การลงมติเรียกร้องการหยุดยิงในฉนวนกาซา ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในครั้งนี้ มีกำหนดเริ่มต้นขึ้นในวันจันทร์ (18 ธ.ค.) ที่ที่ประชุมในนครนิวยอร์ก อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาไม่สามารถสนับสนุนการใช้คำในแถลงการณ์ “การยุติความเป็นปรปักษ์” ได้ แต่สหรัฐฯ อาจยอมรับการเรียกร้องให้มีการ “ระงับความเป็นปรปักษ์”
กลุ่มประเทศอาหรับที่กำลังเจรจาในการออกแถลงการณ์ดังกล่าวกล่าวว่า พวกเขากำลังรอประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังพยายามค้นหาข้อความที่สามารถเป็นที่ยอมรับในแถลงการณ์ได้ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ต่างออกไปจากการที่สหรัฐฯ ลงมติยับยั้งไปก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ แสดงจุดยืนเพียงแค่การเรียกร้องให้มีการหยุดเพื่อมนุษยธรรมในวันที่ 18 ต.ค. และสำหรับการหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมเร่งด่วนในวันที่ 9 ธ.ค.
หลายประเทศกำลังโจมตีสหรัฐฯ ว่าเลือกปฏิบัติต่อสถานการณ์ความรุนแรงในฉนวนกาซาที่กระทำโดยอิสราเอล เมื่อเปรียบเทียบกับความรุนแรงของรัสเซียที่กระทำในยูเครน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนมากของสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนอิสราเอลตลอดช่วงเวลาของความขัดแย้ง ที่ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกันกับการที่สหรัฐฯ ขัดขวางสหประชาชาติ ในการเรียกร้องการหยุดความเป็นปรปักษ์ในฉนวนกาซา
ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ยับยั้งมติการเรียกร้องการหยุดยิงในฉนวนกาซาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีสมาชิก 15 ชาติ โดนสหรัฐฯ อ้างว่าแถลงการณ์ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มฮามาสอย่างชัดเจน เกี่ยวกับการสังหารชาวอิสราเอลมากกว่า 1,000 คน รวมถึงผู้หญิงและเด็กจำนวนมากเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ทั้งนี้ ร่างมติล่าสุดที่จัดทำโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ประณามเพียงการกระทำที่เป็นการก่อการร้ายทั้งหมด และเรียกร้องให้ปล่อยตัวตัวประกันทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
ความกดดันจากประชาคมโลกกำลังก่อตัวขึ้นต่อสหรัฐฯ หลังจากเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีมติด้วยคะแนนเสียง 153 ต่อ 10 เสียง โดยมีผู้งดออกเสียง 23 เสียง เพื่อเรียกร้องให้มีการยุติความเป็นปรปักษ์อย่างเร่งด่วนในฉนวนกาซา ทั้งนี้ สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงไม่สามารถใช้มติการยับยั้งการลงคะแนนเสียงของสมัชชาใหญ่ได้ เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ สามารถกระทำได้ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาสชาติ
ทั้งนี้ การลงมติของสมัชชาใหญ่เป็นการแสดงออกถึงความคิดเห็นของประชาคมโลกโดยรวม และมติดังกล่าวไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่เชื่อมโยงกับมติของคณะมนตรีความมั่นคง โดยในทางปฏิบัติ ความละเอียดในคำแถลงหลายประการมักถูกละเลย อย่างไรก็ดี ความรู้สึกโดดเดี่ยวของสหรัฐฯ ในการประชุมสมัชชาใหญ่เป็นภาพสะท้อนของความโดดเดี่ยวที่รัสเซียประสบในการประชุมเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับการรุกรานยูเครน
สหประชาชาติเรียกร้องให้ยุติการสู้รบร่วมกับส่วนอื่นๆ ของมติที่กดดันอิสราเอลยอมให้มีการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในฉนวนกาซาเป็นวงกว้าง ทั้งทางบกและทางอากาศ
ที่มา: