ไม่พบผลการค้นหา
วิทยาลัยครุศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ นำเสนอผลงานวิชาการ ในการประชุมวิชาการฯ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สสอท.

วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาให้มีสรรถนะวิจัย โดยนำนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู จำนวน 15 คน เข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิชาการ ในการประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ระดับชาติครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติครั้งที่ 4 วันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ ชาโต เดอ เขาใหญ่ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ (สสอท.) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในทุกหลักสูตรของวิทยาลัยครุศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาทุกคนให้มีสมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) ในด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิผลนั้น จะต้องอาศัยข้อมูลและผลจากการวิจัย เพื่อให้ครูนำมาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวัง “อาจารย์ในหลักสูตรจะมอบหมายงานให้นักศึกษา เขียนผลงานทางวิชาการ ทั้งในรูปแบบกลุ่มหรือรายบุคคล โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำในการเลือกหัวข้อ ตลอดจนการเรียบเรียงให้เป็นบทความที่น่าสนใจ และมีคุณค่าทางวิชาการ การผลิตผลงานและไปนำเสนอในลักษณะนี้ จะช่วยฝึกฝนและพัฒนานักศึกษาให้คุ้นเคยกับการสร้างผลงานวิชาการหรือวิจัย ซึ่งเป็นเป้าหมายอีกอย่างหนึ่งของการพัฒนานักศึกษาของเรา” คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์กล่าว

161437_0.jpg

ในปีนี้มีบทความวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและน่าสนใจจำนวน 7 บทความ ได้แก่ 1

) “เทคโนโลยีกับการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล” (กชพรรณ ชมภูกุล, ฐิติชญา อัครเดชเรืองศรี, ชวัลวิทย์ บูรณวนิช)

2) “ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน สู่การเป็นครูอินฟลูเอนเซอร์ในยุคดิจิทัล” (สุพรรษา ด้วงสงกา, ปณิสรา บุญพันธ์)

3) “การจัดการเรียนรู้แบบ STEM โดยใช้บอร์ด KidBright ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ” (จิราภัทร บุณณะ, ภัทรธนาภรณ์ อัยยะวรกูล, โอซามา หวังสะแล่ะฮ์)

4) “การออกแบบแผนที่ภาวะสันนิษฐานเพื่อประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน” (ศุภณัฐ ประจวบลาภ, นงนภัส พัฒนทวีดล, นภาพร สิทธิจิรวัฒนกุล)

5) “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล” (วาสนา พรมพิทักษ์, วิมลสิริ บาบน)

6) “คิดผ่านวรรณกรรม: รูปแบบการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนในยุคดิจิทัล” (พิมพ์วิภา พินิจ)

7) “การเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตในเด็กปฐมวัย” (กริษา หรรษาพันธุ์)  

160601_0.jpg160547_0.jpg161435_0.jpg