ไม่พบผลการค้นหา
เปิดรัฐธรรมนูญ กรณีรัฐมนตรีลาออก-พ้นตำแหน่ง โดยมาตรา 171 กำหนด "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ" ด้าน 'วิษณุ' ยก รธน.ยังไม่จำเป็นต้องตั้ง รมต.ใหม่ ชี้ไม่ใช่เรื่องแปลกในการปรับ-เปลี่ยน รมต.

เกิดข้อสงสัยขึ้นกับกรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ แถลงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ทว่าในประกาศราชกิจจานุเบกษา กลับระบุว่า นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลว่า สมควรให้รัฐมนตรีบางคน “พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี” เพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์แก่ราชการ ซึ่งไม่มีการระบุเรื่องการลาออกแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หากย้อนดู ประกาศราชกิจจานุเบกษา กรณี 6 รัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจากตำแหน่ง ประกอบด้วย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี  อุตตม สาวนายน อดีต รมว.คลัง สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีต รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรมว.พลังงาน เทวัญ ลิปตพัลลภ อดีต รมว.สำนักนายกรัฐมนตรี ม.รว.จัตุมงคล โสณกุล อดีต รมว.แรงงาน

4 กุมาร.jpg


โดยครั้งนั้นเป็นประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170(2) ที่บัญญัติว่า ความเป็นรัฐมนตรี จะสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ในกรณีลาออก

เช่นเดียวกับกรณีที่ ปรีดี ดาวฉาย ลาออกจาก รมว.คลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออกตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170(2) เหมือนกรณีประกาศของกลุ่มสมคิด

กรณีล่าสุด ร.อ.ธรรมนัส และ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน พ้นจากตำแหน่งนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการลาออก

โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ แตกต่างจากมาตรา 170(2) ที่ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ในกรณีลาออก

196694.jpg



ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ปฏิเสธที่จะตอบคำถามที่สื่อมวลชนถามถึงการให้ ร.อ.ธรรมนัส พ้นจากรัฐมนตรีว่า จะไปจะมาอย่างไรไม่ขอตอบ

"ผมสั่งของผม ซึ่งการปรับออกไม่ต้องแจ้งใคร เป็นเหตุผลส่วนผม และย้ำอีกว่าเป็นของผม และการทำงานที่ผ่านมาของ 2 รัฐมนตรีช่วย เป็นอย่างไรนั้น ขอให้ประชาชนดูเอาแล้วกัน" นายกรัฐมนตรี กล่าว

ประยุทธ์ ศบค วิษณุ -D42A-4882-99F1-A107F5536F98.jpegประยุทธ์ ประวิตร คณะรัฐมนตรี ตรีนุช อนุทิน วิษณุ 0_07.jpgธรรมนัส ลาออก รมต 0F76E72F-EB9C-47C1-961D-362229049355.jpegธรรมนัส นฤมล ลาออก รัฐมนตรี 421AA4DC-E832-4A2F-AD4E-B9E9FFD528FE.jpeg

'วิษณุ' ยก ม. 171 ยัน “ธรรมนัส-นฤมล”โดนปลดพ้นจากรมต. ชี้มีผล 8 ก.ย.

ด้าน วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ มีพระบรมราชโองการ ให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นการปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากในตัวพระบรมราชโองการได้มีการอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 171 บัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ส่วนวันที่มีผลบังคับจริงคือวันที่ระบุในพระบรมราชโองการ นั่นหมายถึง ตั้งแต่เวลา 01.00 น.ของวันที่ 8 ก.ย. 2564 

อย่างไรก็ตามตนเพิ่งได้ทราบข่าวว่า ร.อ.ธรรมนัสแถลงข่าวว่าได้ทำจดหมายลาออก ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่าจดหมายฉบับนั้นระบุวันที่เท่าไหร่ แต่สิ่งที่เป็นทางการคือให้ยึดตามพระบรมราชโองการ

เมื่อถามว่า หลังจากนี้จะต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนเลยหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะตามรัฐธรรมนูญระบุไว้เพียงแค่ให้มีรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 36 คน ดังนั้นจะปล่อยให้ทิ้งว่างก็ได้ เพราะเนื่องจากทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ (รมช.) ไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) 

ส่วนงานในหน้าที่ของ 2 รัฐมนตรีก็จะต้องกลับคืนสู่ รมว. เพราะอำนาจหน้าที่ของรมช.ก็เป็นไปตามคำสั่งมอบหมายจากรมว.อยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อไม่มี รมช. อำนาจเหล่านั้นก็กลับคืนสู่รมว.

เมื่อถามว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ไม่มีใครคิดหรอก มีแต่สื่อที่คิด ยืนยันเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรในการปรับเปลี่ยนตัวบุคคล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง