ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2563 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รับไปดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและความเห็นของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องนั้น
แม้ผลจากการนี้จะทำให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเด็ดขาด และกระบวนการฟื้นฟูกิจการจะเป็นไปตามขั้นตอนและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฏหมายโดยเฉพาะก็ตาม แต่โดยที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งการประกอบกิจการของบริษัทซึ่งยังสามารถดำเนินการต่อไปเกี่ยวพันกับกฏหมายและกฎระเบียบของทางราชการ อันต้องอาศัยการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ และการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และรัฐยังจำเป็นต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ คณะรัฐนตรีจึงควรมีโอกาสรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการเป็นระยะๆ โดยมีระบบกลั่นกรอง และช่วยตรวจสอบในส่วนของภาครัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน นายกรัฐนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้มีคณะกรรการติตตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย
ข้อ 2 ให้คณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
ขณะที่วันนี้ (26 พ.ค. 2563) ผู้บริหาร บมจ.การบินไทย ได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการการบินไทย กับศาลล้มละลายกลาง อาคารศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ แล้วในวันนี้ โดยศาลล้มละลายกลางจะพิจารณาข้อมูลจากเอกสารที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ จากนั้นจะมีคำสั่งว่าจะรับคำร้องหรือไม่ โดยคาดว่าศาลจะมีคำสั่งออกมาในช่วงบ่ายวันนี้
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวนั้นมีตัวแทนจากบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายฯ โดยรายชื่อผู้ทำแผนฟื้นฟูที่การบินไทยเสนอนั้นมี 6 คน ได้แก่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :