ไม่พบผลการค้นหา
องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องรัฐบาลไทย ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อ 2 แกนนำเยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย หลังตำรวจระยอง แจ้ง 4 ข้อกล่าวหา กรณีถือป้ายต่อต้านนายกรัฐมนตรี

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการรวมตัวกัน ไม่ใช่ลงโทษพวกเขาเพียงแค่ออกมาใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ และเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ควรใช้อำนาจปิดปากประชาชนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบ และมีการวางข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบ โดยอ้างการควบคุมโรคโควิด-19 มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ควรเป็นไปอย่างสมเหตุผลและไม่จำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก

ผอ.แอมเนสตี้ฯ เน้นย้ำว่า เจ้าหน้าที่ต้องทบทวนการใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ใน และไม่เลือกปฏิบัติ ไม่จำกัดสิทธิโดยพลการ

อ้างปกป้อง 'นายกฯ' จากโรคติดต่อ

สำหรับกรณีดังกล่าว พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์วันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อาศัยอำนาจเจ้าพนักงานควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีคำสั่งให้บุคคลทั้ง 2 ออกไปจากบริเวณดังกล่าว ในการรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญและเป็นการเสี่ยงต่อโรคติดต่อ แต่ปรากฏว่า บุคคลทั้ง 2 ไม่ให้ความร่วมมือและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าพนักงาน ควบคุมโรคฯ จนกระทั่งมีการใช้กำลังในการควบคุม ให้ออกนอกบริเวณดังกล่าว 

โดยการดำเนินคดี 4 ข้อกล่าวหา ประกอบไปด้วย

  • ความผิดฐานทำกิจกรรม ที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดฯ ซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ 18
  • ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ที่ห้ามกระทำการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะฯ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร
  • หลบหนีไประหว่างที่ควบคุมของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวน

อ่านเพิ่มเติม