุขภาพดีได้อย่างไร 

เช่นเดียวกับการที่เราจะต้องมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี เราจำเป็นต้องเลือกอาหารและเครื่องดื่มอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ลำไส้ของเราแข็งแรง

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การกินใยอาหารจากผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่ว อย่างเพียงพอ สามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูก ในขณะที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ระบุว่า เราควรจะกินใยอาหาร อย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ มีการศึกษาค้นพบว่ากีวีและลูกพรุน มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบรรเทาอาการท้องผูก อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หากกินใยอาหารมากเกินไป มันสามารถทำให้เราเกิดอาการท้องอืดหรืออุจจาระเหลวได้

เมย์ระบุว่า การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ส่งผลให้อุจจาระนิ่มขึ้น และช่วยให้สามารถขับถ่ายได้อย่างคล่องขึ้นโดยไม่ต้องเบ่งมากเกินไป 

ทั้งนี้ คามิลเลรีระบุว่า ยังมีงานศึกษาที่พบว่า กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของลำไส้ใหญ่ โดยคามิลเลรีกล่าวเสริมอีกว่า คาเฟอีนช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่

เมย์ยังกล่าวเสริมอีกว่า การกินอาหารไขมันสูง หรือในอีกทางหนึ่งคืออาหารกินอาหารไขมันต่ำ สามารถทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง 

อะไรอีกที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของเรา?

“การขยับตัวถือเป็นเรื่องสำคัญ ชาวสหรัฐฯ จำนวนมากคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตประจำวันแบบอยู่กับที่” เมย์ระบุ อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายจะช่วยนวดระบบการย่อยอาหาร และทำให้สำไส้มีการเคลื่อนตัว อีกทั้งช่วยกระตุ้นการอุจจาระได้

ทั้งนี้ เมย์ระบุว่า ความเร็วหรือความช้าในการเคลื่อนตัวของอาหารในระบบย่อยอาหาร ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย และระบบย่อยอาหารของเรามีแนวโน้มที่จะย่อยช้าลงเมื่อเราแก่ตัวขึ้น

เมย์ระบุว่า โรคประจำตัว เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ยังส่งผลกระทบต่อความสม่ำเสมอในการขับถ่าย เฉกเช่นเดียวกับการใช้ยารักษาโรค เช่น โอปิออยด์ และยาต้านซึมเศร้า นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระยาก 

ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายได้เช่นเดียวกัน เมื่อเรารับประทานอาหาร ท้องของเราก็จะยืดออก ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากสมองลงไปถึงไขสันหลัง โดยระบบประสาทจะสั่งให้เกิดการหดตัวของลำไส้ใหญ่ที่จะส่งผลให้เกิดการขับถ่าย แต่ถ้าหากเราเครียด เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาท มันจะส่งผลให้เกิดการขัดขวางไม่ให้อุจจาระเคลื่อนตัวไปที่ลำไส้ใหญ่ตอนปลาย ทำให้เกิดอาการท้องผูก โดยในบางคนยังเกิดอาการที่รุนแรงกว่านั้น อาทิ ท้องเสียเวลาเครียด

ความสม่ำเสมอของการขับถ่าย อาจได้รับอิทธิพลจากการอยากขับถ่ายที่จะไปกระตุ้นให้ขับถ่าย เนื่องจากรู้สึกไม่สะดวกในการเข้าห้องน้ำ หรือความเป็นส่วนตัวในการเข้าห้องน้ำสาธารณะ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า บางคนอาจรู้สึกอายที่จะต้องขับถ่ายในที่ที่มีคน ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือในโรงเรียน

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เวลาขับถ่ายที่ดีที่สุด คือเวลาที่คุณรู้สึกอยากจะขับถ่าย

ทั้งนี้ คามิลเลรีระบุว่า หากคุณต้องนั่งในห้องน้ำนานกว่า 5-10 นาที คุณควรปรึกษาปัญหากับแพทย์ของคุณ นอกจากนี้ อาการท้องอืด แน่นท้องหรือปวดท้อง ยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ความถี่ในการขับถ่ายนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ

คามิลเลรีกล่าวเสริมว่า แต่ถ้าคุณเข้าห้องน้ำนานเกินไปเพราะคุณใช้โทรศัพท์ อย่าให้พฤติกรรมเหล่านั้นมาขัดขวางการขับถ่ายของคุณ และหากการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตไม่ได้ผล แพทย์สามารถสั่งจ่ายยา อาหารเสริม หรือยาระบายที่สามารถช่วยให้คุณขับถ่ายเป็นปกติได้


ที่มา:

https://edition.cnn.com/2023/07/12/health/how-often-should-you-poop-constipation-tips-wellness?fbclid=IwAR3XkLVWavd5PZJTe-CicaR-GcC1mXqm3ehqSqxjzvfMZnB7YanSOwd1GhQ