นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ เงินเฟ้อ เดือนเมษายน 2563 ลดลงร้อยละ 2.99 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าเป็นการลดลงรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี 9 เดือน สาเหตุสำคัญมาจากการระบาดแพร่ของโรคโควิด -19 ที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง โดยราคาน้ำมันลดลงถึงร้อยะ 30.85 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงในช่วงเดือนที่ผ่านมารัฐบาลลดค่าไฟฟ้า น้ำประปา และก๊าซหุงต้ม เป็นผลให้เงินเฟ้อปรับตัวลดลงด้วย
ส่วนการคาดการณ์เงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 มีโอกาสจะติดลบร้อยละ กระทรวงพาณิชย์ จึงปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2563 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากเดิมค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 0.8 แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจมีการทบทวนกรอบการคาดการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์อีกครั้ง
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลงอย่างมา แต่ในส่วนของรายการอาหารบางประเภทยังคงสูงขึ้น ดังนั้นยืนยันว่า ประเทศไทยจะยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืดตามที่หลายฝ่ายเกิดความกังวล เนื่องจาก หากจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดสินค้าส่วนใหญ่จะต้องราคาลดลง และเงินเฟ้อติดลบ 3 เดือนขึ้นไป