งานศึกษาวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์ เวลล์ คอร์เนล เมดิซีน และโรงพยาบาล นิวยอร์ค-เพรสบีเทอเรียน ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ชี้ว่า น้ำตาลฟรุกโตสซึ่งพบในเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงถูกเปลี่ยนให้เป็นอาหารของเนื้อร้ายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้การทดลองครั้งนี้จะเป็นการทดลองกับหนู แต่งานวิจัยชี้ว่าผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันอาจเกิดขึ้นในมนุษย์เช่นเดียวกัน
'เลวิส แคนท์เลย์' หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยและผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งเมเยอร์ของวิทยาลัยการแพทย์ เวลล์ คอร์เนล เมดิซีน กล่าว โดยปกติแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเริ่มจาก ‘โพลิป’ หรือติ่งเนื้อเมือก (Polyp) ซึ่งเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเยื่อเมือกที่เติบโตจนกลายเป็นเนื้อร้ายในเวลาต่อมา ซึ่งงานศึกษาชี้ให้เห็นว่าเนื้อร้ายในระยะแรกจะกินน้ำตาลโดยตรงจากระบบย่อยอาหาร โดยนำโมเลกุลน้ำตาลมาเปลี่ยนเป็นโครงสร้างในการเติบโตของเนื้อร้ายต่อไป
“โพลิปชอบที่จะกินฟรุกโตสและกลูโคส และใช้พวกมันในการเติบโต พวกโพลิปก็เหมือนกับมนุษย์นั่นแหละ” เลวิส กล่าว
นักวิจัยศึกษาหนูทดลองที่ทำการตัดต่อพันธุกรรมให้สามารถพัฒนาเนื้อร้ายลำไส้ใหญ่ได้ด้วยการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้น้ำตาลดัดแปลงที่มีระดับฟรุคโตสสูง (HFCS) ที่มีปริมาณเท่ากับเครื่องดื่มอัดลม 1 กระป๋องทุกๆ วันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยนักวิจัยกำหนดปริมาณการให้น้ำตาลแค่เพียง 1 โดส/วัน เท่านั้นเพื่อไม่ให้หนูทดลองเกิดการเสพติดน้ำตาลหรือทำให้ค่าอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลต่อความถูกต้องของผลลัพธ์ ขณะที่กลุ่มที่สองไม่ได้ให้น้ำตาลใดๆ
เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์จากหนูทดลองทั้งสองกลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำตาลดัดแปลงที่มีระดับฟรุคโตสสูง มีเนื้อร้ายที่มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำตาล
แม้ว่าการศึกษาชิ้นนี้จะทดลองกับหนูแต่นักวิจัยเชื่อว่าผลลัพธ์ในแบบเดียวกันสามารถเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้เช่นเดียวกันเนื่องจากระบบและกลไกในร่างกายของทั้งสองสายพันธุ์มีความเหมือนกัน โดยกล่าวว่าการค้นพบของพวกเขาเป็นตัวบ่งชี้ว่าประชาชนที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดิ่มที่มีน้ำตาลสูง แม้การวิจัยครั้งนี้จะไม่รวมไปถึงน้ำตายทรายหรือซูโครรส แต่นักวิจัยเชื่อว่าผลลัพธ์จะเป็นไปในทิสทางเดียวกัน
งานวิจัยชิ้นนี้ยังสามารถช่วยกำหนดทิศทางการรักษาโรคมะเร็งลำไว้ใหญ่ในอนาคตได้เช่น การตัต่อพันธุกรรมยีนส์ที่เปลี่ยนน้ำตาลดัดแปลงที่มีระดับฟรุคโตสสูง (HFCS) ให้กลายเป้นพลังงานทิ้งไป หรือการเปลี่ยนในคนไข้รับประทาอาหารแบบน้ำตาลต่พ อาทิ การควบคุมอาหารด้วยการทานไขมัน (คีโตเจนิค)
อ้างอิง; CNBC