ไม่พบผลการค้นหา
พ้นวันสุดท้ายของการสังกัดสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วันจนถึงวันเลือกตั้ง (24 ก.พ.2562 อย่างเร็วที่สุด) พรรคการเมืองที่ถูกโฟกัสมากที่สุด คือ พรรคการเมืองน้องใหม่ 'พรรคพลังประชารัฐ' ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2561

ด้วยระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือน พรรคพลังประชารัฐ สามารถกวาดต้อนอดีต ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 หรือ ส.ส.เกรดเอ เข้าสังกัดแล้วเกือบ 50 คน เรียกว่าคึกคักข่มพรรคการเมืองเก่าอย่างไม่ไว้หน้า

ในระยะ 1 เดือนของพรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การนำของ 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. โดย นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เป็นเลขาธิการพรรค นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองหัวหน้าพรรค และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นโฆษกพรรค สามารถดูดอดีต ส.ส.จากพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามอย่าง 'พรรคเพื่อไทย' เข้าสังกัดไปได้ถึง 27 คน

ขณะเดียวกันยังโชว์พลังดูดพรรคการเมืองเก่าแก่อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ 9 ส.ส. พรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขั้วตรงกลางก็ถูกไปถึง 8 ส.ส. พรรคพลังชล 6 ส.ส. ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา ถูกดูดไป 1 คน

และยังไม่นับรวมอดีต ส.ส.รุ่นเก่าทั้งแถวสอง แถวสาม ที่เคยสอบตก และอดีตรัฐมนตรีที่ พรรคพลังประชารัฐ ได้เทียบเชิญและดึงเข้าสังกัดอีกทั่วทั้งประเทศ


สุวิษย์ เมษินทรีย์_พลังประชารัฐ

ก่อนถึงวันสุดท้ายของวันที่ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง 

ยังเกิดปรากฎการณ์ที่ อดีต ส.ส.ในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ต้องถูกเพื่อน ส.ส.ด้วยกันเองหลอกว่ายังอยู่ด้วยกัน

พอข้ามไปได้เพียง 1 วันเมื่อถึงวัน 26 พ.ย. 2561 กลับไปสวมเสื้อสีขาว ลายธงชาติไทย ขั้วการเมืองฝั่งตรงข้ามพรรคการเมืองใหญ่อย่างหน้าตาเฉย

"การดูด ส.ส.ไปมันผิดปกติมาก​ เพราะล่าสุดยังพยายามดึง​ อดีต​ส.ส.อีสานคนหนึ่งด้วยการเสนอเงินก้อนใหญ่ แต่เขาปฏิเสธก็ยังตื้อไม่เลิ​ก เรียกว่าจะเอาให้ได้เอาให้ได้ดังใจเลย" อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย สมคิด เชื้อคง ถึงขั้นระบายความในใจออกมาผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

สิ้นสุดวันที่บรรดาว่าที่ผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนถึงวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง

พรรคการเมืองใหญ่ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย อย่าง 'ภูมิธรรม เวชยชัย' เลขาธิการพรรค ยืนยันว่า สถานการณ์แค่นี้ ไม่ระคาย หรือไม่อาจทำลายเราได้แม้แต่น้อย เรายังมีบุคลากรที่มีคุณภาพทางการเมือง และมีบุคลากรที่เป็นที่ไว้วางใจของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ต่างๆ อีกจำนวนมาก และเราก็ยังจะเป็นพรรคการเมืองที่จะได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนอย่างสูงสุด

ขณะที่ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มั่นใจว่าในพื้นที่ที่มีคนออกไป พรรคจะมีคนที่มีคุณภาพมาแทนที่และสามารถทำงานให้ประชาชนได้เป็นอย่างดี จึงถือเป็นเรื่องดีที่ตอนนี้การโยกย้ายสิ้นสุดลงแล้ว และเชื่อว่าคนที่ไปคิดตัวเลขสมการแบบเดิม ก็จะไม่เป็นอย่างที่คิดว่ามีอดีต ส.ส.มาก ทั้งนี้ การเลือกตั้งทุกครั้งมีคนใหม่เข้ามาร้อยละ 20-30 เพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงเกิดได้ตลอด

พลังประชารัฐ สามมิตร สมศักดิ์ สุริยะ

พรรคพลังประชารัฐ ปฏิเสธไม่ได้ว่าดีลสำคัญในหลายพื้นที่ล้วนมาจากนักการเมืองมากประสบการณ์ ที่เดินเกมทางการเมือง โดย'สมศักดิ์ เทพสุทิน' และ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' แกนนำสามมิตร

ทำให้พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงพื้นที่อีสานและภาคกลางหลายจังหวัดที่ 'พรรคเพื่อไทย' เคยยึดครอง ต้องตกเป็นของ 'พรรคพลังประชารัฐ'

โฟกัสไปถึงปฏิกิริยาจากรัฐบาลออกมาขานรับกับอภินิหารพลังดูดเข้าค่ายพลังประชารัฐ

โดยเฉพาะ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก็ชี้ว่า หากพรรคพลังประชารัฐได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากและจัดตั้งรัฐบาลได้ ส่วนตัวก็อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อจะได้สานงานต่อ


พลังประชารัฐ  สุริยะ สมศักดิ์ อุตตม สามมิตร

เมื่อตัวแทนรัฐบาลการันตีเช่นนี้ บวกกับยอดตัวเลขอดีต ส.ส.ที่เคยได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ที่ถูกต้อนเข้าค่ายพลังประชารัฐสำเร็จ ร่วมเกือบ 51 ส.ส.

ยอด 51 ส.ส. แม้ไม่ใช่เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรที่จำนวนเต็ม 500 ที่นั่ง

แต่ยอด 51 ส.ส.นี้ก็ทรงพลังไม่น้อย เพราะมีผลและมีตัวแปรที่สำคัญในทางคณิตศาสตร์การเมืองไทย เพราะต้องไม่ลืมว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ออกแบบมาให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อน้อยลง เพิ่มโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น

ฉะนั้น ยอดพลังดูดเข้าคอก 'พลังประชารัฐ' แม้จะมียอดตั้งต้น 51 ส.ส.อยู่ในมือ จึงมีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ หากเกิดกรณีทุกพรรคการเมืองที่ได้เสียง ส.ส.ได้จำนวนใกล้เคียงกัน

เมื่อย้อนไปการเลือกตั้งปี 2554 พรรคร่วมรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ให้ยอด 1 เก้าอี้รัฐมนตรีต่อจำนวน ส.ส. 7 คน 

หากนำสมการนี้มาเทียบกับยุคนี้ พรรคพลังประชารัฐที่มีทุนตั้งต้นที่อดีต ส.ส. 51 คน อาจมีรัฐมนตรีในสังกัดตัวเองถึง 7 คนด้วยซ้ำ

ขณะเดียวกันยอดพลังดูด ส.ส.นี้ ใช่ว่าจะได้รับการเลือกตั้งไปทั้งหมดเสียทีเดียว

เพราะอำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือของพี่น้องประชาชนว่าจะให้ พรรคพลังประชารัฐได้ผู้แทนจนแลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดินหรือไม่!

  • เปิดชื่อผู้แทนซบอก พลังประชารัฐ เช็กพลังดูด 51 ส.ส.
  • เพื่อไทย 27 ส.ส.

1.ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข  / เลย / พรรคเพื่อไทย

2.เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข / เลย / พรรคเพื่อไทย

3.วันชัย บุษยา / เลย / พรรคเพื่อไทย

4.สันติ พร้อมพัฒน์ / บัญชีรายชื่อ / พรรคเพื่อไทย

5.วิรัช รัตนเศรษฐ / บัญชีรายชื่อ / พรรคเพื่อไทย

6. ทัศนียา รัตนเศรษฐ / นครราชสีมา / พรรคเพื่อไทย 

7.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ / นครราชสีมา / พรรคเพื่อไทย

8.สุภรณ์ อัตถาวงศ์ (แทน สัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ ) / นครราชสีมา / พรรคเพื่อไทย 

9.สุพล ฟองงาม /อุบลราชธานี / พรรคเพื่อไทย

10.สุทธิชัย จรูญเนตร / อุบลราชธานี / พรรคเพื่อไทย

11.ตรีนุช เทียนทอง /สระแก้ว / พรรคเพื่อไทย

12.ฐานิสร์ เทียนทอง / สระแก้ว / พรรคเพื่อไทย

13.ไผ่ ลิกค์ / กำแพงเพชร / พรรคเพื่อไทย

14.ปริญญา ฤกษ์หร่าย/ กำแพงเพชร / พรรคเพื่อไทย

15.อนันต์ ผลอำนวย / กำแพงเพชร / พรรคเพื่อไทย

16. พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ (อุดมรัตน์ อาภรณ์รัตน์ ) / บัญชีรายชื่อ / พรรคเพื่อไทย

