นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยผลการประชุม กกต. เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติส่งมาให้ตั้งวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา โดย กกต. มีมติเห็นแย้งกฎหมาย ส.ส. ใน 5 ประเด็น ได้แก่
ส่วนความเห็นแย้งกฎหมาย ส.ว. มี 1 ประเด็นคือ การจำกัดในศาลรัฐธรรมนูญให้ใบดำกับผู้สมัคร เช่นเดียวกับกฎหมาย ส.ส. แต่กรณีการแบ่งประเภทผู้สมัครคัดเลือก ส.ว. การแบ่งกลุ่มเข้ารับการคัดเลือก และวิธีการเลือกไขว้ทาง กกต. ไม่คัดค้านเพราะเห็นว่ากระบวนการและวิธีการยังไม่สามารถมีใครตอบได้ว่าวิธีใดเหมาะสมกว่ากัน
โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำความเห็นแย้งไปยัง สนช. ในวันที่ 9 ก.พ.นี้ ส่วนการขยายเวลาการบังคับใช้ กฎหมายลูก ส.ส. ออกไปอีก 90 วัน นายสมชัย ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับโรดแมปการเลือกตั้ง ซึ่ง กกต. สามารถใช้เวลาจัดการเลือกตั้งได้ 105 วัน หลังกฎหมายประกาศใช้ ส่วนอีก 45 วัน เป็นกระบวนการพิจารณาออกใบเหลืองใบแดง
เช่นเดียวกับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แสดงความกังวลเกี่ยวกับกฎหมายลุก 2 ฉบับสุดท้ายในหลายประเด็น เช่น การตัดการรณรงค์ห้ามโหวตโน ออกไปจากร่างเดิมนั้น เท่ากับไปมัดมือมัดเท้าของประชาชน เพราะถือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยกเว้นไปใส่ร้ายกัน ขณะที่การขยายเวลาการลงเลือกตั้งจากเวลา 8 นาฬิกา เป็น 7 นาฬิกาตามร่างพรบ. ส.ส. ว่า จะสร้างความลำบากให้กับคนทำงาน เพราะแต่เดิมเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งต้องมาเตรียมการตั้งแต่ตี 4 ซึ่งยามวิกาลเช่นนี้อาจเป็นอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ได้ ส่วนเรื่องการจัดมหรสพนั้น เป็นเรื่องที่ห้ามมาตั้งนานแล้ว เพราะจะทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก และจะมีปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ควบคุมค่าใช้จ่ายยาก
ประเด็นเหล่านี้ต้องพิจารณาว่าตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่ใช่เรื่องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่ง กรธ. จะตั้งอนุกรรมการฯ ศึกษากฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับอีกครั้ง
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเลือกตั้ง ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่จังหวัดจันทบุรี ว่า เรื่องนี้ขอให้เป็นตามกระบวนการของกฏหมาย เมื่อกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ก็จะถือว่าเป็นวันเลือกตั้ง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ เมื่อทุกอย่างมีความพร้อม ทุกฝ่ายพร้อมกฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับมีความพร้อมก็จะมีการเลือกตั้ง
โดยกฎหมายลูก กกต. และพรรคการเมืองได้ประกาศใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนกฎหมายลูก ส.ส. และ ส.ว. อยู่ในขั้นตอนรับฟังความเห็นจาก กกต. และ กรธ. ซึ่งหากองค์กรใดเห็นแย้งกับร่างกฎหมายที่เพิื่งผ่านวาระ 3 ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะต้องตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายเพื่อแก้ไขกฎหมายภายใน 15 วัน