ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “พรรคก้าวไกล ควรเลือกอะไร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับพรรคก้าวไกล ควรเลือกอะไร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
เมื่อถามประชาชนเกี่ยวกับพรรคก้าวไกลในเรื่องตำแหน่งที่คิดว่าสำคัญระหว่างรองประธานสภาผู้แทนราษฎรกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.40 ระบุว่า สำคัญพอ ๆ กัน รองลงมา ร้อยละ 29.85 ระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สำคัญกว่า ร้อยละ 28.55 ระบุว่า รองประธานสภาผู้แทนราษฎร สำคัญกว่า ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่สำคัญทั้งสองตำแหน่ง และร้อยละ 1.52 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลควรเลือกระหว่างรองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.11 ระบุว่า ควรเลือกตำแหน่ง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รองลงมา ร้อยละ 39.08 ระบุว่า ควรเลือกตำแหน่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และร้อยละ 4.81 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานร่วมกันของพรรคก้าวไกลกับพรรคประชาธิปัตย์ในการเป็นฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.25 ระบุว่า ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.55 ระบุว่า ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ร้อยละ 17.79 ระบุว่า ทั้งสองพรรคจะทำงานร่วมกันได้ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.82 ระบุว่า ทั้งสองพรรคจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้เลย และร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