ไม่พบผลการค้นหา
การประชุมรัฐสภาได้ปิดสมัยประชุมรัฐสภา สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ปี 2564 ลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2565 ถือว่าเป็นการสมัยที่เรียกว่าเตรียมปูทางรองรับการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในอนาคต

เพราะล่าสุดที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวาระที่ 1 จำนวน 4 ฉบับทั้งหมด โดยพรรคพลังประชารัฐขอให้ใช้ร่าง พ.ร.ป.ฉบับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นร่างหลักในการพิจารณา

และมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองในวาระที่ 1 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นฉบับของพรรคร่วมรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี 

1.ร่างฉบับ ครม. มีมติเห็นด้วย 598 เสียง ไม่เห็นด้วย 11 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง

2.ร่างฉบับ วิเชียร ชวลิต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และคณะ เป็นผู้เสนอ เห็นด้วย 578 เสียง ไม่เห็นด้วย 19 เสียง งดออกเสียง 26 เสียง

3.ร่างฉบับที่ อนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ และคณะเป็นผู้เสนอ เห็นด้วย 408 เสียง ไม่เห็นด้วย 184 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง

ชลน่าน ประชุมรัฐสภา -9236-423E-96CB-F6DC3F57E8A2.jpeg

ส่วนร่างของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ถูกคว่ำลงกลางรัฐสภา เพราะได้เสียงสนับสนุนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่ประชุม ประกอบด้วย ฉบับที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ เห็นด้วย 207 เสียง ไม่เห็นด้วย 375 เสียง งดออกเสียง 37 เสียง

ฉบับของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย เห็นด้วย 221 เสียง ไม่เห็นด้วย 371 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง  

ฉบับที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เห็นด้วย 204 เสียง ไม่เห็นด้วย 381 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง

โฟกัสไปร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ปรากฎว่า ผลโหวตของร่าง ฉบับพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล กลับมีเสียงคว่ำหรือไม่เห็นด้วยสูงกว่า ร่างของ คณะรัฐมนตรี ร่างของพรรคพลังประชารัฐ

ฉบับ พรรคเพื่อไทย มีมติเห็นด้วย 420 คน ไม่เห็นด้วย 205 คน งดออกเสียง 14 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 1 คน

ฉบับของพรรคก้าวไกล มีมติเห็นด้วย 418 คน ไม่เห็นด้วย 202 คน งดออกเสียง 15 คน 

เมื่อตรวจสอบการผลการลงมติร่าง พ.ร.ป.ของ 2 ฉบับดังกล่าว ปรากฎว่า เสียงไม่เห็นด้วย เทมาจาก ส.ว.เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเสียงของ ส.ว.สายทหาร และ ส.ว.พลเรือนบางส่วนที่คัดค้านร่างฉบับของพรรคฝ่ายค้าน 

ผลการลงมติดังกล่าว ทำให้ ส.ส.ในซีกพรรคฝ่ายค้านแสดงความไม่พอใจอย่างมาก เพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เป็นการรับใบสั่งมาจากผู้มีอำนาจให้เทเสียงคว่ำร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2ฉบับของ 'เพื่อไทย' และ 'ก้าวไกล'

โดยกติการเลือกตั้ง ส.ส.ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปก่อนหน้านี้ กำหนดให้มีบัตรเลือกตั้ง แบบ 2ใบ โดยมี ส.ส. 500 คน จากมาแบบแบ่งเขต 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

ร่างฉบับของพรรคเพื่อไทย มีสาระสำคัญกำหนดให้ใช้ หมายเลขผู้สมัครและพรรคการเมือง ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งโดยใช้หมายเลขเดียวกันหรือ 'เบอร์ตรงกัน' สำหรับ บัตร2 ใบ

ส่วนถ้าพรรคการเมืองใดมิได้ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ แต่ส่งผูู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ได้รับหมายเลขผู้สมัครต่อจากหมายเลขสุดท้ายของหมายเลขแบบบัญชีรายชื่อ

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ต้องการบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แต่หมายเลขของพรรคการเมืองคนละหมายเลขกันทั้งในแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ

ไพบูลย์.jpg

ด้าน สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ระบุว่า ผลการเลือกประธาน กมธ.วิสามัญ ที่ได้ สาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ และรมช.สาธารณสุข มาเป็นประธานคงไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะมี ส.ส.กลุ่มหนึ่งเสนอ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ชิงตำแหน่งประธาน กมธ. แต่ว่าโดยภาพรวมของพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค ก็เสนอว่าควรให้รัฐมนตรีเป็นประธาน กมธ. ซึ่งก็มาปรึกษาฝ่ายค้าน โดยพรรคฝ่ายค้านบอกว่ายังไงก็ได้ เพราะฝ่ายค้านหากเสนอตัว ประธานไปยังไงก็แพ้ 

"ส.ส.ฝ่ายค้านคิดเพียงว่าคนเป็นรัฐมนตรีต้องมารับผิดชอบเพราะมีร่างของ ครม. ไม่ใช่พรรครัฐบาลจะเอาใครมาก็ได้ ไพบูลย์ไม่ใช่ความผิดอะไร แต่ธรรมเนียมปฏิบัติจะให้รัฐมนตรีเป็นประธาน กมธ.เป็น ด้วยเหตุผลแบบนี้จะเลือกให้ ก็ไม่รู้จะชนะ ทำไมรัฐบาลไม่ตกลงให้เรียบร้อย" สมคิด ระบุ

สมคิด -BCF8-4807-AEF3-536EA74A943A.jpeg

สมคิด ระบุว่า ต้องรอดูใน กมธ. ว่าผลการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.จะออกมาอย่างไร เพราะเบื้องต้นพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ เห็นควรให้ใช้บัตรเลือกตั้ง แบบเบอร์เดียวกัน ทั้ง ส.ส.แบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ง่ายต่อพี่น้องประชาชนในการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองรวมทั้งง่ายต่อการทำงานของ กกต.ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ไม่ต้องพิมพ์บัตรเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ที่มีเสียงจากหลายท่านบอกพรรคการเมืองใหญ่จะได้เปรียบหากใช้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศ ยืนยันว่าไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่อยู่ที่พี่น้องประชาชนจะเลือก 

สำหรับ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มี 49 คน ประกอบด้วย ครม. 8 คน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 14 คน พรรคเพื่อไทย 8 คน พรรคพลังประชารัฐ 6 คน พรรคภูมิใจไทย 3 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคเศรษฐกิจไทย 1 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คนและพรรคประชาชาติ 1 คน

กมธกฎหมายลูก สส สาธิต -9E4A-4353-8F23-3AD05570EFB8.jpeg

แหล่งข่าวจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เปิดเผยถึงเบื้องหลังการโหวตเลือกประธาน กมธ. ที่สุดท้าย ไพบูลย์ต้องพลาดท่าพ่ายให้กับ สาธิต โดยพรรคภูมิใจไทยเป็นฝ่ายประสานมายังพรรคร่วมฝ่ายค้านให้ขอเสียงสนับสนุนให้ สาธิต ที่เป็น กมธ.จากซีก ครม.ให้มาเป็นประธาน ซึ่งผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า พรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยมีทิศทางโหวตกันไปในทางเดียวกันในการเลือกประธาน

รายงานข่าวระบุด้วยว่า หากพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคฝ่ายค้าน พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ รวมเสียงกันใน กมธ. จะทำให้มีเสียงใน กมธ.ไม่ต่ำกว่า 20 เสียง จาก กมธ.ทั้งหมด 49 คน โดยเสียงกึ่งหนึ่งในการลงมติหาข้อยุติจะต้องมากกว่า 25 เสียง ฉะนั้น รูปแบบของหมายเลข ส.ส. 2 แบบ อาจจะยังต้องสู้กันต่อไป ซึ่งก็เป็นไปได้จะกลับไปใช้รูปแบบเบอร์ของพรรคฝ่ายค้าน หรือใช้เบอร์ของร่างหลักที่มาจาก ครม.

การเลือกประธาน กมธ.ครั้งนี้ จึงสะท้อนว่าเป็นความไม่ลงรอยของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ได้ประธาน กมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์มาปาดหน้า พรรคพลังประชารัฐ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง