เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 12 มกราคม 2562 คณะทำงานด้านการศึกษาพรรคเพื่อไทยเปิดเวทีแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เพื่อกำหนดนโยบายพรรคเพื่อไทย ด้านการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยมี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวเปิดงาน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง การปรับตัวของประเทศไทยเพื่อรองรับเด็กและเยาวชน Gen Z ที่เกิดตั้งแต่ปี 2540 - ปัจจุบัน กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน บุคคลเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงดูจากเทคโนโลยี มีแนวโน้มที่จะเป็นเจ้านายตัวเอง และสร้างเงินจากเทคโนโลยี ดังนั้นอนาคตจะเกิดผู้ประกอบการขนาดเล็กและธุรกิจ start up มากขึ้น ขณะที่แรงงานก็จะลดลง การผูกขาดของธุรกิจที่ใช้ทุนลดลง แต่เป็นการผูกขาดทางธุรกิจมากขึ้น
(เผ่าภูมิ โรจนสกุล)
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของประเทศไทยคือยังด้อยเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐน้อย อีกทั้งยังมี ความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กในเมืองและชนบทที่มีทักษะความคิดต่างกันถึง 3 ปี ซึ่งการแก้ปัญหาคือ
1. รัฐต้องเปลี่ยนจากการควบคุมเป็นการสนับสนุนศักยภาพของบริษัทในการแข่งขันและ ไม่ปิดกั้น โอกาสทางธุรกิจด้วยใบอนุญาต
2.ต้อนรับและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของโลกยุตใหม่อย่างผู้นำ
3.สร้างทางลัด สร้างโอกาส สร้างช่องทางให้กับเด็ก Gen Z
4.ลดการผูกขาดทางธุรกิจ
5.สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อทุ่นแรงและอำนวยความสะดวก
6.ปรับระบบการทำงานจากที่นับเป็นชั่วโมงการทำงาน เป็นการวัดที่ศักยภาพการทำงาน
7.ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ลงทุนกับการศึกษาของเด็กและเยาวชน
ด้านนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึง ทิศทางและนโยบายการศึกษาพรรคเพื่อไทย ว่าจากปัญหาการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพการศึกษา, ไม่พัฒนาทักษะ, ขาดความคล่องตัว, และมีความเหลื่อมล้ำระหว่างในเมืองและชนบท ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงมีแนวคิดว่าจะต้องนำการศึกษาระดับโลกมาสู่มือคนไทยอย่างทั่วถึง เพิ่มเงินลงทุนด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยมีนโยบายหลักๆ ได้แก่ เรียนฟรี 15 ปีจริงๆ โดย มีกองทุนสนับสนุนค่าครองชีพการศึกษา, ให้เยาวชนที่อยู่นอกการศึกษากลับเข้ามาเรียนในระบบ, จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัจฉริยะเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กในช่วงประถมวัย 20,000 แห่งทั่วประเทศ, ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ., โรงเรียนออนไลน์ สอนเนื้อหาที่เด็กสนใจยกเลิกการท่องจำแต่ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์, ลดเวลาเรียน เอาเวลา 1 วันไปเรียนทักษะใหม่ๆ, เด็กไทยต้องได้สามภาษา, หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนสองภาษา, คืนครูให้นักเรียนโดยกำหนดให้ใช้เวลาอย่างน้อยร้อยละ 90 ของครูเพื่อการเรียนการสอน ไม่ทำงานธุรการ, เรียนฟรีสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาในสาขาที่ขาดแคลน, สร้างศูนย์ศึกทักษะฝีมือและกองทุนอาชีวะสตาร์ทอัพ มีเงินทุนส่งเสริมให้เรียนรู้เป็นผู้ประกอบการ, เลิกสาขาที่เรียนแล้วตกงาน, รองรับสังคมผู้สูงอายุจัดให้มีการฝึกทักษะ, ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
(นพดล ปัทมะ)
อย่างไรก็ตาม นายนพดล มองว่า กรณีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนให้นักเรียนสามารถใส่ชุดไปรเวทมาเรียนได้หนึ่งวันต่อสัปดาห์ เป็นโอกาสที่ดีที่ให้เด็กเด็กได้มีสิทธิ์เลือกและปรับตัวในการใช้ชีวิต ขณะเดียวกันจะนำมาสู่การถกเถียงถึงการใส่ชุดนักเรียนนิสิตและนักศึกษาในสังคม แม้ส่วนตัวจะยังมองว่าการใส่ชุดนักเรียนในชนบทมีข้อดีคือลดความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่งและเป็นไปตามกฎระเบียบภาครัฐ แต่เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่สังคมและผู้ปกครองจะต้องนำเรื่องนี้มาถูกเถียงกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับสังคมมากที่สุด พรรคหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจแทนนักเรียนหรือผู้ปกครอง
ส่วนปัญหาการศึกษาที่ให้เด็กเรียนในระบบมา 10 กว่าปีแต่ยังค้นหาตัวตนไม่เจอ นายนพดลมองว่าหากส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการคิด อ่าน ฝึกอาชีพ และดำรงชีวิตเด็กจะสามารถค้นหาตัวตนได้ อย่างไรก็ตามตนยังเห็นว่าการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาของประเทศไทยยังมีปัญหา ควรลดสัดส่วนของงบประมาณประจำหรืองบประมาณการก่อสร้าง มาเพิ่มให้กับงบประมาณของนักเรียน อีกทางต้นยังเชื่อว่าการคำนวนงบประมาณโดยนับจากสัดส่วนต่อหัวของนักเรียนจะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำให้ระบบการศึกษาในกรุงเทพฯและชนบท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :