จากรายงานของสำนักข่าวซินหัวเผยว่า CFF ชี้ว่าแบรนด์แป้งเด็กต่างๆ ที่ถูกแบนการนำเข้ามายังกัมพูชาชั่วคราวมีด้วยกันหลายยี่ห้อ เช่น Johnson’s Baby Powder, Johnson’s Blossoms Baby Powder, D-nee Kids Baby Powder, D-nee Newborn Baby Powder, Kodomo Baby Powder, Bhaesaj Cool Powder, และ Babi Mild Natural ‘N Mild ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย รวมถึง Pureen Baby Powder และ Laffair Be Love ซึ่งผลิตขึ้นในประเทศมาเลเซีย
“แร่ใยหินต้องไม่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้” CCF ระบุ ก่อนกล่าวเสริมว่าแป้งเด็กแป้งทาตัวทั้งหมดต้องปราศจากใยหิน
นอกจากนี้ CCF ยังสั่งให้ DKSH ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายเรียกคืนผลิตภัณฑ์แป้งเด็กทั้งหมดออกจากท้องตลาด และหน่วยงานได้ให้เวลาสองสัปดาห์แก่บริษัท ในการนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเหล่านั้น ไปตรวจวินิจฉัยที่ห้องปฏิบัติการของบุคคลที่สามที่มีมาตรฐานได้รับการยอมรับในระดับสากล
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษากัมพูชาระบุว่า แร่ใยหินเป็นแร่ธรรมชาติที่มีการใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ซึ่งถูกจำกัดการใช้งานอย่าง ไปจนถึงขั้นการสั่งห้ามการใช้งานเด็ดขาดมาเป็นเวลานานจากหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากคุณสมบัติในการก่อมะเร็งและเชื่อมโยงกับมะเร็งปอดชนิดเมโซเทลิโอมา ซึ่งอาจเกิดจากการสูดหายใจเอาเส้นใยหรืออนุภาคเล็กๆ ของแร่ใยหินเข้าไปในปอด
ในกัมพูชา แร่ใยหินได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้ในซีเมนต์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซีเมนต์เพดาน ปูนปลาสเตอร์ ผ้าเบรก ผ้าคลัช ฉนวนสำหรับระบบทำความร้อนและความเย็น ฉนวนกันเสียง เครื่องจักร ท่อยาง และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นวัตถุที่อยู่ในรูปแบบของแข็งที่ไม่มีอนุภาคหรือถูกห่อหุ้มหรืออยู่ภายใต้สารเคลือบ แตกต่างจากแร่ใยหินที่ถูกบดเป็นผง และนำมาใช้กับผิวหนังมนุษย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดม
ที่มา: