ไม่พบผลการค้นหา
ร่าง รธน.แก้ไขเพิ่มเติม เปิดทางให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งเป็นร่างที่ กมธ.พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวาระที่ 2 โดยมีเนื้อหาให้หลังจัดทำร่าง รธน.ใหม่เสร็จให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติรับร่าง รธน.ใหม่

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่มีวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว มีทั้งหมด 5 มาตรา โดยจะเข้าวาระที่สอง ของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา วันที่ 24-25 ก.พ.นี้ ได้กำหนดในมาตรา 256 ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

1.ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือจาก ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ หรือ จาก ส.ส.และ ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

2.ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ

การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือใช้เสียงไม่น้อยกว่า 500 คน (ร่างเดิม ใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ ใช้เสียงไม่น้อยกว่า 450 คน)

การพิจารณาในวาระที่สอง พิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยวาระที่สองให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ กรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อได้แสดงความเห็นด้วย เมื่อพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นให้รอไว้ 15 วัน เพื่อพ้นกำหนดนี้ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป

การพิจารณาในวาระที่สามเป็นการออกเสียงลงคะแนนในขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่ให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือใช้เสียงไม่น้อยกว่า 500 คน (ร่างเดิม ใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ ใช้เสียงไม่น้อยกว่า 450 คน)

เมื่อลงมติเห็นชอบในวาระที่สามแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทูลเกล้าฯ ถวายและให้นำความในมาตรา 81 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เสรี วิรัช ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา พลังประชารัฐ  รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฝ่ายค้าน เพื่อไทย  รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 15 การแแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรือ่งที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรือำนาจได้ ก่อนดำเนินการนำร่างฯ ทูลเกล้าฯ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจึงให้ดำเนินการทูลเกล้าฯ

ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อลงพระปรมาภิไธยนั้น ส.ส. หรือ ส.ว. หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือทั้งสองสภารวมกัน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา ว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขัดต่อมาตรา 255 หรือมีลักษณะที่ไปแก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ฯลฯ (มาตรา 255 (8) ) หรือกระบวนการตราขึ้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ประธานแห่งสภาส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯจะนำร่างฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้

iLaw แสนรายชื่อ แก้รัฐธรรมนูญ
  • ส.ส.ร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง ยึดจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคณะกรรมาธิการ ยังกำหนดในหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

โดยกำหนดในมาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 200 คน มาจากการเลือกต้ังของประชาชน  

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 

1.สัญชาติไทยโดยการเกิด

2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

3.มีชื่อในทะเบียนบ้านจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา หรือเคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร. คือเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 98 (1) (2) (4) (5) (6) (8) (9) (10) (11) (12) (13) (15) (16) (17) หรือ (18)  เป็นข้าราชการ เป็น ส.ส. ส.ว.หรือรัฐมนตรี 

ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

มาตรา 256/6 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.แล้ว ให้ กกต.ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลำดับจนครบตามจำนวน ส.ส.ร.ที่พึงมีในแต่ละจังหวัดเป็นผูได้รับเลือกตั้ง

  • ขีดเส้น ส.ส.ร.ต้องยกร่าง รธน.ใหม่ให้เสร็จใน 240 วัน ห้ามแตะหมวด 1-2

มาตรา 256/3 สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก ซึ่งต้องจัดให้มีขึ้นไม่ช้ากว่า 30 วันนับแต่วันที่ ส.ส.ร. มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของจำนวน ส.ส.ร.ทั้งหมด ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาฯ ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

เงื่อนไขการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแจ้งให้ ครม. สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือมีข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างรัฐธรรรมนูญ

การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ นอกจากนี้ กรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะไปแก้ไขหมวด 1 - 2 ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป 

  • ส.ส.ร.จัดทำเสร็จส่งรัฐสภาชง กกต.ออกเสียงประชามติรับร่าง รธน.

มาตรา 256/15 กำหนดว่าเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณาเพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบัให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการลงมติ และเมื่อรัฐสภาอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญส่งให้ กกต.เพื่อจัดให้กการออกเสียงประชามติ

มาตรา 256/16 ในการออกเสียงประชามติ ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยัง กกต.ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รัฐสภาประชุมเพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น 

สำหรับการออกเสียงประชามตินั้น หากผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการโดยให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำมาตรา 81 วรรคสองใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

แต่หากผลการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างร่างรัฐธรรมนูญหรือผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป และแจ้งผลการออกเสียงประชามติให้ประธานรัฐสภาและประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญทราบโดยเร็ว

รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ-4193EFABE20B.jpeg
  • ถ้าร่าง รธน.ถูกคว่ำ ให้ ครม.-สมาชิกรัฐสภา ชงญัตติจัดทำ รธน.ใหม่ได้

มาตรา 256/19 กรณีร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตามหมวดจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตกไป ครม. หรือ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ หรือ ส.ส.และ ส.ว.มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องได้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยผู้ที่เคยเป็น ส.ส.ร.จะเป็น ส.ส.ร.อีกมิได้ 

นอกจากนี้ เมื่อรัฐสภามีมติอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะมีการเสนอญัตติดังกล่าวอีกมิได้ เว้นแต่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง