ไม่พบผลการค้นหา
ระหว่างการพูดคุยสันติสุขของ 'รัฐบาลไทย' กับ 'บีอาร์เอ็น' ที่มาเลเซีย ประธานองค์กรพูโล เสนอ 3 ข้อหนุนสันติสุข ขอให้ยกสถานะ 'มาเลเชีย' จากผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้ไกล่เกลีย พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

จากกรณีการพูดคุยสันติสุข ระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น ระหว่างวันที่ 10-11 ม.ค. ที่ประเทศมาเลเซีย ล่าสุด กัสตูรี มะห์โกตา ประธานองค์กรพูโล (PULO, Patani United Liberation Organisation, องค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี) ได้กล่าวถึงการพูดคุยสันติสุขที่เกิดขึ้นว่า 

กัสตูรี มะห์โกตา ประธานพูโล.jpg
  • สตูรี มะห์โกตา ประธานองค์กรพูโล

พูโลมีข้อเสนอสามข้อ ได้แก่ อยากให้มาเลเซียเป็นผู้ไกลเกลี่ย (mediator) ซึ่งตรงกับหนึ่งในข้อเรียกร้องห้าข้อของบีอาร์เอ็นในสมัยอุสตาซ ฮฺัสซัน ตอยิบ และเสนอให้จัดคณะประสานงาน (contact group) ดังเช่นได้ผลสำเร็จในกระบวนการสันติภาพสำหรับบังซาโมโรบนเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ 

กระบวนการสันติภาพระหว่างขบวนการปลดแอกปาตานี โดยเฉพาะบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลไทยจะเกิดขึ้นในเดือน ม.ค.นี้ ฝ่ายองค์กรพูโล ขอดุอาอฺ (อธิษฐาน) ให้กระบวนการดังกล่าวดำเนินอย่างราบรื่นและได้ผลเชิงบวก

 พูโลยึดมั่นในจุดยืนที่ว่า การแก้ไขสำหรับความขัดแย้งที่ปาตานีจะสามารถเกิดขึ้นได้จากการเจรจาเพียงทางเดียว และเพื่อให้กระบวนการเจรจาจะประสบความสำเร็จและนำไปสู่การแก้ไขที่ยุติธรรม ครอบคลุมและยั่งยืน พูโลมีข้อเสนอดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 ขอให้ยกสถานะของประเทศมาเลเซียจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เป็นผู้ไกลเกลี่ย (mediator)

 ข้อที่ 2  พูโลขอเสนอให้กระบวนการสันติภาพนี้ยอมรับ (การมีส่วนร่วมของ) ตัวละคร (actor) และผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ภายนอกที่มีความน่าเชื่อถือเป็นคณะติดต่อประสานงานหรือคณะสนับสนุน (contact group หรือ support group) ของกระบวนการที่มีบทบาทในการกำหนดประเด็นต่าง ๆ ที่พูดคุยในการเจรจา

 ข้อที่ 3 พูโลขอขอเสนอให้ (กระบวนการสันติภาพนี้) มี inclusivity (การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย) โดยมีตัวแทนจากองค์กรขบวนการปลดแอกต่าง ๆ องค์กรนอกภาครัฐ (NGO) องค์กรภาคประชาสังคม นักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ควรได้รับพื้นที่ในการเจรจาสันติภาพอย่างยติธรรมและเท่าเทียมกัน

“อินลาอัลลอฮฺ หากข้อเสนอเหล่านี้เป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพวกเราทุกคน และขอความสันติสุข ความเมตตา และความจำเริญจากอัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน” กัสตูรี กล่าวทิ้งท้าย 

หมายเหตุ: ผู้แปล ฮารา ชินทาโร่ ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู