ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่ายแรงงาน คสรท. ร่วมกับ สรส. เดินขบวนถึงทำเนียบ เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ พร้อมทวงถามความคืบหน้า 10 ข้อเดิม

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. ร่วมกับสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย หรือ สรส. นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท., นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการ รถไฟแห่งประเทศไทย (สรส.ร.ฟ.ท.), และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ผู้นำ สรส. นำเครือข่ายแรงงานจากเอกชน และรัฐวิสาหกิจกว่า 5,000 คน เคลื่อนขบวนเดินเท้าจากอนุเสารีย์ประชาธิปไตย มายังบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อจัดการปราศรัย เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม และทวงถามความคืบหน้า 10 ข้อเรียกร้องจากปี 2560 ซึ่งเคยได้ไปยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ไปแล้ว

ทั้งนี้ ข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ประกอบด้วย

1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน

3.ต้องใช้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ จำนวน 3 ฉบับ เกี่ยวกับเสรีภาพและการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน

4.รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้บริการดีมีคุณภาพ

5.รัฐต้องยกเลิกนโยบายลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว

6.รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคม

7.รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและใช้กฎหมายเคร่งครัดกรณีไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

8.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิแรงงาน

9.รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกเข้าถึงสิทธิ์ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน

10.รัฐต้องจัดสรรงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้บริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

แรงงาน.jpg

ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปยังองค์การสหประชาติ เพื่อปิดกิจกรรมต่อไป นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหุ่นล้อปัญหาแรงงานไทยเช่น หุ่น 4.0 ที่สื่อถึง การคุกคามของนโยบาย 4.0 ที่ขยายตัวเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ รวมถึงป้ายตัวเลข ILO 183 ที่รัฐต้องรับรองอนุสัญญา lLO 87,98,183 รวมถึงแรงงานหญิงใส่ชุดคลุมท้อง แสดงสัญลักษณ์ การคุ้มครองแรงงานสตรี

S__18825283.jpgS__18825290.jpg

17 องค์กรแรงงานเดินขบวน ขอรัฐบาลจัดการเลือกตั้ง ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศในการเดินขบวนนั้น บริเวณพื้นที่ถนนราชดำเนินนอกนั้น มีกลุ่มสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย และแรงงานจาก 17 องค์กร ที่จะเดินทางออกจากราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สนามม้านางเลิ้ง เดินทางสวนกันเพื่อเดินทางไปยังลานคนเมืองกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังมีนายธนาธร จึงรุ่งรืองกิจ แกนนำพรรคอนาคตใหม่ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว และนายนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือธง "เลือกตั้งปีนี้" ร่วมในขบวนเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง กระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ

แรงงาน.JPG

ทั้งนี้เวลา 14.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน และรับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ.2561

โดยปีนี้ทางแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ต่อนายกรัฐมนตรีด้วยสำหรับข้อเรียกร้องประกอบด้วย

1.ขอให้แก้ไขเพราะระบอคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 โดยกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุที่ 60 ปี

2.ปรับฐานการรับเงินบำนาญให้มีอัตราเริ่มต้นที่ 5,000 บาทต่อเดือน

3.ให้ผู้ประกันตนที่ผลสภาพการเป็นมาตรา 33 และรับบำนาญให้มีสิทธิ์สมัครมาตรา 39 ได้โดยไม่ตัดสิทธิ์การ รับเงินบำนาญ

4.ให้ประกันสังคมใช้ฐานค่าจ้างตามมาตรา 33 เดิมคำนวณเป็นฐานรับบำนาญให้ลูกจ้างที่ผลจากผู้ประกันตนมาตรา 33

5.ให้รัฐบาลกำหนดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เป็นภาคบังคับที่นายจ้างต้องจัดให้มีขึ้น

6.ให้เร่งออกกฏหมายที่สนับสนุนระบบธรรมาภิบาลในรัฐวิสาหกิจและยุติการแปรสภาพ

7. ให้ออกกฏหมายคุ้มครองพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบและมีสิทธิ์จัดตั้งองค์กรได้

8. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98

9. ให้แก้ไขคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 11 / 1 ให้เป็นภาคบังคับและมีโทษอาญา

10.ให้รัฐบาลสั่งกระทรวงแรงงานปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 74 อย่างเคร่งครัดโดยให้นายจ้างลูกจ้างและรัฐบาลร่วมกันดำเนินการตัดสินใจโดยเฉพาะระบบแรงงานสัมพันธ์

แรงงาน GM.jpg

แรงงานGM ทวงถามข้อเรียกร้องต่อสถานทูตสหรัฐฯ

สหภาพแรงงานเจอเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทยเข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูตอเมริกา เพื่อเรียกร้องหลังถูกละเมิดสิทธิแรงงาน เนื่องจากบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดระยอง โดยการปิดงานงดจ่ายค่าจ้างเฉพาะส่วนสมาชิกสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นมา รวมระยะเวลากว่า 5 ปีจนถึงปัจจุบัน ทำให้สมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 100 คน ยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน 

ทั้งนี้สหภาพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาควบคุมและดูแลนักลงทุนจากประเทศของตนให้ยุติการละเมิดสิทธิและเคารพต่อสิทธิแรงงาน รวมทั้งเคารพสิทธิในการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน ในกรณีสหภาพแรงงาน เจอเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย  และติดตามทวงถามความคืบหน้าถึงหนังสือร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงาน พร้อมบทลงโทษ ที่เคยได้ร้องเรียนเมื่อเดือนมีนาคม 2556 จากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

แรงงาน GM.jpg