ไม่พบผลการค้นหา
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยัน ไม่ได้พยายามจะถ่วงเวลาหรือประวิงเวลาแต่อย่างใด ชี้ ะยะเวลา 30 วัน ยังไม่ควรยุบสภา เผื่อเวลาให้พรรคเล็กจัดทำไพรมารีโหวต และจัดตั้งสาขาพรรคจามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

วันที่ 31 ม.ค. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบว่า ระยะเวลา 30 วัน นับจากที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และพรรคการเมืองมีผลบังคับใช้ยังไม่ควรยุบสภา จึงมั่นใจได้ว่าเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะยังไม่มีการยุบสภาเกิดขึ้น เนื่องจากการขอเวลา 1 เดือนเป็นการเผื่อเวลาให้พรรคเล็กจัดทำไพรมารีโหวต และจัดตั้งสาขาพรรคจามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ 

วิษณุ ย้ำว่า กตต. ไม่ได้พยายามจะถ่วงเวลาหรือประวิงเวลาแต่อย่างใด ดังนั้นหาก กกต.สามารถแบ่งเขตได้เร็วก็จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้เร็วขึ้น กกต.จึงขอเวลา 45 วัน เนื่องจากตั้งสมมุติฐานว่ารัฐบาลจะยุบสภาภายใน 15 มีนาคม เพราะช่วงเวลานั้นทุกฝ่ายมีความพร้อมแล้ว เพื่อให้โอกาสพรรคเล็ก

ส่วนเรื่องที่ กกต. เห็นชอบร่างพระราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ และส่งมาให้คณะรัฐมนตรีรับทราบนั้น ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้รับเรื่องมาแล้ว 2 ฉบับ ดังนั้นหากประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องส่งกลับมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เนื่องจากถือเป็นกรอบอำนาจหน้าที่ของกกต. คณะรัฐมนตรีจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆเกี่ยวกับการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ที่กำหนดเกณฑ์และวิธีการแบ่งเขต การทำไพรมารีโหวต การตั้งสาขาพรรค และการรับฟังความคิดเห็น ดังนั้นหากร่าง 4 ฉบับนี้เสร็จสิ้นภายในอาทิตย์นี้ สัปดาห์หน้าก็จะออกประกาศและส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

อย่างไรก็ตาม สำหรับที่มีคนแย้งเรื่องประกาศของจำนวนราษฎรนับรวมคนต่างด้าวมาด้วยนั้น นายวิษณุ ระบุว่า ตนไม่ทราบเกี่ยวกับกรณีนี้ แต่โดยหลักการแล้วต่างด้าวไม่มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง เพราะต้องนับเฉพาะประชาชนชาวไทยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถนำจำนวนคนต่างด้าวมานับรวมเพื่อแบ่งเขต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขตการเลือกตั้งชองกรุงเทพฯในปัจจุบันเหลือเพียง 33 เขต