ไม่พบผลการค้นหา
งานวิจัยใหม่ในการปลูกถ่ายฝังอุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยให้ชายที่เป็นอัมพาตเดินได้ตามธรรมชาติอีกครั้ง หลังจากเขาได้รับบาดเจ็บมานานกว่าทศวรรษ

นพ.เกรกัวร์ คอร์ทีน และกลุ่มนักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology ในเมืองโลซานน์ ได้พัฒนาและฝัง "ส่วนต่อประสานระหว่างสมองกับกระดูกสันหลัง" ซึ่งสร้างการเชื่อมโยงทางระบบประสาทโดยตรงระหว่างสมองและไขสันหลัง โดยอุปกรณ์ที่ปลูกถ่ายในสมอง จะวัดความคิดในการเคลื่อนไหว ซึ่งจะถ่ายโอนสัญญาณแบบไร้สายไปยังหน่วยประมวลผล ที่ผู้ป่วยสวมใส่ภายนอก อาทิ กระเป๋าเป้ โดยความคิดจะถูกแปลงเป็นคำสั่งที่หน่วยประมวลผล และส่งกลับผ่านตัวอุปกรณ์ฝังที่สองเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ

ทั้งนี้ ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันพุธ (24 พ.ค.) สรุปผลลัพธ์ที่ประสบกับความสำเร็จสำหรับผู้เข้าร่วมการศึกษารายหนึ่งจากเนเธอร์แลนด์

เกิร์ต-ยาน ออสคัม วัย 40 ปี กลายเป็นผู้ป่วยอัมพาต หลังจากเกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศจีนเมื่อเวลาร่วมทศวรรษที่แล้ว ส่งผลให้ขาของเขาพิการ เช่นเดียวกับแขนและลำตัว “ความปรารถนาของผมคือการกลับมาเดินได้อีกครั้ง และผมก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้” ออสคัมกล่าวในการแถลงข่าวกับผู้สื่อข่าว “ก่อนหน้านี้ ผมพยายามมาหลายอย่าง และตอนนี้ผมต้องเรียนรู้วิธีการเดินให้เป็นปกติอีกครั้งอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะนี่คือวิธีการทำงานของระบบมัน”

ออสคัมกล่าวว่าเขาสามารถเดินได้อย่างน้อย 100 เมตร โดยขึ้นอยู่กับวัน และยืนโดยไม่ใช้มือพยุงเป็นเวลา 2-3 นาที นอกจากนี้ เขายังบอกอีกว่าการฝังอุปกรณ์ทางการแพทย์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ เขาอยากจะวาดรูป แต่ไม่มีใครช่วยเหลือ เขาเลยยืนทำมันด้วยตัวเอง

ในงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า คลื่นไฟฟ้าเล็งเป้าหมายสามารถกระตุ้นบริเวณขาที่จำเป็นต่อการเดินได้ แต่เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้การเคลื่อนไหวราบรื่นขึ้น และปรับตัวเข้ากับภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวจะเชื่อมต่อส่วนที่สองของระบบประสาทส่วนกลางที่หยุดชะงัก เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

ออสคัมได้รับการปลูกถ่ายฝังอุปกรณ์กระตุ้นก่อนหน้านี้ แต่เขาต้องทำการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นการตอบสนองของร่างกาย “ตอนนี้ผมสามารถทำสิ่งที่ต้องการได้ และเมื่อผมตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง การตอบสนองก็จะวิ่งเข้ามา”

คอร์ทีนกล่าวว่าการตอบสนองจะทำงานแตกต่างกันออกไป โดยออสคัมมจะสามารถ "การควบคุมพารามิเตอร์ในการตอบสนองอย่างเต็มที่ ซึ่งหมายความว่าเขาหยุดได้ เขาเดินได้ เขาสามารถขึ้นบันไดได้" ทั้งนี้ หลังจากการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ ช่องทางการสื่อสารของระบบประสาทถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยออสคัมเริ่มก้าวขาได้เพียงวันเดียวหลังจากได้รับการกายภาพบำบัดฝึกฝนการเดิน

นอกจากนี้ การเชื่อมต่อจะสามารถทำงานได้อย่างดีเป็นเวลานับปี โดยการเดินได้อย่างเป็นอิสระของออสคัมจะได้รับความช่วยเหลือจาก "สะพานดิจิทัล" ที่จะช่วยให้เขามีพละกำลังมากพอ ที่จะก้าวขาต่อไปได้แม้ว่าระบบจะถูกปิดอยู่ก็ตาม

ทั้งนี้ ออสคัมเป็นผู้เข้าร่วมการทดลองรายแรก แต่นักวิจัยมีความหวังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคต โดยงานวิจัยนี้ช่วยเปิดประตูของความเป็นไปได้ ในการสร้างการเชื่อมโยงทางระบบประสาทระหว่างสมองและไขสันหลังขึ้นใหม่ และการเชื่อมต่อจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การขยายขอบเขตของการเชื่อมต่อนั้นสามารถช่วยผู้ที่เป็นอัมพาตแขนและมือ หรือผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่ต้องมีการลดขนาดอุปกรณ์ลง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพกพามันได้มากขึ้น

“แนวคิดของสะพานดิจิทัลระหว่างสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดยุคใหม่ในการรักษาการขาดดุลของมอเตอร์ เนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท” นักวิจัยระบุ


ที่มา:

https://edition.cnn.com/2023/05/24/health/walk-after-paralysis-with-implant-scn?fbclid=IwAR1bD531tYkM-Pm-JFHr5RM9DMXlmWVQofPIDi-ufgz5zOg5-FMPaOWIZuA