ในงานฉลองครบรอบ 40 ปีของการประสบความสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ เซอร์ เทอเรนซ์ อิงลิซวัย 87 ปีกล่าวกับซันเดย์ เทเลกราฟ 'ในช่วงปลายปีนี้หากการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากหมูสู่มนุษย์ที่เรียกว่ากระบวนการ 'xenotransplantation' ซึ่งเป็นกระบวนการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อระหว่างสายพันธุ์ให้ผลการผ่าเป็นที่น่าพึงพอใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจหมูให้กับมนุษย์อาจจะประสบผลสำเร็จได้ภายใน 2- 3 ปีข้างหน้านี้เช่นกัน เนื่องจากใช้กระบวนการปลูกถ่ายประเภทเดียวกัน'
ทั้งนี้หัวใจของหมูมีลักษณะทางกายวิภาคและสรีระที่เหมือนกับหัวใจของมนุษย์ ซึ่งที่ผ่านมาทีมนักวิจัยด้านการแพทย์ต่างนำหัวใจของมาเป็นต้นแบบเพื่อพัฒนาการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจวายและความดันหลอดเลือดหัวใจ หลังจากเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทีมนักวิจัยค้นพบสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจวายจากการทดลองในหัวใจของหมู
ปัจจุบันในสหราชอาณาจักรมีผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณ 90,000 คน และอีกกว่าล้านคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1967 ในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ แต่ผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายหัวใจเป็นคนแรกเสียชีวิตด้วยโรคปอดในอีก 18 วันต่อมา ขณะที่ในปีถัดมามีการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ซึ่งผู้ป่วยคนดังกล่าวสามารถมีชีวิตต่อมาได้อีก 45 วัน
ที่มา the guardian / BBC