17.อำนวย คลังผา / ลพบุรี / พรรคเพื่อไทย

18.เดชนัฐวิทย์ เตริยาภิรมย์ (แทน บุญทรง เตริยาภิรมย์) / เชียงใหม่ / พรรคเพื่อไทย

19.ฉลอง เรี่ยวแรง / นนทบุรี / พรรคเพื่อไทย

20. พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ / กาญจนบุรี / พรรคเพื่อไทย

21. เวียง วรเชษฐ์ / บัญชีรายชื่อ /พรรคเพื่อไทย

22.ชูกัน กุลวงษา /นครพนม / พรรคเพื่อไทย

23.วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ / เพชรบูรณ์ / พรรคเพื่อไทย

24.จักรัตน์ พั้วช่วย / เพชรบูรณ์/ พรรคเพื่อไทย

25.สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ / เพชรบูรณ์ / พรรคเพื่อไทย

26.เอี่ยม ทองใจสด / เพชรบูรณ์ / พรรคเพื่อไทย

27.ปาริชาติ ชาลีเครือ / ชัยภูมิ / พรรคเพื่อไทย


พรรคพลังประชารัฐ สุริยะ 3A1714.JPG
  • ประชาธิปัตย์ 9 ส.ส.

1.ทศพล เพ็งส้ม / นนทบุรี/ พรรคประชาธิปัตย์

2.สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ / ชลบุรี / พรรคประชาธิปัตย์

3.พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ / ฉะเชิงเทรา/ พรรคประชาธิปัตย์ 

4.บุญเลิศ ไพรินทร์ / ฉะเชิงเท��า / พรรคประชาธิปัตย์

5.วิชัย ล้ำสุทธิ /ระยอง / พรรคประชาธิปัตย์

6.ธวัชชัย อนามพงษ์ / จันทบุรี / พรรคประชาธิปัตย์

7.พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ / กทม. / พรรคประชาธิปัตย์

8.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย / สระบุรี / พรรคประชาธิปัตย์

9. ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ / กทม. / พรรคประชาธิปัตย์

  • พลังชล 6 ส.ส.

1.สันต์ศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ / บัญชีรายชื่อ / พรรคพลังชล

2.พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา / ชลบุรี / พรรคพลังชล

3.ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ / ชลบุรี / พรรคพลังชล

4.สุชาติ ชมกลิ่น / ชลบุรี / พรรคพลังชล

5.รณเทพ อนุวัฒน์ / ชลบุรี /พรรคพลังชล

6.อิทธิพล คุณปลื้ม (แทน สุกุมล คุณปลื้ม )/ ชลบุรี / พรรคพลังชล

  • ภูมิใจไทย 8 ส.ส.

1.บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ / นครราชสีมา / พรรคภูมิใจไทย

2.อนุชา นาคาศัย(แทน พรทิวา นาคาศัย) / ชัยนาท / พรรคภูมิใจไทย

3.มณเฑียร สงฆ์ประชา (แทน นันทนา สงฆ์ประชา) / ชัยนาท / ภูมิใจไทย

4.มานิต นพอมรบดี /ราชบุรี / พรรคภูมิใจไทย

5.บุญยิ่ง นิติกาญจนา / ราชบุรี /พรรคภูมิใจไทย

6.ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร / ราชบุรี / พรรคภูมิใจไทย

7.จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล /สุโขทัย / พรรคภูมิใจไทย 

8.มนู พุกประเสริฐ / สุโขทัย / ภูมิใจไทย

  • ชาติไทยพัฒนา 1 ส.ส.

1.ปารีณา ไกรคุปต์ / ราชบุรี / พรรคชาติไทยพัฒนา

หมายเหตุ - ยอด ส.ส.ยึดจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2554


เพื่อไทย ดูด พลังดูด พลังประชารัฐ กราฟฟิก 157103704047616_n.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง